องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development:
TBCSD) ได้จัดงานสัมมนาประจำปี 2565 (TBCSD Annual Event 2022) ขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับฟังปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับทิศทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำสู่ความยั่งยืน และรับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง The Urgency and Opportunity of Green Chemistry พร้อมทั้ง รับทราบแผนการดำเนินงานของ TBCSD ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน รวมถึง ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศ เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
โดยในงานครั้งนี้ได้รับเกียรติอย่างสูงจากนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาเป็นประธาน และได้รับเกียรติอย่างยิ่งจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเป็นองค์ปาฐกพิเศษ พร้อมด้วยผู้บริหารจากองค์กรพันธมิตรจาก
5 หน่วยงานหลักของประเทศ ได้แก่ 1) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 5) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ องค์กรสมาชิก TBCSD จำนวน 43 องค์กร ซึ่งครอบคลุม
กลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการเงิน สินค้าอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง ทรัพยากร บริการ เทคโนโลยี และกลุ่มอื่น ๆ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า “กว่า 3 ทศวรรษ TBCSD
จากก้าวแรกถึงปัจจุบัน ผ่านระยะเวลากว่า 29 ปี TBCSD เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศไทยที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวนสมาชิกกว่า 43 องค์กร ซึ่งปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจไทยได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม (Country Issue) อันเป็นการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตอบสนองนโยบายของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน และด้วยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งขององค์กรสมาชิก และการทำงานร่วมกันกับองค์กรพันธมิตร TBCSD จึงสามารถดำเนินงานในการยกระดับภาคธุรกิจไทยให้มีการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและสนับสนุนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการขยายกรอบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาระดับชาติด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ”ปาฐกถาพิเศษ
โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติมาร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำสู่ความยั่งยืน” กล่าวว่า “ความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และข้อตัดสินใจสำคัญที่เกิดขึ้นในการประชุม COP27 การนำเสนอการดำเนินงานที่สำคัญของประเทศไทยในการประชุม COP27 ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประเทศไทยกับนานาประเทศในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ใน
ปี ค.ศ. 2065 รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างยั่งยืน”และการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “The Urgency and Opportunity of Green Chemistry” โดย Professor John C. Warner, Ph.D. (โพรเฟสเซอร์ จอห์น วอเนอร์), Co-founder, The Warner Babcock Institute for Green Chemistry นอกจากนี้ TBCSD ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสมาชิก TBCSD จำนวน 3 องค์กร ได้แก่
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กลุ่มพลังงานไฟฟ้า) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลุ่มพลังงานเชื้อเพลิง) และ เอสซีจี (กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง) อันเป็นผู้แทนของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม (Country Issue) อันเป็นการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตอบสนองนโยบายของประเทศไทยสู่ความยั่งยืนนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กฟผ. ประกาศนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ด้วยกลยุทธ์ Triple S ที่เริ่มบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทาง(S1: Source Transformation) โดย 1 ปีที่ผ่านมา มีการเดินเครื่องพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน floating solar & hydro ณ เขื่อนสิรินธร, การใช้ wood pellet ร่วมเดินเครื่อง ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ, การพัฒนา hydrogen ณ Net-zero Learning Center โรงไฟฟ้าลำตะคองฯ รวมทั้งการสร้างโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีในเชิงพานิชย์ ผ่านการลงนาม MoU ร่วมกับบริษัท ACWA Power ซาอุดิอาระเบีย ในขณะที่การดูดซับเก็บกักคาร์บอนอย่างมีส่วนร่วมกับองค์กรและประชาชนทุกภาคส่วน (S2: Sink Co-creation) ได้จับมือ 3 กรม ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันปลูกป่าล้านไร่ ใน 10 ปี ซึ่งในปี 2565 นี้ ได้สร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นให้กับประเทศได้กว่า 105,000 ไร่ (ณ 20 พ.ย.65)
นอกจากนี้ การพัฒนากลไกการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (S3: Support Measures Mechanism)สามารถเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน REC และการยกระดับการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบสู่ BCG Economy”
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า “ประกาศเจตนารมณ์ตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาว มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ ด้วยกลยุทธ์ 3P ขับเคลื่อนธุรกิจ กลุ่ม ปตท. เพื่อมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมเดินหน้าปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และสังคมโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond”
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเพียงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งภัยแล้งแบบสุดขั้ว ไฟป่า พายุที่รุนแรง สภาพอากาศแปรปรวนจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้คนล้มตายและคนอีกนับล้านต้องพลัดถิ่นฐาน เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายนับแสนล้านดอลลาร์ หากไม่เร่งแก้ไขจนอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกินเป้าหมายที่ 1.5 องศาเซลเซียส โลกจะเปลี่ยนแปลงไปจนเราไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมได้ (Point of no return) ภายใน 8-10 ปีข้างหน้า โดยเอเชียจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันกู้วิกฤตโลกโดยใช้ ESG ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสำหรับผู้คนและโลกที่ยั่งยืน SCG เป็นหนึ่งองค์กรที่ได้นำ “ESG 4 Plus” ได้แก่ “มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ – Plus เป็นธรรม โปร่งใส” มาใช้เป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และในปี พ.ศ. 2566 จะร่วมกับ 25 พันธมิตร ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตัน CO2 มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดย SCG จะริเริ่มให้ Saraburi Sandbox เป็นต้นแบบ Partnership Model เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ (Processes) ผลิตภัณฑ์ (Product) และเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ทั้งภาคพลังงานไฟฟ้าและกลุ่มอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามเป้าหมาย NDC ของประเทศ มุ่งเพิ่มเครือข่ายพันธมิตรหรือ Eco-partner ในงานก่อสร้างโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้รับเหมา ช่างท้องถิ่น ผู้ขายวัสดุ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะฝีมือ สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จำเป็นที่จะต้องเร่งปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการพัฒนาไปสู่แนวคิด Decouple โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับการสร้างการเติบโตด้านเศรษฐกิจ การเคารพ ใส่ใจและดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชนให้เติบโตไปพร้อมกัน ซึ่ง SCG หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนจะเข้ามาร่วมมือกันในการสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้เกิดขึ้นจริงในยุคนี้”
พิธีแสดงความมุ่งมั่น ผู้บริหารจากองค์กรสมาชิก TBCSD 43 องค์กร ร่วมกับองค์กรพันธมิตรพร้อมใจกันเข้าร่วมแสดงความมุ่งมั่น “การขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business)” เพื่อเป็นการแสดงออกถึงพลังความร่วมมือภาคธุรกิจไทยในการเดินหน้าขับเคลื่อนภาคธุรกิจไทยไปสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนด้วยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งขององค์กรสมาชิก และการทำงานร่วมกันกับองค์กรพันธมิตร และเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ TBCSD จึงเป็นผู้นำในการยกระดับให้มีการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนในวงกว้างและสนับสนุนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลวีดีทัศน์การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) โดย องค์กรพันธมิตรและองค์กรสมาชิก TBCSD เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความมุ่งมั่นขององค์กรภาคธุรกิจไทยในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) ได้โดยการ Scan QR Code ด้านล่างนี้