กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เตรียมจัดงานประกวด รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2567 หรือ รางวัล Design Excellence Award 2024 (DEmark) ภายใต้ แนวคิด The Power of Sustainable Design จุดพลัง สร้างสรรค์งานดีไซน์ อย่างยั่งยืน” ผสาน Soft Power ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ การออกแบบสินค้าและบริการของไทยสู่สากล เพิ่มความเชื่อมั่นทางการค้า และศักยภาพทางการแข่งขันเชิงรุกธุรกิจการส่งออกเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ได้ดำเนินโครงการรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2567 (Design Excellence Award : DEmark 2024) ขึ้นเป็นปีที่ 17 เพื่อส่งเสริมผลงานที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบ และยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย ในตลาดโลก สร้างการรับรู้ถึงรางวัล DEmark ในฐานะรางวัลด้านการออกแบบยอดเยี่ยมระดับประเทศ DEmark นับเป็นรางวัลที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการออกแบบ มาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และพร้อมปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันในตลาดสากล ซึ่งในปีนี้นอกจากให้ความสำคัญกับประเด็น สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน สังคม เราได้นำเอาแนวคิดด้าน Soft power ซึ่งถือเป็นพลังเชิงวัฒนธรรมเข้ามาเชื่อมโยงในการสร้างพลังการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะด้านการออกแบบให้โดดเด่นผสานทั้งด้านศิลปะ ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ทำการตลาดเชื่อมโยงผ่านภาพลักษณ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ”
ด้าน น.ส. ประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ให้ข้อมูลเพิ่มเติม “รางวัล Design Excellence Award (DEmark) มีที่มาจากสาขารางวัลการออกแบบดี ของรางวัล Prime Minister’s Export Award หรือ PM’s Export Award ซึ่งเดิมพิจารณาให้รางวัลจาก “กระบวนการพัฒนาสินค้าเป็นหลัก” ในปี 2551 ต่อมาสำนักได้มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนสู่การพิจารณาสินค้าที่มี “การออกแบบดีเป็นหลัก” เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขันทางการค้า โดยกำหนดให้มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ของรางวัล ขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ DEmark เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายรับรองผลงานที่มีการออกแบบดี และใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความแตกต่าง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย และขยายตลาดสินค้าไทย ทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ โดยมีแผนการประชาสัมพันธ์รางวัลให้เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยในปี 2657 นี้ รางวัล DEmark มีการปรับแนวทางการพัฒนารางวัลในหลายด้าน อาทิ
• การตัดสินที่กระทรวงพาณิชย์ และจัดพิธีมอบรางวัลพร้อมจัด DEmark Show 2024 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
• การเพิ่มขอบข่ายผู้สมัครที่เปิดกว้างมากขึ้น ให้ผู้ประกอบการ SMEs / Micro Enterprise นักออกแบบรุ่นใหม่ สามารถมีส่วนร่วมในการสมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
• ปรับชื่อกลุ่มผลงาน และขยายขอบเขตการรับสมัครให้กว้างขึ้น เช่น กลุ่มผลงานการออกแบบกราฟิกและการสื่อสาร ให้มีขอบเขตครอบคุลมผลงานการออกแบบนิทรรศการ (Exhibition Design) และกลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายในฯ เพิ่มผลงาน Residential Project ให้สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ และปรับเพิ่มประเภทรางวัล กลุ่มสินค้าเครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ และนวัตกรรมสิ่งทอ จึงทำให้ปีนี้มีประเภทรางวัลที่มีความชัดเจนมากขึ้น
• และเพื่อให้การพิจารณาในปีนี้มีความเห็นและมุมมองที่หลากหลายจึงเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึง Designer of the year เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน
• ปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัลให้มีความชัดเจน และให้น้ำหนักแนวความคิดในการนำเอาต้นทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
โดยกรมฯ มุ่งหวังจะสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลงานที่ได้รับรางวัล รวมทั้งผู้ออกแบบ/เจ้าของ ผลงาน นำเสนอจุดเด่นของผลงานให้เป็นที่รับรู้และยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในไทยและในระดับนานาชาติ มีสินค้าไทยได้รับรางวัล DEmark แล้วจำนวน 1,159 รายการ และในปี 2566 ที่ผ่านมา มีสินค้าไทยได้รับรางวัล DEmark 2023 จำนวน 78 รายการ จากผู้ประกอบการ จำนวน 60 บริษัท ทั้งนี้ มีผลงานที่ไปสร้างชื่อเสียง ให้กับประเทศไทย โดยได้เข้าร่วมการประกวดรางวัลระดับนานาชาติ เช่น รางวัล Good Design Award (G-mark) จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว 531 รายการ
โดยในปี 2567 โครงการ ฯ ตั้งเป้าจะมีผลงานสมัครเข้ารับรางวัลไม่ต่ำกว่า 450 รายการ และมีผลงาน ได้รับรางวัลไม่ต่ำกว่า 80 รายการ
ทั้งนี้ กรมได้รับความร่วมมือจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และสถาบัน ส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น Japan Institute of Design Promotion (JDP) ในการสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญจากรางวัล Good Design Award (G-mark) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรางวัลด้านการออกแบบที่ได้รับ การยอมรับในระดับสากล มาร่วมพิจารณาตัดสินรางวัล DEmark รวมทั้งให้ความร่วมมือ ในด้านต่างๆ เพื่อให้รางวัลได้มาตรฐานในระดับสากล นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ในการสร้างโอกาสทางการค้าและขยายตลาดให้กับสินค้าและบริการของนักออกแบบไทยผ่านช่องทางการค้าต่างๆ ของสยามพิวรรธทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนการจัดโครงการ นี้มาอย่างต่อเนื่อง และกรมยังมีความร่วมมือกับรางวัลการออกแบบนานาชาติอื่นๆ เช่น รางวัล Golden Pin Design Award ไต้หวัน และรางวัล Hongkong Smart Design Awards ฮ่องกง
น.ส. ปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ retail concept shop บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “ที่ผ่านมาสยามพิวรรธน์ ในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำของประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ และมีความตั้งใจที่จะสร้างโอกาสให้คนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ได้ยกระดับขีดความสามารถและเผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทยและประเทศชาติ โดยได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนกิจกรรมจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการพัฒนาศักยภาพของเหล่าบรรดานักออกแบบไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมสินค้าไทยสู่การพัฒนาและต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริมบุคคลากรในอุตสาหกรรมการอออกแบบจึงเป็นกิจกรรมที่เราให้ความสำคัญมาอย่างยาวนาน โดยสยามพิวรรธน์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ที่จะนำพาผู้ประกอบการไทยไปสู่เวทีโลก ร่วมเสนอผลงานสินค้าไทยที่มีการออกแบบดีและมีความคิดสร้างสรรค์ รุกตลาดขยายแพลตฟอร์มสู่นานาประเทศ ผ่านร้าน ICONCRAFT, ABSOLUTE SIAM และ ECOTOPIA ซึ่งสยามพิวรรธน์ได้จับมือกับ DITP ในการผลักดันและสนับสนุน ต่อยอดผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็นอีกงานที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์อีกครั้งหนึ่ง”
รางวัล DEmark 2024 ครอบคลุมประเภทงานออกแบบ Design Category (8 กลุ่มสินค้า) ดังนี้
(1) กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (Furniture: Industrial Process / Industrial Craft)
(2) กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Industrial Process / Hand Craft : Gift & Decorative Items / Household Items)
(3) กลุ่มสินค้าเครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ และนวัตกรรมสิ่งทอ (Accessories & Wearable: Apparel/ Jewelry/ Textile/Lifestyle Fashion Ex. hat, bag, footwear)
(4) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Industrial & IoT : Home Appliances / Equipment and Facilities / Digital Appliances /Transportation/Smart Device /IoT/ etc.)
