5 สถาบันวิชาการเสนอทางออกเร่งด่วน รัฐทุ่มลงทุนกู้วิกฤตทักษะคน ไทย เป็นวาระแห่งชาติ เริ่มต้นที่คนไทยจบแค่ ม.3 กว่า 20 ล้านคนก่อน

0
263

เชื่อมีโอกาสออกจากวิกฤตเช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่การแก้ปัญหาอย่าง เป็นระบบใช้เวลาเพียง 3 ปี ปรับทักษะ 17.5 ล้านคนสำเร็จ หลังจากที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ธนาคารโลก (World Bank) ได้เผยแพร่ผลสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากร วัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยพบว่า ไทยเผชิญวิกฤต เยาวชนและประชากรวัยแรงงานขาดแคลนทักษะหรือมีทักษะพื้นฐานชีวิต ได้แก่ 1) การอ่านออกเขียนได้ (literacy) 2) ทักษะด้านดิจิทัล (digital skill) และ 3) ทักษะทางสังคมและอารมณ์ (sociomotional skill) ต่ำกว่าเกณฑ์ (Threshold Level) ‘ในสัดส่วนที่สูง’ โดยปัญหาดังกล่าวคาดว่าได้สร้างความ สูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20.1%

ล่าสุด 5 สถาบันวิชาการ ร่วมระดมสมอง หาทางออก ในเวทีวิชาการ “Fostering Foundation Skills in Thailand กู้วิกฤตทักษะคนไทย หลุดพ้น ความยากจน” เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องสานพลัง กองทุนเพื่อ ความเสมอภาคทางการศึกษา อาคารเอส พี ชั้น 12 โดยเป็นการระดมสมองนัก วิชาการจากหลากหลายสถาบัน อาทิ กสศ. สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สถาบันนโยบาย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มจธ. คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ฯลฯ เพื่อวิเคราะห์นโยบายจากต่างประเทศในการพัฒนาทักษะพื้น ฐานชีวิตทุกช่วงวัยที่ประสบความสำเร็จ และหารือกันถึงทางออกในการกู้วิกฤต ทักษะคนไทย

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า การกู้วิกฤตทักษะคนไทยต้องทำเป็น ระบบใหญ่ จริงจังและทุ่มเททรัพยากร ตัวอย่างรูปธรรมสำคัญ เช่น การทำ National Skill Program เป็นวาระแห่งชาติ โดยโปรแกรมนี้ต้องมีลักษณะเป็น ขนมชั้น 3 ชั้น เริ่มจากชั้นกลาง คล้ายกับที่อินโดนีเซียทำ คือมีคูปอง มีระบบกลไก ตลาด ให้คนที่รู้เรื่องทักษะจริงหรือรู้ว่าตลาดต้องการอะไรเป็น Suply Side เป็นผู้ แจกคูปอง เป็นทักษะเฉพาะทาง ทักษะอาชีพต่าง ๆ เรื่องนี้ต้องทำขนานใหญ่ ต้อง กล้าลงทุน อินโดนีเซียทำเรื่องนี้ เริ่มต้น 5 ล้านคน ของไทยต้องวางเป้าหมาย มากกว่านั้น อาจกำหนดกลุ่มเป้าหมายเลยว่าคนไทยทุกคนที่เรียนไม่เกิน ม.3 ความรู้ไม่มากนัก ตามโลกไม่ทัน เข้าใจว่าน่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้านคน แน่นอนว่าต้องค่อย ๆ เริ่ม และมีการประเมินระหว่างทาง โดยประเภทของทักษะ อาจเป็นเฉพาะทางก็ได้ แต่ต้องมีความหลากหลายรองรับเพียงพอ ส่วนชั้นล่าง หรือชั้น 1 ควรมีโครงการที่เป็น Skill Program ที่ส่งเสริมเรื่องทักษะ พื้นฐานชีวิตให้กับทุกคน ‘ชั้นกลาง’ หรือ ทักษะเฉพาะทาง สำหรับ ‘ชั้นบน’ ต้อง เป็นพื้นที่เฉพาะของกลุ่มเปราะบาง เช่น ประชากรนอกระบบ เด็กที่ออกนอกระบบ กลุ่มคนจน 15% ล่างสุดของประเทศ คนพิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ กลุ่มนี้ต้องการการ ดูแลพิเศษด้วยโปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะ โดยการเสริม Foundation Skills ที่ โยงกับกลุ่มคนยากจนขาดแคลนโอกาสที่สุด

