วช. ปลื้มผลงานนวัตกรรมเยาวชน พร้อมมอบรางวัลติดดาว 17 ผลงานเด่น นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา สร้างแรงจูงใจในกิจกรรมบ่มเพาะ ภาคกลางและตะวันออก ปี 66 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

0
599

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิดกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566ภาคกลางและภาคตะวันออก” และพิธีมอบเกียรติบัตรผลงานติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 17 ผลงาน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมฯ และมอบรางวัลฯ ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดกิจกรรมการ บ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation โดยการจัด กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมาจะเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นและแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของอาชีวศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

สำหรับรางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น เป็นต้นแบบการพัฒนาและการต่อยอดเป็นประดิษฐกรรมและนวัตกรรม สำหรับการส่งเสริมให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามทิศทางวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 17 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่

– ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
1) ผลงานเรื่อง “เครื่องผลิตเนื้อลูกสำรองพร้อมทาน” โดย วิทยาลัยเทคนิคตราด
2) ผลงานเรื่อง “Thai – Aus Green House” โดย วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
3) ผลงานเรื่อง “เครื่องปรับสภาพน้ำบ่อปิดอัตโนมัติเลี้ยงปลา” โดย โดย วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี
4) ผลงานเรื่อง “เครื่องขัดขนาดผลไม้” โดย วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว

– ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
5) ผลงานเรื่อง “ลิปมันจากแก่นฝาง” โดย วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน
6) ผลงานเรื่อง “บุกข้าวแกงคั่วสับปะรด” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
7 )ผลงานเรื่อง “ธัญพืชอัดแท่งให้พลังงานจากข้าวสังข์หยด” โดย วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน

– ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
8) ผลงานเรื่อง “SWU Account Suite” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวรการ
9) ผลงานเรื่อง “แอปพลิเคชันเกมรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์พกพาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการตอบสนองและการเคลื่อนไหวสำหรับผ็ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้พิทักษ์แห่งวัชรพรี” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี
10) ผลงานเรื่อง “ระบบตรวจสอบการสวมหมวกนิรภัยด้วยระบบการเรียนรู้เชิงลึก” โดย วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

– ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม
11) ผลงานเรื่อง “ฟิลเตอร์คอลย์ร้อนแอร์ประหยัดพลังงาน” โดย วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว
12) ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์เป่าลมเย็นจากท่อ PVC`” โดย วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
13) ผลงานเรื่อง “กล่องสะสมพลังงานสำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก

– ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
14) ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์คุกกี้รสผัดฉ่ากุ้ง” โดย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
15) ผลงานเรื่อง “ยอหยา สควีซ (สังขยาใบยอ)” โดย วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
16) ผลงานเรื่อง “ขนมหม้อแก้งถั่วขาวไข่เค็ม” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี
17) ผลงานเรื่อง “แผ่นประคบสมุนไพรพร้อมใช้” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

พร้อมนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้ด้วย

สำหรับกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566” วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดในระยะเวลา 3 วัน โดยนักเรียน นักศึกษา จากสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้ารับการอบรม จะนำเอกสารเชิงแนวคิด หรือ Concept Paper มาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ กิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation” ในครั้งต่อไปจะไปจัดขึ้นที่ภาคใต้ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นลำดับต่อไป