KBank Private Banking ชี้โอกาสต่อยอดความมั่งคั่ง จากพลังการบริโภคมหาศาลในจีน ผ่านกองทุนหุ้นนอกตลาดจีน ที่เน้นลงทุนกลุ่มเทคโนโลยี สุขภาพ และการบริโภค

0
124

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นโลกตลอดปีนี้ยังคงผันผวน เพราะต้องเผชิญความท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่คาดการณ์ได้ยาก รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาศตร์ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดแทบทุกประเภทยังคงผันผวน ในฐานะผู้ให้คำแนะนำและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการลงทุนจึงแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) ล่าสุดร่วมกับ KAsset และ Schroders นำเสนอโอกาสการลงทุนหุ้นนอกตลาดในจีนที่มีพลังการบริโภคมหาศาลด้วยจำนวนประชากรกลุ่ม Millennials กว่า 300 ล้านคน ผ่านการลงทุนในกองทุนเปิดเค ไชน่า ไพรเวทอิควิตี้ 24B ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (K-CHAPE24B-UI) ที่เน้นลงทุนอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของจีน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สุขภาพ และการบริโภค ที่ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนให้เติบโตอย่างคุณภาพ ผันผวนต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นจีน ถือเป็นการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่เหนือกว่า โดยมีกำหนดเปิดเสนอขายครั้งเดียวในระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึง 7 ตุลาคมนี้ เริ่มต้นลงทุน 500,000 บาท

ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยในฐานะผู้ให้คำแนะนำและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนว่า KBank Private Banking เชื่อว่าการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นนอกตลาด (Private Equity) มีศักยภาพ ในการสร้างผลตอบแทนควบคู่กับการลงทุนของพอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังช่วยลดความผันผวน เพราะราคาเคลื่อนไหวสอดคล้องกับผลการดำเนินงานและภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง จึงเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงการลงทุนในจีน เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะยังมีความกังวล แต่ในความเป็นจริงแล้วหุ้นนอกตลาดจีน(1) มีความผันผวนต่ำกว่าหุ้นในตลาด เนื่องจากการประเมินมูลค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างดัชนีตลาดมากนัก แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก เช่น กำไร การเติบโต และศักยภาพในอนาคต ทำให้ผลตอบแทนของหุ้นนอกตลาดจีน ระหว่างปี 2554 – 2565 สูงกว่าหุ้นจีนในตลาดหลักทรัพย์(2)ถึง 37 เท่า(3) ในขณะเดียวกันพลังการบริโภคจำนวนมหาศาลของจีนที่มีจำนวนประชากรกลุ่ม Millennials สูงถึง 330 ล้านคน จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนให้เติบโตได้ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมาอัตราการเติบโต GDP ของจีนอยู่ที่ 5.2% ซึ่งเติบโตมากกว่าสหรัฐฯ ถึง 2 เท่า ถือเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะสร้างผลตอบแทน จากการลงทุนในจีนด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นนอกตลาดจีน
ในปีนี้ KBank Private Banking ร่วมกับบลจ.กสิกรไทย หรือ KAsset และ Schroders อย่างต่อเนื่อง จากที่ปีก่อนหน้านี้ได้ระดมทุนเพื่อลงทุนในหุ้นจีนนอกตลาดในกองทุนเปิดเค ไชน่า ไพรเวทอิควิตี้ 23A ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ K-CHAPE23A-UI มูลค่าถึง 145 ล้านหยวน หรือประมาณ 680 ล้านบาท โดยนำเสนอกองทุนเปิดเค ไชน่า ไพรเวทอิควิตี้ 24B ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ K-CHAPE24B-UI ที่ลงทุนในหุ้นนอกตลาดในจีน โดยเน้นลงทุนอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของจีน ได้แก่ เทคโนโลยี สุขภาพ และการบริโภค เช่น ลงทุนในบริษัท ChinaBridge (ไชน่าบริดจ์) ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเครื่องเอคโม่ (ECMO) เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้พยุงหัวใจและปอด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายแรกในประเทศและได้รับการรับรองให้จำหน่ายได้ในจีน มีศักยภาพเติบโตสูง เพราะปัจจุบันมีเพียงไม่กี่บริษัทในโลกที่สามารถผลิตเครื่องเอคโม่ได้ อีกทั้งยังคาดว่าภายในปีนี้จะสามารถไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ซึ่งยังขาดแคลนเครื่องเอคโม่อยู่ โดยกองทุนจะลงทุนประมาณ 70% ในธุรกิจ ช่วงที่เติบโตซึ่งต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการ (Growth Capital) และอีกประมาณ 30% ในธุรกิจที่อาจยังไม่สร้างรายได้ (Venture Capital) แต่ต้องการเงินทุนมาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการหรือระบบธุรกิจผ่านการซื้อขายในตลาดรอง

