บทวิเคราะห์มุมมองด้านการลงทุนในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ 

0
1442

พร้อม 10 หัวข้อย่อยด้าน Digital Transformation  ที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม 

โดย แฟรงคลิน เทมเพิลตัน

ประเทศไทย 22 เมษายน 2564 – อีแวน แมคคัลล็อก รองประธานอาวุโสผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารทุนและโจนาธาน เคอร์ติส รองประธานอาวุโสแฟรงคลินอิควิตี้กรุ๊ป แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและมุมมองโดยตรงระหว่างการสัมมนาทางเว็บเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่สี่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพคลุมเครือไม่ชัดเจน รวมถึงผลกระทบที่ลึกซึ้งของการค้นพบเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีสำหรับมนุษย์

การพัฒนาและความเสี่ยงของกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพโดยอีแวน แมคคัลล็อก ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของแฟรงคลิน ไบโอเทคโนโลยี ดิสคัฟเวอรี่ ฟัน (Franklin Biotechnology Discovery Fund)

ปัจจุบัน บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพหรือไบโอเทคมีความซับซ้อนมากขึ้นในแง่ของแนวทางการวิจัยและพัฒนายา กระบวนการและรูปแบบการทดลองก่อนนำไปใช้จริง ฯลฯ ธุรกิจกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จไม่ง่ายเลยโดยดูได้จากหลาย ๆ บริษัทที่ดำเนินงานอยู่แต่ไม่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นับตั้งแต่พ.ศ. 2543 นอกจากนี้นักลงทุนในปัจจุบันยังรอบคอบมากขึ้นในการตรวจสอบธุรกิจในเชิงลึกก่อนจะตัดสินใจว่าการลงทุนนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ ธุรกิจในอุตสาหกรรมไบโอเทคผ่านร้อนผ่านหนาวมานานและยังขยายตัวต่อไปได้อย่างมีนัยสำคัญ วันนี้มีบริษัทด้านไบโอเทคจดทะเบียนอยู่กับตลาดหุ้นแนสแด็ก (Nasdaq) มากกว่า 270 บริษัทเมื่อเทียบกับพ.ศ. 2543 ที่มีเพียง 60 รายเท่านั้น

ความรู้ความเข้าใจด้านชีววิทยาของมนุษยชาติมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องรวมถึงผลิตภัณฑ์ยาตลอดจนการพัฒนาไปสู่การค้าเป็นประตูสู่ผลกำไรและผลตอบแทนของนักลงทุน ซึ่งมีเงื่อนไขทางการแพทย์มากมายที่รอการค้นพบวิธีการรักษา ภาคธุรกิจจะยังคงเห็นนวัตกรรมและความก้าวหน้าในขณะที่มูลค่าการลงทุนที่สูงเป็นสิ่งที่น่ากังวลในปัจจุบันแต่การจัดการแบบมืออาชีพและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์บริษัทเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้

ความเสี่ยงสำคัญอันหนึ่งคือนโยบายภาครัฐและความเป็นไปได้ที่กฎหมายอาจเปลี่ยนรูปแบบการเบิกจ่ายยาไปเป็นวิธีอื่น ๆ  ยาราคาสูง ๆ เป็นสิ่งที่น่ากังวลอีกอย่างหนึ่งและอาจเป็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนหลัก ๆ ของธุรกิจในแขนงนี้ การพัฒนายาอาจเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถระดับสูงแต่ก็เป็นธุรกิจที่ต้องสร้างผลกำไรเพื่ออยู่ให้รอดและเติบโตต่อไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญของนักลงทุนที่ต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียของการลงทุนในแต่ละบริษัทอย่างรอบคอบ ในเชิงมูลค่าและประสิทธิศักย์ของยาหรือเวชภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการวิจัยและพัฒนารวมถึงต้นทุนอื่น ๆ

กลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลโดยโจนาธาน เคอร์ติส หัวหน้าผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของ กองทุนเทคโนโลยีแฟรงคลิน 