ถ้าเป็นไปได้ควรเป็น 3+2 ได้แก่ ทักษะดิจิทัล ทักษะรู้หนังสือ และทักษะอารมณ์และสังคม แล้วควรเพิ่ม ‘ความรู้ ทางการเงิน’ financial literacy และมีตัวย่อยคือ ‘ความรู้ในการลงทุน’ (Investment literacy) เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้ในการ ลงทุนจะลดการใช้จ่ายเงิน ลดการซื้อหวย ลดการดื่มเหล้า จะทำให้เงินนี้ออกดอก ออกผลได้ นอกจากนี้ยังมีตัวแถมที่สาม คือเรื่อง สุขภาพ และมาตราเสริมเรื่อง อินเทอร์เน็ต โดยการมีอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับคนกลุ่มเปราะบาง เพราะจะเปิด โอกาสให้คนกลุ่มนี้อย่างมาก ดร.สมชัย กล่าวว่า คำถามที่ว่าเราต้องลงทุนอย่างไรหรือใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ เพื่อกู้วิกฤตทักษะประชากร คำตอบคือ ‘ใช้ให้เต็มที่ที่สุด’ แต่ใจความสำคัญคือเรา ต้องใส่อย่างชาญฉลาด ไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

“ผมคำนวณดู อินโดนีเซียใช้ 9,000 บาทต่อคน ลองใช้ตัวเลขนี้กับคนไทย ด้วย ตัวเลขผู้ที่การศึกษาต่ำกว่า ม. 3 ราว 20 ล้านคน ใช้เงินน่าจะไม่ถึงแสนล้าน จริง ๆ อาจไม่ต้องใช้ถึงแสนล้าน เพราะทักษะแบบนี้โดยหลักการไม่จำเป็นต้องถูกฝึก ใหม่ทุกปี ดังนั้น งบประมาณจะประมาณ 60,000 ล้าน ประเด็นเรื่องเวลา คนจน ไม่มีเวลาเรียนถึง 16 ปี ถ้าเราทำ platform ดี ๆ เด็กจากครอบครัวยากจนเรียน 6 ปี ไม่ถึง 10 ปี สามารถเก่งเรื่องทักษะพื้นฐานชีวิต ก็สามารถหาความรู้ด้วยตัวเอง ได้” ดร.สมชัย กล่าว

ดร.แบ๊งค์ งามโชติอรุณ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ประเทศอินโดนีเซียสามารถพัฒนาทักษะแรงงานหลังวิกฤตโควิด19 ระบาดด้วย โครงการชื่อ Kartu Prakerja (Pre-employment card) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Prakerja โดยโครงการนี้ คือ ความร่วมมือที่ภาครัฐและเอกชน ช่วยกันสร้าง เครื่องมือพัฒนาทักษะแรงงานที่สามารถแรงจูงใจให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ม เปราะบาง อยากเข้ามาเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของตัวเองอย่างเป็นระบบ และ ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถปรับทักษะของประชาชนได้มากถึง 17.5 ล้านคน ในเวลาเพียง 3 ปี และเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตโควิด19