(5) กลุ่มผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design Product Base/
Packaging Design Branding Base)
(6) กลุ่มผลงานการออกแบบกราฟิกและการสื่อสาร (Graphic & Communication Design : Typography / Graphic on Surface / Digital Media / Identity Design/ Illustration /Character Design/ Digital Art/ Exhibition Design)
(7) กลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้าพื้นที่ทํางานร่วมกัน อาคารชุด (Interior Design : Hotel / Restaurant / Cafe / Retail Shop/ Co-Working Space/ Condominium and Residential Project)
(8) กลุ่มผลงานออกแบบระบบบริการและแพลตฟอร์มดิจิทัล (System Service & Digital Platform : Online Interface Design, Apps for Smartphones and Tablets, Website)
สำหรับสิทธิประโยชน์สินค้าที่ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น สามารถใช้ตรา DEmark ในการส่งเสริมการขายสินค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้เข้ารอบ 2 การประกวดรางวัล G-Mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันทีและผลงานที่ได้รับรางวัล G-mark จะได้จัดแสดงนิทรรศการในงาน Good Design Exhibition 2024 ณ ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนกรกฎาคม ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ และโอกาสทางการค้าในเวทีสำคัญด้านการออกแบบระดับโลก เช่น งาน Milan Design Week อิตาลีงาน Maison & Object Paris ฝรั่งเศส เป็นต้น
รางวัล DEmark 2024 เปิดรับสมัครนักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ส่งผลงาน เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2567
ภายในงานแถลงข่าวยังมีข้อมูลจากเสวนาพิเศษ หัวข้อ The Power of Sustainable Design จุดพลัง สร้างสรรค์งานดีไซน์ อย่างยั่งยืน” โดยการเสวนาในช่วงแรก ผู้แทนคณะกรรมการรางวัล DEmark 2024 และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินรางวัล G-mark 2023 มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจ โดย นายพิพิธ โค้วสุวรรณ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาการออกแบบ/คณะกรรมการพิจารณา รางวัล DEmark 2024 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี นายศรัณย์ อยู่คงดี คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาว์เวอร์ สาขา การออกแบบ/คณะกรรมการ DEmark 2024 กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ และ Design of the year ปี 2021 นายนายธีรนพ หวังศิลปคุณ นักออกแบบผู้ก่อตั้ง TNOP™ DESIGN คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากประเทศไทยร่วมตัดสินรางวัล G-mark 2023
การเสวนาในช่วงที่ 2 ผู้แทนผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark 2023 จะมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จและแรงบันดาลใจ การสร้างสรรค์ผลงาน โดย นายพชร กังเชิดศรี หัวหน้านักออกแบบ Head of Design บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด DEmark & G-mark Winner 2023: Industrial & IoT : Tigerdrone นายวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ Design director บริษัท Supergreen Studio DEmark Winner 2023: Interior Design : UTHAI heritage นายธนัทเศรษฐ์ หอวัฒนพันธ์ Cofounder and Chief Design Officer บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด DEmark & G-mark Winner 2023: System, Service and Digital Platform : VIABUS และผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นักออกแบบ Key Visual DEmark 2024 DEmark Winner 2023 : Graphic Design : Mitr Bumrungmueang Lettering Design
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการไทย ส่งสินค้า /บริการ เข้าร่วมโครงการนำเสนอจุดเด่นของผลงานให้เป็นที่รับรู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อผู้ได้รับรางวัล เป็นแบบอย่างในการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศ นักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ที่สนใจเข้าร่วมโครงการรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2567 สามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทาง https://demarkaward.net/ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ -วันที่ 3 มิถุนายน 2567 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร 063-993-7131, 063-993-5042, 02-507-8274 Email: demark@demarkaward.net