The Stanford Thailand Research Consortium จัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ ‘Future Thailand – Innovation in Education and Workforce Development’

0
1456

ร่วมถกกลยุทธ์แก้ปัญหา ‘ช่องว่างทักษะ’ พัฒนาทักษะแรงงานและอนาคตประเทศไทย ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษาและการพัฒนากำลังคน

The Stanford Thailand Research Consortium จัดงานสัมมนาออนไลน์ ถ่ายทอดผลการศึกษาเบื้องต้นในโครงการวิจัย Innovative Teaching Scholars (ITS) พร้อมสำรวจมุมมองของภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริมการ​       เตรียมความพร้อมของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

งานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Future Thailand — Innovation in Education and Workforce Development” โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ คณาจารย์และนักวิจัยในโครงการ ITS จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมกับผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย มุ่งเน้นการอภิปรายเรื่องกลยุทธ์ในการยกระดับความพร้อมของแรงงานในประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อสนับสนุนบุคลากรด้านการศึกษาในการสร้างการมีส่วนร่วมและเตรียมพร้อมเยาวชนของชาติให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต

ทางด้านมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้รับเกียรติผู้ร่วมอธิปรายโดย ศาสตราจารย์แชรี แชพเพิร์ด ริชาร์ด วีลแลนด์ ศาสตราจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย​            สแตนฟอร์ด และ ดร. ลาติเซีย บริทอส คาแวคแนโร ศาสตราจารย์พิเศษ จากสถาบันการออกแบบ แฮซโซ่ แพลทเนอร์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการด้วย

ดร. ลาติเซีย บริทอส คาแวคแนโร ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างกำลังเผชิญกับปัญหาด้านความไม่สอดคล้องระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักศึกษากับทักษะและวิธีคิด (Mindset) ที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต ความพิเศษของโครงการ ITS คือการมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางการศึกษาไทยที่สนใจปรับมุมมองสู่การศึกษายุคใหม่ และผู้นำเชิงนวัตกรรมจากภาคองค์กรระดับประเทศ ซึ่งกำลังมองหาคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะสร้างความก้าวหน้าในองค์กรไทยในอนาคต ขณะนี้โครงการวิจัยของ ITS กำลังติดอาวุธให้แก่คณาอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยจำนวน 50 ท่าน ด้วยการทดลองการนำแนวทางการสอนแบบใหม่ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้อาจารย์เหล่านั้นให้เป็นผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานและสถาบันของพวกเขาได้ทำในสิ่งเดียวกัน”

ศาสตราจารย์ แชรี แชพเพิร์ด เป็นผู้นำในการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของโครงการที่มีต่อผู้สอนและวิธีการสอนของอาจารย์ผู้ร่วมโครงการ โดยศาสตราจารย์แชรีรายงานว่าข้อมูลทั้งจากการสำรวจและการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าอาจารย์กลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการ ITS ประสบความสำเร็จในการทดลองในการนำกลยุทธ์แนวทางการสอนในรูปแบบใหม่ไปใช้ อาทิ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีอิสระในการตัดสินใจมากขึ้นในห้องเรียน ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับอาจารย์บางส่วน แต่แนวทางนี้กลับเพิ่มการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ  สำหรับงานวิจัย ITS ในอนาคตจะมุ่งสำรวจต่อไปว่าอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการจะยังคงช่วยสนับสนุนกันและกันในการยกระดับชั้นเรียนของพวกเขาสู่มิติใหม่หรือไม่ ตลอดจนสำรวจไปถึงระดับที่เขาเหล่านั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ในสถาบันการศึกษาของตน เพื่อลองนำแนวทางการสอนแบบใหม่นี้ไปใช้สอนในวิชาของตนเอง 

นอกจากนี้ นักวิจัยในโครงการ ITS กำลังทำงานร่วมกับบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ  บุคลากรสายอาชีพเฉพาะทาง (Early-career professional) และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยระบุทักษะเฉพาะที่จำเป็นเต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพในอนาคต ตลอดจนมุ่งหาแนวทางเพิ่มเติมว่าโครงการ ITS นี้จะสามารถช่วยเหลือเหล่าอาจารย์ในการบูรณาการทักษะเฉพาะเหล่านั้นให้เข้ากับหลักสูตรของตนเองได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร

“เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของช่องว่างหรือความทับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างวิธีการวางแนวคิดของผู้สอนถึงสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนในการเรียนรู้ และทักษะที่บริษัทไทยเห็นความสำคัญว่าพนักงานในอนาคตควรมี จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ในวันนี้ ที่เราต้องการพันธมิตรจากภาคองค์กรธุรกิจเข้ามามีส่วนในการร่วมหารือด้วยกัน” ดร. ลาติเซีย เสริม

งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และกลุ่มอินทัช  คุณวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี  (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และ คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส – เทคโนโลยี กรุ๊ป (KASIKORN Business-Technology Group: KBTG) ร่วมแบ่งปันมุมมองจากภาคธุรกิจในเรื่องทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคตและการพัฒนากำลังคนในด้านความสามารถทางการเรียนรู้และความสามารถเชิงนวัตกรรมในประเทศไทย ที่กำลังเป็นที่ต้องการในวงกว้าง

โดย คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม จากเอไอเอส ให้ความเห็นว่า ในบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลกระทบในทุกมิติอย่างรวดเร็วและรุนแรง สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการพัฒนาศักยภาพใหม่ๆ ให้กับคนไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศให้ก้าวหน้าและแข่งขันได้ในเวทีดิจิทัลระดับโลก และนี่คือ “พันธสัญญาที่สำคัญยิ่ง (vital obligation)” ในการร่วมกันสร้างโอกาสเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งของคนไทย และความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรภาคการศึกษาตลอดจนภาคเอกชน คือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยภายใต้ the Stanford Thailand Research Consortium โดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจากมหาวิทยาสแตนฟอร์ด ซึ่งทำงานร่วมกันกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center หรือ SEAC) ในประเทศไทย ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางรากฐานเพื่อยกระดับความรู้ของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มขีดความสามารถของคนไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต

ด้าน คุณเรืองโรจน์ พูนผล กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้ว่า จากการส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับสถาบันศึกษาและองค์กรวิจัยชั้นนำระดับประเทศ ทางกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป สามารถช่วยสนับสนุนด้านการสร้างนวัตกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยจนถึงการผลิต ตลอดจนการรวบรวมองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยียุคใหม่ให้มีทักษะที่สำคัญในงานด้าน Data Science, AI, OCR, และ Blockchain

โดยการสนับสนุนแรงงานรุ่นใหม่นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างพลังและส่งเสริมนวัตกรรมให้กับผู้สอน ซึ่งเป็นผู้สร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงสำหรับนักเรียนและผู้เรียนรู้ เช่น การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อันเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ ITS ที่ the Stanford Thailand Research Consortium มุ่งหวังจะสร้างให้เกิดขึ้นผ่านงานวิจัยเชิงวิชาการ

ขณะที่ คุณวิทการ จันทวิมล จาก เอพี  ไทยแลนด์ แสดงความเห็นผ่านมุมมองของเขาว่า การเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมในการทำงานในยุคปัจจุบันนั้น นอกจากนักศึกษาเองจะต้องเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพของตนเองแล้ว พวกเขายังต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยสามารถที่จะหาข้อมูลที่ดีได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประสบความสำเร็จได้ในยุคที่เศรษฐกิจโลกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยมีโครงการ AP Open House ช่วยเสริมสร้างแนวทางที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้พัฒนาทักษะดังกล่าว

โดยงานสัมมนาออนไลน์วันนี้ ถูกจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ และมีล่ามแปลเป็นภาษาไทยตลอดทั้งงาน โดยเปิดให้นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

โครงการ Innovative Teaching Scholars program เป็นโครงการริเริ่มของ the Stanford Thailand Research Consortium (STRC) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่สำคัญสำหรับอนาคตของประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของ STRC มีโครงการวิจัยและผลการศึกษาของสแตนฟอร์ด มากกว่า 12 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent – AI) มาช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โครงการลดการตัดไม้ทำลายป่าพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในเขตจังหวัดน่านของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างข้อมูลเชิงลึกขององค์กรโดยใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) และการทำความเข้าใจนวัตกรรมผ่านการพัฒนาความรู้บุคลากร

The Stanford Thailand Research Consortium (STRC) ตั้งอยู่ที่ Stanford’s Office of the Vice Provost and Dean of Research ซึ่งบริหารโดยศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Center for Professional Development) โดยได้ร่วมมือกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center: SEAC) ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนจาก เอไอเอส เอพี (ไทยแลนด์) และธนาคารกสิกรไทย

Stanford Thailand Research Consortium

โครงการ Innovative Teaching Scholars และงานวิจัยด้านการศึกษา

คำถาม-คำตอบ

โครงการ Innovative Teaching Scholars คืออะไร?

โครงการ Innovative Teaching Scholars หรือ ITS เปิดโอกาสให้บุคลากรทางการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมด้านการสอนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของตนเอง โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยด้านการศึกษาของ The Standford Thailand Research Consortium หรือ STRC ซึ่งมุ่งหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและความสามารถในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

The Stanford Thailand Research Consortium คือใคร?

The Stanford Thailand Research Consortium หรือ STRC ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยครอบคลุมประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันสู่ความสำเร็จของประเทศไทยในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือของ STRC มีโครงการวิจัยและผลการศึกษาของสแตนฟอร์ด มากกว่า 12 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent – AI) มาช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โครงการลดการตัดไม้ทำลายป่าพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในเขตจังหวัดน่านของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างข้อมูลเชิงลึกขององค์กรโดยใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) และการทำความเข้าใจนวัตกรรมผ่านการพัฒนาความรู้บุคคลากร โดย The Stanford Thailand Research Consortium ตั้งอยู่ใน Office of Vice Provost and Dean of Research ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งบริหารจัดการโดย ศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Center for Professional Development: SCPD) โดยได้ร่วมมือกับ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center: SEAC) ในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนต่อเนื่องเพื่องานวิจัยแก่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จาก เอไอเอส  เอพี (ไทยแลนด์) และธนาคารกสิกรไทย รวมมูลค่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี

เหตุผลของการจัดงานในครั้งนี้

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของโครงการวิจัยด้านการศึกษา (Education Project ) ของ STRC คือการสร้างความเข้าใจและความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายของการศึกษาในระดับอุดมศึกษากับความต้องการของบริษัทในไทยในฐานะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ความมั่งคั่ง โดยการจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำความเข้าใจเป้าหมายและความต้องการเหล่านั้นอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการศึกษาได้เข้าใจถึงบริบทร่วมในสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยกับมุมมองของภาคอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

ทำไมงานนี้จึงมีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร?

นวัตกรรมด้านการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการพัฒนาบุคคลากรนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางความท้าทายในระดับโลกและปัจจัยเร่งจากการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี ประเด็นเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะในบริบทที่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความท้าทายในการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาของคนวัยหนุ่มสาว รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาความพร้อมของบัณฑิตให้ก้าวขึ้นเป็นกำลังคนสำคัญของประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จ

มีแผนในการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการในอนาคตหรือไม่

โครงการ Innovative Teaching Scholars วางแผนที่จะขยายชุมชนสำหรับบุคลากรทางการศึกษาไปยังคณาจารย์และอาจารย์กว่า 250 คนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยภายในปี 2566 นอกจากนี้ โครงการยังผลักดันเหล่าบุคลากรทางการศึกษาที่พรั่งพร้อมด้วยประสบการณ์ให้สามารถนำความรู้และเครื่องมือใหม่ๆ ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและมหาวิทยาลัยของพวกเขาต่อไป

โครงการ Innovative Teaching Scholars program เปิดโอกาสในผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้อะไรบ้าง

โครงการ Innovative Teaching Scholars มอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย การเรียนรู้ผ่านการรวมกลุ่มและมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริง (Whole-group interactive virtual sessions) การสร้างโมดูลเนื้อหาที่ให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความพร้อมหรือจังหวะการเรียนรู้ของแต่ละคน (Self-paced interactive content modules) รวมถึงจัดการสอนแบบโค้ชชิ่งเป็นกลุ่มย่อย (Coaching sessions) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และทดลองทำด้วยวิธีการสอนแบบใหม่(new pedagogical approaches) ที่สอดคล้องตามบริบทของแต่ละหลักสูตรของอาจารย์แต่ละท่านแบบเรียลไทม์ ตลอดจนการสร้างบรรทัดฐานเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการปฏิบัติ (Communities of Practice) ที่ยั่งยืนด้วยแรงสนับสนุนการเรียนการสอนจากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผู้เข้าร่วมโครงการจะนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนนักศึกษาอย่างไร

เหล่าอาจารย์ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้จะต้องนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนตนเองทันที นอกจากนี้ อาจารย์จะต้องคอยสังเกตการมีส่วนร่วมและการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การเรียนรู้พร้อมขอความคิดเห็นสะท้อนกลับ (feedback) จากนักเรียน 

สามารถเข้าไปชมตัวอย่างแรงบันดาลใจและการทดลองจากอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ได้ที่

https://medium.com/innovative-teaching-scholars-its-program/tagged/innovative-teaching

STRC ดำเนินโครงการวิจัยอื่นๆ รวมถึงโครงการ Innovative Teaching Scholars อย่างไรในช่วงการระบาดใหญ่ทั่วโลกนี้

