Tinder เผยพฤติกรรมปัดขวาของ Gen Z ชาวไทยปี 2021 ใน Year in SwipeTM

0
1264

 ถ้าหากปี 62 ทำให้เราต้องใช้อิโมจิมือก่ายหน้าผากกับสถานการณ์ของโลก ? และในปี 63 เราก็ใช้อิโมจิยักไหล่ ? ให้กับอนาคตที่ไม่แน่นอน* ในปี 2564 นี้ ก็เป็นอีก 1 ปีที่ทุกคนต่างแลกเปลี่ยนมุมมองถึงความวิตกกังวล ? และเฝ้ามองสถานการณ์ต่างๆที่ยังคงดำเนินอยู่ ด้วยการแบ่งปันอิโมจิรูปสายตาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและสงสัยร่วมกัน ? หรือการแสดงความยินดีกับเรื่องธรรมดาอย่างการออกไปพบเจอคู่เดทที่เกิดขึ้นได้ เพราะพวกเขาระบุในโปรไฟล์ว่าฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว เรื่องพวกนี้คือสิ่งที่สมาชิกทินเดอร์วัย Gen Z แสดงให้เห็นถึงตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาในการเชื่อมต่อกับผู้คนใหม่ๆ ในปี 2564 นี้

ปีแห่งการแสดงความรู้สึกผ่านสายตาที่น่าตื่นเต้น ? ? ?

ถึงแม้ว่าในหน้า Bio บนทินเดอร์จะมีการนำอิโมจิมาใช้นับล้านๆ อัน แต่ว่ามีอิโมจิยอดฮิตที่กำลังมาแรงอยู่หนึ่งอันที่เรารู้สึกว่ามีความน่าสนใจ นั่นก็คือ อิโมจิดวงตาสองข้าง ? ที่มีการใช้งานบนหน้า Bio ของสมาชิกทินเดอร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นในปีนี้ถึง 40% เนื่องจากพวกเขาแสดงออกถึงความรู้สึกที่ผสมปนเปกันทั้งความสงสัย และการมองโลกในแง่ดีที่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี

URL (โลกออนไลน์) และ IRL (ชีวิตจริง)

ปี 2564 ชาว Gen Z รู้สึกสนุกกับการพบปะผู้คนผ่านโลกออนไลน์แบบเสมือนจริง และการออกเดทในชีวิตจริงหลังจากฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว บรรดาคนโสดทั่วโลกได้ใช้วิธีการเดทผ่าน วิดีโอคอล ซึ่งกลายเป็นส่วนที่สำคัญของเดทแรก โดยพวกเขาได้ระบุถึง “วิดีโอคอล (video call)” ในหน้าโปรไฟล์เพิ่มมากขึ้นถึง 52% เนื่องจากในปีนี้ต้องอยู่กับสถานการณ์การล็อกดาวน์ที่มากขึ้นกว่าปีก่อน ทำให้ Gen Z ชาวไทยใช้วิธีออกเดทผ่านการวิดีโอคอลบนทินเดอร์ โดยในจังหวัดนครราชสีมา และขอนแก่น เป็น 2 จังหวัดที่มีการพูดคุยกันผ่านวิดีโอคอลมากที่สุดในประเทศไทย 

ถึงแม้จะมีการล็อกดาวน์บางส่วนทำให้การมาเจอกันยากขึ้น แต่นั่นก็ไม่เป็นอุปสรรคของนักเดทชาวไทยเพราะพวกเขาใช้ฟีเจอร์ Passport ปักหมุดไปที่กรุงโซล ลอนดอน นิวยอร์ค โตเกียว และลอสแอนเจลิสเพื่อตามหาคู่เดทในฝัน ส่วนจังหวัดยอดนิยมในประเทศไทยที่คนนิยมปักหมุดคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี และหาดใหญ่

นอกจากนี้ คนไทยวัย Gen Z ยังมองหาการสร้างคอนเนคชั่นกับผู้คนใหม่ๆ ที่อยู่ใกล้กันเพื่อได้นัดเจอกันได้ในชีวิตจริง และเพื่อที่จะหาเพื่อนไปเที่ยวด้วยกันได้ ทั้งสองคำนี้จึงถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นโดยคำว่า “นัดเจอ” เพิ่มขึ้นถึง 77% และคำว่า“หาเพื่อนเที่ยว” เพิ่มขึ้นกว่า 85%

ไอเดียสำหรับเดทแรกของ Gen Z ชาวไทย  ตั้งแต่อยู่บ้านสบายๆ-หากิจกรรมกลางแจ้ง

การนัดดื่มในเดทแรกกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว เพราะในปี 2564 ทำให้ได้เรียนรู้ว่า เดทแรกกลายเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมมากกว่าการหาทางทลายกำแพงความเขินอายระหว่างกัน คนที่กำลังหาคู่จะเลือกเดทแรกด้วยการทำกิจกรรมแปลกใหม่ที่น่าสนใจมากกว่า เพราะช่วยให้ทำความรู้จักตัวตนของกันและกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งทินเดอร์พบว่ามีการระบุถึงคำว่า “กางเต็นท์” เพิ่มมากขึ้น 3.2 เท่าในหน้าโปรไฟล์ของคนไทย ภูเขาและทะเลก็เป็นสถานที่เดทที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมชิวๆ อย่าง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ก็เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและพูดถึงบนหน้า Bio ของ
ชาวไทยวัย Gen Z เป็นอย่างมาก