ดร.แบ๊งค์ กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการนี้สามารถสร้างทักษะที่ ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับความต้องการของภาคเอกชน สามารถสร้างระบบ ตลาดความรู้หรือแพลตฟอร์ม (Platform and Marketplace) ที่มีคุณภาพช่วย จัดการเรียนรู้ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ มีระบบคัดสรรผู้ให้บริการอบรมทักษะ ทั้งภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน โดยระบบดังกล่าว มีความ

ยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจ มีระบบฐานข้อมูล ประชาชนแยกตามรายได้ และข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการประเมินทักษะก่อนเรียน และแนะนำวิชาเรียนที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกเรียนอะไรหรือปรับทักษะใด และสามารถสร้างแนวทางกระตุ้นให้ผู้เข้า ร่วม เรียนจนจบหลักสูตรและสอบผ่าน โดยการกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินเครดิต ทุนการศึกษาให้กับผู้สอนเพียง 30% และกำหนดให้ได้รับเครดิตอีก 70% ได้หาก สามารถผลักดันให้ผู้เรียนสามารถเรียนจนจบหลักสูตรและสอบผ่านมีการจ่ายเงิน ให้ผู้เรียนเพื่อระบบประเมินและติดตามผล

“หลังดำเนินโครงการ Prakerja เพียงปีเดียว ก็สามารถสร้างกลไกในการดูแล ประชาชนกลุ่มเปราะบางที่อยู่ล่างสุดของสังคม และดึงเอกชนมาร่วมทำงาน มีผู้ ผลิตเนื้อหามากถึง 181 หน่วยงาน สามารถสร้างสรรค์วิชาทั้งสิ้น 1,957 รายการ สำหรับผู้เรียนราว 5.9 ล้านคนต่อปี” ดร.แบ๊งค์กล่าว

คุณธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการ เรียนรู้ กสศ. ระบุว่า เวลาพูดถึงภาพรวมระบบการศึกษาจะพูดถึงเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในโรงเรียนภายใต้ระบบการศึกษาภาคบังคับ 15 ปีเป็นหลัก ซึ่งมีจำนวน

ประมาณ 8 ล้านคน แต่ไทยยังมีเด็กเยาวชนวัยแรงงานที่อยู่นอกรั้วโรงเรียน จำนวนมากถึง 20.2 ล้านคน และมีกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบการ ศึกษา ไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน อยู่บ้านเฉย ๆ เรียกว่ากลุ่ม NEET (Youth not in education , employment , or training) ราว 1.3 ล้านคน หรือราว 14.8% การจะทำให้ไทยหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางนโยบายต้องให้ความ สำคัญต่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย แผนการพัฒนาการศึกษาต้องมีมุมมองกว้าง กว่าเขตรั้วโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิตเรื่องการทำงานต้องมีการเชื่อมโยงทั้ง แนวตั้ง เช่น หน่วยจัดการเรียนรู้ มาตรฐาน การประเมิน คุณภาพผู้สอน และแนว นอน เช่น หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ รัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่น หลักสูตร โอกาส ของตลาดแรงงาน

“โจทย์นี้ใหญ่มาก คงทำงานด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ได้ ไทยต้องมี หน่วยงานเจ้าภาพที่มาทำเรื่องนี้เหมือนอินโดนีเซียที่มี Prakerja เป็นเจ้าภาพ ทำงานกับดีมานด์ซัพพลาย ใช้กลไกตลาดสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยากปรับ ทักษะ มีการคัดเลือกหลักสูตรต่าง ๆ เชื่อมโยงการทำงานทั้งแนวนอนและแนวตั้ง คือทำทุกช่วงวัย มองตั้งแต่เด็กเยาวชนที่อยู่ในระบบ 15 ปีแรก จนถึงกลุ่มที่ต้องมี ชีวิตอยู่อีก 50 ปีหลัง การออกแบบกลยุทธ์ของประเทศไทยต้องมีการเชื่อมต่อกัน ระหว่างช่วงวัยและระบบการศึกษาลักษณะต่าง ๆ ทั้ง ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และอื่น ๆ”