ในการออกแบบโครงการวิจัยด้านการศึกษา ตลอดจนรูปแบบของโครงการ Innovative Teaching Scholars ได้รับการพัฒนาและริเริ่มขึ้นหลังจากเกิดการระบาดของ COVID-19 ในฤดูใบไม้ผลิปีพ.ศ. 2563 ส่งผลให้คณะวิจัยต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งทีมวิจัยของสแตนฟอร์ดได้เดินหน้าศึกษางานวิจัยและสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าต้องเผชิญกับความท้าทายที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักทั่วโลก

เกณฑ์การรับสมัครผู้เข้าร่วมในโครงการ Innovative Teaching Scholars มีอะไรบ้าง

นักวิชาการที่จะได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Innovative Teaching Scholars จะมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

  • เป็นบุคลการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย (Lecturer หรือ Professor track) ในสาขาวิชาที่ใด ๆ ก็ได้ที่มีใจเปิดรับแนวทางการสอนแบบใหม่ ๆ และยินดีร่วมมือกับผู้เข้าร่วมโครงการท่านอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน
  • กระตือรือร้นที่จะเป็นตัวแทนสถาบันของตนและมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในประเทศไทย
  • อาจารย์ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องสมัครเป็นคู่ โดยต้องสมัครร่วมกับอาจารย์อีกท่านในแผนกเดียวกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยสังกัดของตน
  • มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานระดับมืออาชีพ

คำถามการวิจัยใดที่โครงการด้านศึกษาของ Consortium กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้

โครงการวิจัยด้านการศึกษา มุ่งเน้นถึงการระบุปัจจัยสำคัญในการสร้างการเติบโตของชุมชนแห่งการปฏิบัติ (Communities of Practice) ที่จะช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาในการสร้างและสานต่อการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยได้ตั้งคำถามว่า บุคลากรทางการศึกษาจะนำเทคนิคและกลยุทธ์ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ พัฒนา และทำให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างไร และอะไรคือความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญในการนำกลยุทธ์ที่ได้เหล่านี้ไปแนะนำและเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงานภายในสถาบัน

แผนในอนาคตของ Stanford Thailand Research Consortium มีอะไรบ้าง?

The Stanford Thailand Research Consortium (STRC) ยังคงมุ่งศึกษาและยกระดับโครงการที่สอดคล้องกับความสนใจด้านงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้สนับสนุนเงินทุนให้กับ STRC ในการสร้างองค์ความรู้เชิงลึก (insights) ที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมไทย โดยในปีหน้านี้ STRC จะเผยแพร่ความรู้เพิ่มเติมอย่างเป็นวงกว้างในประเทศไทย ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกที่ได้ค้นพบและกำลังเกิดขึ้นจากการดำเนินการวิจัยนี้

ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Innovative Teaching Scholars และ Stanford Thailand Research Consortium ได้ทางช่องทางใดบ้าง?

โครงการ Innovative Teaching Scholars:

https://scpd.stanford.edu/innovative-teaching-scholars-program-thailand

Stanford Thailand Research Consortium:

https://scpd.stanford.edu/spotlights/stanford-thailand-research-consortium

ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center หรือ SEAC) มีบทบาทอย่างไรใน Consortium?

โครงการ The Stanford Thailand Research Consortium ได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (Southeast Asia Center หรือ SEAC) ซึ่งเป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการทำวิจัย รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก Consortium ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการตระเตรียมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบริบทของภาคอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมไทยแก่คณะวิจัยในโครงการต่างๆ ของ Consortium โดยการประสานงานและการเชื่อมโยงเครือข่ายท้องถิ่นของ SEAC ช่วยสนับสนุนคณะวิจัยของสแตนฟอร์ดให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีอุปสรรคเรื่องระยะทางในช่วงการแพร่ระบาดทั่วโลกนี้ก็ตาม

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEAC ได้ที่ https://www.seasiacenter.com

Future Thailand – The Stanford Thailand Research Consortium Offers a Panel on Innovation in Education and Workforce Development

Stanford Thailand Research Consortium Members Discuss Strategies for Addressing the Skills Gap in Thai Workforce Development

Bangkok – June 2, 2021 – A virtual discussion hosted by the Stanford Thailand Research Consortium (STRC) today shared early results from its Innovative Teaching Scholars (ITS) program and explored industry perspectives on how to enhance the preparation of university students for Thailand’s transition to an innovation-based economy. 

The panel, Future Thailand — Innovation in Education and Workforce Development featured Stanford University faculty associated with the ITS program as well as key executives from Thai corporations and focused on strategies for improving workforce readiness in Thailand and developing best practices that support educators in engaging and preparing the nation’s youth for career success.