ซึ่งมีระดับราคาที่น่าสนใจ หรือเป็นการร่วมลงทุนในกลุ่มบริษัทที่เป็นผู้นำตลาดในอนาคต และยังมีการกระจายการลงทุนในหลายมิติ ทั้งด้านอุตสาหกรรม ช่วงของธุรกิจ ลักษณะการร่วมลงทุนและลงทุนในกว่า 200 บริษัท ใช้ระยะเวลาการลงทุนเพียง 8 ปี 3 เดือน ซึ่งสั้นกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วไป และลงทุนครั้งเดียวไม่ยุ่งยากเหมือนกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วไปที่มักเรียกเงินลงทุนหลายครั้ง และลดความเสี่ยงการถูกเรียกเงินคืนกรณีกองทุนต่างประเทศต้องการเงินทุนเพิ่ม

นายจุน เฉียน Head of Private Equity China, Schroders Capital, Schroders กล่าวว่า ความพิเศษของกองทุนนี้คือ เน้นลงทุนในหุ้นนอกตลาดในประเทศจีนที่มีการระดมทุนในสกุลเงินหยวน ซึ่งมีปริมาณธุรกรรม และตัวเลือกในการลงทุนที่มากกว่าการระดมทุนในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยปัจจุบัน บริษัทนอกตลาดในจีน มีการระดมทุนเป็นสกุลเงินหยวนมากกว่า 90% ของมูลค่าเงินที่ระดมทุนในจีน แต่มีบริษัทต่างชาติเพียงไม่กี่รายที่ได้รับใบอนุญาตในการลงทุนในหุ้นนอกตลาดในสกุลเงินหยวนในประเทศจีน ที่เรียกว่า QFLP ซึ่ง Schroders เป็นหนึ่งในนั้น ทำให้มีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย และด้วยสภาพตลาดปัจจุบัน ระดับราคาของกองทุนในตลาดรองในสกุลหยวน มีระดับราคาที่น่าสนใจกว่า และมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนในตลาดรองที่เป็นสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ

ดร.ตรีพล กล่าวปิดท้ายว่า ในภาวะเศรษฐกิจในจีนที่ยังไม่แน่นอน มูลค่าของหุ้นนอกตลาดในจีนไม่ได้รับผลกระทบจากข่าวสารหรือสถานการณ์รายวัน ทำให้มีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นในตลาด ช่วยให้นักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น อีกทั้งเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริษัทหลายแห่งในจีนที่อยู่นอกตลาดซึ่งมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและมีศักยภาพในการเติบโตสูงแม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังคงให้ การสนับสนุนภาคเอกชนและมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของบริษัทนอกตลาดในระยะยาว ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างกำไรให้กับพอร์ตลงทุนในอนาคต KBank Private Banking เชื่อว่าการลงทุนในกองทุนเปิดเค ไชน่า ไพรเวทอิควิตี้ 24B ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย จะช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนจากสินทรัพย์ดั้งเดิมอย่างหุ้นและตราสารหนี้ และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวให้กับนักลงทุนได้

ทั้งนี้การลงทุนในหุ้นนอกตลาดจีนที่บริหารโดย Schroders Capital ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2566 ให้ผลตอบแทน IRR ที่ 12.8% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของการลงทุนดัชนีหุ้นจีน MSCI China USD ด้วยกระแสเงินสดและจังหวะเวลาการลงทุนที่เหมือนกันจะอยู่ที่ -5.3% ต่อปี


(1) ที่ลงทุนโดย Schroders Capital China Investments
(2) MSCI China
(3) เปรียบเทียบผลตอบแทนในอดีตระหว่างการลงทุนในบริษัทนอกและในตลาดหลักทรัพย์ด้วย cash flow profile ที่เหมือนกัน

คำเตือน: กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ ตำแหน่งผู้บริหารเขียนทับศัพท์ภาษาไทย:
ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ ซีเนียร์ แมเนจจิ้ง ไดเร็กเตอร์ ไพรเวท แบงกิ้ง บิซิเนส เฮด ไพรเวท แบงกิ้ง กรุ๊ป ธนาคารกสิกรไทย นายจุน เฉียน เฮด ออฟ ไพรเวท อิควิตี้ ไชน่า ชโรเดอร์ส แคปปิตอล ชโรเดอร์ส