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่นำโดยการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล กล่าวโดยรวมการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลคือการรวบรวมและการใช้ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและกระบวนการทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น จากนั้นใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนโฉมการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง

ในพ.ศ. 2563 องค์กรต่าง ๆ ใช้เงินไปถึง 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ดิจิทัล ซึ่งเข้าใจกันได้ทั่วไปว่ามีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดใหญ่ที่อาจนำไปสู่การเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ให้เกิดเร็วขึ้นซึ่งเป็นโอกาสมหาศาลที่นักลงทุนเริ่มมองเห็น

มีสิบหัวข้อย่อยเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญ คือ AI/การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), ความปลอดภัยของการประมวลผลบนคลาวด์ (Secure Cloud Computing), การพาณิชย์รูปแบบใหม่ (New Commerce), ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในรูปแบบของการให้บริการ (Software as a Service), การโฆษณาดิจิทัล (Digital Advertising), เทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) และการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Payments), เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ (Internet of Things), การทำงานร่วมกันแบบดิจิทัล (Digital Collaboration), ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) และ 5G ซึ่งสำคัญมากถ้าเป็นเจ้าของความคิดดี ๆ ที่เชื่อมโยงกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งดังกล่าว ซึ่งจากหัวข้อข้างต้น AI/การเรียนรู้ของเครื่องจักรและความปลอดภัยของการประมวลผลบนคลาวด์อาจเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดและมีศักยภาพมากที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของทุกคน

เร็ว ๆ นี้มีความผันผวนเกิดขึ้นในภาคเทคโนโลยีและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการคือพุ่งเป้าไปที่การดำเนินงานในระยะยาว ตรวจสอบสถานะธุรกิจอย่างเข้มงวดและลงทุนในบริษัทที่มีตำแหน่งที่ดีที่สุดในระยะยาว นอกจากนี้ภาคเทคโนโลยียังอยู่ในตำแหน่งที่ดีอยู่แล้วเมื่อต้องรับมือกับความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อทั้งนี้โดยทั่วไปกลุ่มนี้เป็นธุรกิจที่ไม่ถือครองสินทรัพย์ใหญ่ ๆ เป็นของตนเอง (Asset-Light) และไม่มีต้นทุนนำเข้าที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากแรงกดดันทางเงินเฟ้อ

กฎระเบียบของรัฐบาลเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อภาคเทคโนโลยี ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป จีนและอื่น ๆ ประเทศเหล่านี้มีการตรวจสอบธุรกิจภาคเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิดและกดดันด้วยอิทธิพลและอำนาจไปยังบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้เล่นรายใหญ่ แต่อาจเป็นผลดีต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กและขนาดกลางที่จะแข่งขันได้ง่ายขึ้นและนั่นอาจเป็นผลดีสำหรับนักลงทุน

เกี่ยวกับแฟรงคลิน เทมเพิลตัน

แฟรงคลิน รีซอร์ส อิงค์ (Franklin Resource) [NYSE: BEN] เป็นองค์กรการจัดการการลงทุนระดับโลกซึ่งดำเนินกิจการร่วมกับบริษัทในเครือ แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (Franklin Templeton) และให้บริการลูกค้ามากกว่า 165 ประเทศทั่วโลก ภารกิจของแฟรงคลินเทมเพิลตันคือช่วยให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการลงทุน การบริหารความมั่งคั่ง และ โซลูชั่นทางเทคโนโลยี โดยผู้จัดการการลงทุนผู้เชี่ยวชาญโดยบริษัทมีความชำนาญในสินทรัพย์ที่ครอบคลุม ทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้ การลงทุนทางเลือกและโซลูชันการลงทุนในสินทรัพย์ผสม บริษัทฯ มีพนักงานอยู่ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศรวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจำนวน 1,300 คน มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 70 ปีและมีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายในการดูแล 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม franklintempleton.com และติดตามเราได้ที่ LinkedIn, Twitter และ Facebook.

Copyright © 2020. Franklin Templeton Investments. All rights reserved.