Speaking from Stanford, California were Professor Sheri Sheppard, Richard W. Weiland Professor in the Stanford School of Engineering, and Leticia Britos Cavagnaro, Adjunct Professor in the Hasso Plattner Institute of Design, who also acted as panel moderator. 

Universities worldwide face a misalignment between how they are preparing students and the skills and mindsets those students will need to be successful in the future workforce, Dr. Britos Cavagnaro noted. The ITS program is unique in bringing together Thai educators interested in reimagining what education can be with innovators from the national corporate sector who are looking to hire young people ready to succeed in the Thai workplace of the future, she said. The ITS research program is currently equipping a cohort of 50 Thai university educators to experiment with new teaching methods that better prepare their students for career success and helping the teachers themselves become leaders able to inspire their colleagues and institutions to do the same. 

Professor Sheppard leads a research effort aiming to understand the program’s impact on the educators and how they are teaching. In her remarks, Sheppard reported that both survey and interview data suggests educators in the first ITS cohort are successfully experimenting with new teaching strategies such as allowing students more agency in the classroom, a methodology that some teachers found challenging to realize but that also significantly increased student engagement. Future ITS research will explore whether cohort members continue to support one another in reimagining their classes and the degree to which they inspire colleagues in their local institutions to try new approaches to teaching themselves. Project researchers are also working with the ITS educator cohort, early-career professionals, and industry representatives to identify specific skills that will be key for future career success and to think further about how the ITS program could help its teachers better integrate those skills into their curricula.

To understand where gaps or overlaps exist between how educators conceptualize what’s important for students to learn and the skills Thai companies would like future employees to possess, it’s essential to bring industry partners into the conversation, suggested Dr. Britos Cavagnaro.

Offering an industry perspective on what those skills might be and the broader need for workforce development around learning and innovation capacity in Thailand were Kantima Lerlertyuttitham, Group Chief Human Resources Officer at Intouch Holdings and Chief Human Resources Officer at AIS; Vittakarn Chandavimol, Chief Corporate Strategy and Creation, AP (Thailand); and Ruangroj Poonpol, Chairman, KASIKORN Business-Technology Group.

AIS’s Kantima Lerlertyuttitham noted that in the context of a world in unceasing flux, with the impacts becoming more rapid and severe, it is incredibly important to develop new competencies among the Thai people to enhance the country’s capabilities to progress and compete on the global digital stage. She said it was a “vital obligation” to coordinate efforts to create opportunities to strengthen the Thai people and cited the need for collaboration among the state sector, the educational sector, and the private sector. About the Stanford Thailand Research consortium, she said research from global experts such as Stanford University, working collaboratively on-the-ground in Thailand with SEAC, are an important step in laying foundations to upgrade the Thai people’s knowledge concretely, increase Thai peoples’ capabilities, and drive the national economy in the future.

Ruangroj Poonpol explained that by fostering collaboration with the nation’s top academic and research institutes, the KASIKORN Business-Technology Group can help create full-loop innovation from research to production and the collective knowledge and expertise will also help develop the next generation tech workforce with critical skills in Data Science, AI, OCR and Blockchain.

Supporting the next generation workforce requires the empowerment and innovation of educators, who build the connective experiences for students and learners, such as through student-centered learning experiences. This is the heart of what the ITS program is about and the kind of innovation that the Stanford Thailand Research Consortium hopes to enable through academic research. 

AP’s Vittakarn Chandavimol offered his perspective and said that to be career-ready today, college students must go beyond mastery in their own subjects. They must be able to think critically, solve problems, communicate, collaborate, find good information quickly, and adapt to new technology effectively, he said. Creating an environment that enables and encourages creativity, collaboration and innovation on a continuous basis is the only way to create successful graduate in the fast pace, globalized economy, he said and explained that the AP OPEN HOUSE program reinforces the processes that enable students to practice these skills.

Wednesday’s virtual event, which was conducted in English with a live Thai translation, was open to educators, members of the public, and reporters.   

The Innovative Teaching Scholars program is an initiative of the Stanford Thailand Research Consortium, which supports Stanford faculty-led research and education projects pertinent to key development areas for Thailand’s future. The Consortium has over a dozen Stanford research and education projects underway, focusing on a diverse range of topics, such as using artificial intelligence to support improved elderly care, reducing deforestation and aiding small-hold farmers in Thailand’s Nan province, creating organizational insights around leveraging unstructured data, and understanding innovation through knowledge workforce development. 

The STRC is based in Stanford’s Office of the Vice Provost and Dean of Research, managed by the Stanford Center for Professional Development, and collaborates with SEAC in Thailand. The Consortium is supported by funding from AP (Thailand), Advanced Info Services PLC (AIS), and KASIKORNBANK.