8 กรกฎาคม 2564ในวันที่โควิด-19 ทั่วโลก ยังไม่จบ แต่อัตราเงินเฟ้อในอเมริกาเริ่มขยับขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายลดลง SCBS Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ว่ามี 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ความเร็วในการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศทำให้การฟื้นตัวมีความแตกต่างกันตามไปด้วย 2) นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายน้อยลง และ 3) หุ้นกลุ่ม Growth At Reasonable Price (GARP) มีความน่าสนใจมากขึ้น
นายศรชัย สุเนต์ตา กรรมการผู้จัดการ SCBS CIO กล่าวว่าแนวโน้มสำคัญของเศรษฐกิจโลกประกอบไปด้วย การเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกัน เศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯผ่านจุดเติบโตสูงสุดในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นชัด และ นโยบายภาครัฐเริ่มผ่อนคลายลดลง โดยในรายละเอียดการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันตามคาดความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โดยเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯผ่านจุดเติบโตสูงสุดในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Emerging Markets (EMs) ยังแตกต่างกันมาก ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลงหลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอลงและท่าทีของ Fed ที่มีแนวโน้มพร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาด (Hawkish) โดยตัวเลขตลาดแรงงานและการสื่อสารของ Fed จะมีความสำคัญต่อตลาดมากขึ้น เราคงมุมมอง Fed ส่งสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปในการทำ QE taper ในช่วงปลายไตรมาส 3/2021F และขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกปี 2023F นอกจากนั้น แรงกระตุ้นทางการคลังเริ่มแผ่วลงในกลุ่ม Developed Markets (DMs) โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามขนาดของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กกว่าคาดจะทำให้การขึ้นภาษีเพื่อโครงการเหล่านั้นน้อยกว่าคาดด้วย โดยปัจจัยเสี่ยงหลักในไตรมาสที่ 3/2021 ประกอบด้วย 1) Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด2) ความเสี่ยงด้านนโยบายต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และ 3) การกลับมาของความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน
สำหรับแนวโน้มตลาดการเงินโลก SCBS CIO ประเมินว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นอย่างช้าๆ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มชะลอลงจากอุปทานที่ฟื้นตัว โดยจากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่กำลังจะผ่านจุดเติบโตสูงสุด และสัญญาณการปรับนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปของ Fed น่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ซึ่งจะทำให้ yield curve ของสหรัฐฯ มีลักษณะแบบ flattening ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว อย่างน้อยจนกว่า ECB จะปรับท่าทีแบบผ่อนคลายนโยบายน้อยลง โดยจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวบวกกับอุปทานที่ฟื้นตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะเริ่มชะลอลง ยกเว้นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการเพิ่มอุปทาน เช่น semiconductors.
ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า กลยุทธ์ในการจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก (Asset Allocation Portfolio Strategy) SCBS CIO คงมุมมองบวกต่อหุ้น DM; ปรับน้ำหนักหุ้นกลุ่ม value/growth เป็น 40/60 เน้นกลุ่ม GARP; ปรับน้ำมันเป็น Neutral โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ด้วยอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนที่ยังปรับขึ้นแม้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรายังคงชอบหุ้นมากกว่าพันธบัตรและเงินสด
- เรายังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม DM โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ และปรับน้ำหนักหุ้นกลุ่ม value/growth เป็น 40/60 โดยเน้นหุ้นกลุ่ม Growth At Reasonable Price (GARP หุ้นกลุ่มเติบโตที่มีมูลค่าสมเหตุสมผล)
- ความกังวลเรื่อง QE taper อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อหุ้นในกลุ่ม EMs โดยเฉพาะประเทศที่มีการขาดดุลการคลังและดุลบัญชีเดินสะพัดสูง (large twin deficit)
- คงมุมมอง slightly positive จากมูลค่าที่น่าสนใจต่อหุ้นจีนและญี่ปุ่น นอกจากนั้นเราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนได้มีการ priced-in ความเสี่ยงด้านนโยบายไปบ้างแล้ว โดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ selective buy ส่วนการฟื้นตัวของหุ้นญี่ปุ่นน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้นตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีนที่กำลังดีขึ้น
- คงมุมมองเวียดนามยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนที่สุดใน ASEAN เราปรับมุมมอง SET เป็น slightly positive จากมูลค่าหุ้นที่กลับมาน่าสนใจโดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ selective buy
- จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว และอุปทานที่เริ่มกลับมา เราปรับมุมมองน้ำมันเป็น Neutral
- คงมุมมองต่อ DM REITs เป็น slightly negative เนื่องมูลค่าที่ตึงตัวและความกังวลการกลับมาขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดของ Fed อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง slightly positive กับ Asian REITs จากความคืบหน้าในการเปิดเมืองในช่วงครึ่งหลังปี 2021F มูลค่าที่ยังน่าสนใจ และการขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะช้ากว่าในกรณีของประเทศ DMs