วันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23Empowering Future Life+ พลัสความสบายใจให้ประกันชีวิตดูแล

0
133

          สังคมในโลกยุคโควิด 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเป็นอย่างมาก อีกทั้งสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการสร้างความสบายใจในการใช้ชีวิต และยังเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญ และสนใจทำประกันชีวิตมากขึ้น รวมทั้งรวมพลังสามัคคีของบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต สมาคมประกันชีวิตไทย จึงได้จัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ขึ้น ภายใต้แนวคิด Empowering Future Life+ พลัสความสบายใจให้ประกันชีวิตดูแล

โดยความร่วมมือของ 4 องค์กรหลักของภาคธุรกิจ ประกอบด้วย คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต ร่วมกันจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเซนทรัล เวสเกต จ.นนทบุรี  

ภายในงานพบกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต กับบูธการตลาดของบริษัทประกันชีวิต 15 บริษัท  ตลอดจนร่วมลุ้นรางวัล และของแจกภายในงานมากมาย รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท โดยผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ที่มีเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไปจะได้รับคูปองชิงโชค 1 ใบ ต่อเบี้ยประกันภัยทุกๆ 5,000 บาท แต่จำกัดสิทธิรับคูปองไม่เกิน 20 ใบ ต่อหนึ่งใบเสร็จ ซึ่งใบเสร็จรับเงินสามารถรวบรวมยอดภายใน 1 วันได้ ร่วมรับชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อาทิ นนน กรภัทร์, หมาก ปริญ และ มาริโอ้ เมาเร่อ           

    

         นอกจากนี้ งานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี คือ การบริจาคโลหิต ซึ่งได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งมีระยะเวลาการจัดเก็บโลหิตสะสมโดยความร่วมมือของบริษัทสมาชิก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2567 และได้กำหนดเป้าหมายปริมาณบริจาคโลหิตทั่วประเทศ 4 ล้าน ซีซี

          สำหรับในปีนี้ ภาคธุรกิจยังได้รวมพลังรักษ์โลก ESG : Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ด้วยการปลูกป่าชายเลน ณ กองสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก (สถานตากอากาศบางปู) จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม โดยกำหนดเป้าหมายในการปลูกป่าชายเลนอันจะเป็นประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก