KBank Private Banking ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอตัวหรือถดถอย

0
485

แนะปรับพอร์ตลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยง ชูกองทุน ALL ROADS Series
กองทุนอัจฉริยะขับเคลื่อนอัตโนมัติ สร้างผลตอบแทนมั่นคงและควบคุมการขาดทุนในทุกสภาวะตลาด
KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง) ประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใน 2 มุมมอง เสี่ยงต่อภาวะชะลอตัวหรือถดถอยที่อาจมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากยังมีทั้งปัจจัยบวกและลบ ภาคการลงทุนจึงยังผันผวนต่อและมีความไม่แน่นอนสูง แนะนักลงทุนปรับพอร์ตให้กระจายความเสี่ยงมากขึ้น ชู 3 กองทุนผสม ภายใต้ ALL ROADS Series* กองทุนอัจฉริยะที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย มาพร้อมกลไกปรับพอร์ตอัตโนมัติโดยยึดความเสี่ยงของสินทรัพย์เป็นหลัก จึงสร้างผลตอบแทนได้อย่างมั่นคงและควบคุมการขาดทุนได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากความกังวลของนักลงทุนว่าอาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ นั้น การประเมินว่าภาวะถดถอยจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นทำได้ยาก เนื่องจากยังมีทั้งปัจจัยบวกและลบที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ เช่น แนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลง ทำให้ Fed มีแนวโน้มที่จะชะลอหรือยุติการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ความกังวลต่อการปรับลดคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนยังมีอยู่ อีกทั้งการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน สร้างผลกระทบจนเกิดเป็นวิกฤตในภาคธนาคาร ทำให้สินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น รวมไปถึงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ต่างพากันปรับตัวลง แม้จะมีการกระจายการลงทุนอย่างดีแล้วพอร์ตการลงทุนก็ยังคงได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ เพื่อให้การกระจายลงทุนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างผลตอบแทนหากตลาดกลับตัว ในทางกลับกันก็สามารถลดความเสียหายให้พอร์ตการลงทุนเมื่อความเสี่ยงในตลาดเพิ่มขึ้น KBank Private Banking ยังคงแนะนำให้นักลงทุนแบ่งเงินลงทุน 50-70% ของพอร์ตลงทุนในสัดส่วนพอร์ตหลัก โดยเน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ด้วยกลยุทธ์กระจายลงทุนโดยยึดความเสี่ยงของสินทรัพย์เป็นหลัก (Risk-Based Asset Allocation) ช่วยให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมทั้งจำกัดความเสียหายในทุกสภาวะตลาด
สำหรับลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารสามารถลงทุน ผ่าน 3 กองทุนซึ่งแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ภายใต้กองทุน ALL ROADS Series* ไม่ว่าจะเป็น K-ALLRD-UI-A(A), K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) โดยทั้ง 3 กองทุนมาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ขณะเดียวกันในช่วงตลาดผันผวน ลดสัดส่วนการลงทุน ถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจกองทุนสามารถจัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในสภาพตลาดที่หลากหลาย โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS – ALL ROADS Series ในต่างประเทศสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
นายจิรวัฒน์ กล่าวในต้อนท้ายว่า ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังกังวลว่าในช่วงที่ตลาดยังคงผันผวนเช่นนี้ เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการลงทุนหรือยัง ทั้งนี้ KBank Private Banking เชื่อว่าตลาดลงทุนได้ผ่านช่วงเวลาต่ำสุดที่ดัชนีหุ้นโลก (MSCI World Index) ติดลบหนักถึง 22% ไปแล้ว เมื่อตุลาคมปีที่ผ่านมา และได้ค่อยๆ ทยอยปรับตัวขึ้นมาประมาณ 20% ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยรุมเร้ารอบด้านส่งผลให้ตลาดผันผวนอยู่ตลอด ทำให้สินทรัพย์หลายประเภทอาจปรับตัวลงพร้อมๆ กัน ดังนั้น KBank Private Banking จึงเชื่อว่าในภาวะที่มีทั้งปัจจัยบวกและลบต่อตลาดลงทุน การลงทุนโดยยึดหลักกระจายความเสี่ยง (Risk based asset allocation) ด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ ALL ROADS คือคำตอบที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวผ่านช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจที่แตกต่างกันได้ โดยไม่อิงต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ นอกจากนี้ความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างผลตอบแทนระยะยาว เนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเมื่อตลาดกลับตัวเป็นขาขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจสำคัญไม่น้อยไปกว่าการลดความเสี่ยงเมื่อตลาดขาลงเพื่อลดผลขาดทุนเช่นกัน
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v
# # #

* กองทุน ALL ROADS Series ประกอบด้วย กองทุน K-ALLRD-UI-A(A) (เปลี่ยนชื่อมาจาก K-ALLROAD-UI) , K-ALLGR-UI-A(A) (เปลี่ยนชื่อมาจาก K-ALLGROWTH-UI) และ K-ALLEN-UI-A(A) (เปลี่ยนชื่อมาจาก K-ALLENHANCE-UI) เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
หมายเหตุ: ตำแหน่งผู้บริหารเขียนทับศัพท์ภาษาไทย
นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ เอ็กซคูทีฟ แชร์แมน, ไพรเวท แบงกิ้ง กรุ๊ป ธนาคารกสิกรไทย