แชร์การฉีดวัคซีน

ปี 2564 นี้ การฉีดวัคซีนถือเป็นรายการแรกของเช็คลิสต์ในการเตรียมตัวออกเดทเลยก็ว่าได้ โดยการแชร์ไลฟ์สไตล์หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนบนหน้าโปรไฟล์ทินเดอร์ ช่วยให้คน Gen Z รู้สึกปลอดภัย และกล้าที่จะออกไปพบใครสักคนมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อเทียบหน้าโปรไฟล์ของสมาชิกทินเดอร์ในประเทศไทยปี 2564 กับปีก่อนพบว่า มีการระบุถึงคำว่า “วัคซีน” มากขึ้น27 เท่า เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนในแต่ละพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และสมาชิกทินเดอร์พร้อมใจกันสนับสนุนให้แสดงสถานะการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการออกเดท

โดยสติ๊กเกอร์รับรองการฉีดวัคซีน***บนทินเดอร์กลายเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่สมาชิกคนไทยวัย Gen Z

สิ่งเล็กๆ สามารถสร้างความประทับใจให้คู่ Match ได้อย่างมาก

สิ่งเล็กๆ สามารถทำให้เดทนั้นกลายเป็นเดทสุดประทับใจของคู่ Match ได้ จะเห็นได้ว่าสมาชิกของทินเดอร์มีการพูดถึง “สิ่งเล็กๆน้อยๆ” บนหน้าโปรไฟล์เพิ่มขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างการสร้างความสัมพันธ์กันผ่านความชอบ อาทิ​ มีการพูดถึงคำว่า “หมูกระทะ” เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าและคำว่า “บุฟเฟต์” เพิ่มขึ้นถึง 25% บนหน้า Bio ของสมาชิกทินเดอร์ชาวไทย

แทนความรู้สึกผ่านเพลง

“เพลง” เป็น Passion ที่ติดอันดับของสมาชิกทินเดอร์ทั่วโลก ซึ่งเพลงที่สมาชิกเลือกให้โชว์บนหน้าโปรไฟล์สามารถบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพลง STAY ของ The Kid LAROI & Justin Bieber และเพลง good4u ของ Olivia Rodrigo ติดอันดับยอดนิยมบนหน้าโปรไฟล์ของทินเดอร์ชาวไทยในปี 2564

    คนไทยวัย Gen Z แสดงความเป็นตัวเองผ่านฟีเจอร์ Passion บนทินเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นเพลงและ Netflix ไปจนถึงท่องเที่ยว ดูหนัง และการหาเพื่อน ต่างก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาเพื่อที่จะได้รู้จักกับผู้คนใหม่ๆ

    พาพริ เดพ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารประจำเอเชีย แปซิฟิก ของทินเดอร์ กล่าวถึงการปรับตัวในการออกเดทของคนไทยวัย Gen Z ว่า “ถึงแม้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งความคาดหวังและความไม่แน่นอน แต่ Gen Z ชาวไทยแสดงออกในเชิงบวก และแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของตัวเองอย่างแท้จริง ในขณะที่พวกเขายังคงหาจุดกึ่งกลางระหว่างการเดทออนไลน์ และการเดทในชีวิตจริง เทรนด์การเดทของปี 2021 นี้จะเป็นแนวทางให้ Gen Z ชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นการหาคู่เดท การหาคอนเน็คชั่นใหม่ๆ การหาเพื่อนใหม่ได้อย่างแน่นอน เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า” 

หมายเหตุ
เป็นการระบุบนหน้าโปรไฟล์ในทินเดอร์ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2564 และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
*อิโมจิที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจาก Year in Swipe ปี 2562 และ 2563
**จากฟีเจอร์ VIBE ของทินเดอร์
***สติ๊กเกอร์รับรองการฉีดวัคซีนจากศูนย์วัคซีน (Vaccine Centre)ของทินเดอร์ 
ทินเดอร์และ Year in SwipeTM เป็นเครื่องหมายการค้าของ Match Group, LLC

เกี่ยวกับ Tinder (ทินเดอร์)

            ทินเดอร์เปิดตัวในแคมปัสของวิทยาลัยในปี 2012 และกลายมาเป็นแอปพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกในการพบปะผู้คนใหม่ๆ ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 40 ภาษาในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก ทินเดอร์นับว่าเป็นแอปพลิเคชั่นในหมวด non-gaming ที่สร้างรายได้สูงสุดของโลก มีการดาวน์โหลดมากกว่า 450 ล้านครั้งและมีการจับคู่กว่า 6 หมื่นห้าพันล้านคู่