กสิกรไทยเดินหน้าต่อยอดธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ตั้งเป้าปี 66 เพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศต่อรายได้สุทธิเป็น 4%

0
514

ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นขยายธุรกิจในตลาด AEC+3 เพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 (A Regional Bank of Choice) อย่างต่อเนื่อง เน้นขยายธุรกิจในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา และสปป.ลาว ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ที่จะช่วยให้ลูกค้าในภูมิภาคนี้มีชีวิตที่ดีและร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค ตั้งเป้าปี 2566 เพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศต่อรายได้สุทธิเป็น 4% และมุ่งสู่การเป็น 1 ใน 20 อันดับธนาคารที่ดีที่สุดในเวียดนามและอินโดนีเซียภายในปี 2570

นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ธนาคารกสิกรไทยขยายธุรกิจในต่างประเทศ และสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์โลกที่ท้าทายและยังอยู่ในสภาวะเพิ่งฟื้นตัว โดยในปี 2565 ธนาคารสามารถส่งมอบรายได้สุทธิ (Net Total Income) ให้ธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 % และปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าท้องถิ่นในต่างประเทศถึง 2.1 ล้านรายทั่วภูมิภาค

สำหรับปี 2566 ธนาคารกสิกรไทยจะขยายธุรกิจในตลาด AEC+3 อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 (A Regional Bank of Choice) ด้วยการเดินหน้ากลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 ด้านประกอบด้วย 1) การรุกขยายสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจ 2) การขยายฐานลูกค้าที่มุ่งเน้นการใช้บริการในช่องทางดิจิทัล ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรของธนาคาร เพื่อต่อยอดสู่การเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค และ 3) การพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงบริการของธนาคารได้จำกัด ซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อดิจิทัลด้วยข้อมูลทางเลือก

ในขณะเดียวกันก็มุ่งหน้าสร้างพื้นฐานของธนาคารให้แข็งแกร่ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจใน AEC+3 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับการสร้างธนาคารกสิกรไทยให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศทั่วภูมิภาค ด้วยการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านไอทีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเชื่อมต่อกับพันธมิตรผู้ให้บริการทางการเงินในท้องถิ่น ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้าง Ecosystem เพื่อส่งมอบบริการทางการเงินที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเงินทุนเพื่อการดำเนินชีวิตหรือทำธุรกิจได้มากขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธนาคารกสิกรไทยมีความแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ตามแนวคิดการเป็น Beyond Banking ของธนาคารในระดับภูมิภาค

นายชัช เหลืองอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า สำหรับเป้าหมายและกลยุทธ์การเติบโตของธนาคารกสิกรไทย ในปี 2566 ซึ่งเป็นปีแห่งโอกาสในการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน ธนาคารกสิกรไทยจึงขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 (A Regional Bank of Choice) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นขยายธุรกิจในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา และสปป.ลาว ด้วยยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง รวมทั้งบริการที่มากกว่าบริการธนาคาร (Beyond Banking) จากการประสานศักยภาพทางเทคโนโลยีและพันธมิตร เพื่อการพัฒนาบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าในภูมิภาคนี้มีชีวิตที่ดี พร้อมร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายสำคัญในประเทศยุทธศาสตร์ ดังนี้

การดำเนินธุรกิจยังคงมุ่งเน้นไปที่ประเทศจีน และ AEC โดยในประเทศจีน ธนาคารกสิกรไทยในฐานะธนาคารท้องถิ่นในประเทศจีน มุ่งมั่นที่จะส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าด้วยแนวคิด “Better Me และ Better SMEs” ด้วยการช่วยให้ลูกค้าท้องถิ่นในจีน เข้าถึงสินเชื่อเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาชีวิตและธุรกิจ สำหรับการดูแลลูกค้าท้องถิ่นในประเทศกลุ่ม AEC ทั้งใน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ธนาคารจะมุ่งเน้นการพัฒนาบริการทางการเงินบนดิจิทัล (Digital Financial Product & Service) ที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าบุคคลได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการธนาคารได้มากขึ้น นอกจากนี้ ในมุมการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจในภูมิภาค ธนาคารจะเพิ่มการเชื่อมต่อเครือข่ายลูกค้าธุรกิจระหว่าง ไทย จีน และ AEC ให้มากยิ่งขึ้น (AEC Connectivity) เพื่อสร้าง Cross Border Value Chain ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้

สำหรับประเทศเวียดนาม เป็นหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์สำคัญ ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตถึง 8.02% ในปี 2565 เป็นการขยายตัวที่เร็วที่สุดในรอบ 25 ปี โดยธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปให้บริการในเวียดนาม ด้วยการสร้าง Digital Lifestyle Solution ผ่านการใช้งาน K PLUS Vietnam เป็นแกนหลัก ซึ่งจากการให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบันในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ใช้งานถึง 400,000 ราย นอกจากนี้ยังเพิ่มการขยายฐานพันธมิตรท้องถิ่น ผ่านการลงทุนของบริษัท KVision ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทดาวรุ่งที่เวียดนามในหลากหลายธุรกิจ อาทิ Seedcom กลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของเวียดนาม เพื่อขยายบริการด้านการเงินและ Selly สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเซียลคอมเมิร์ซ เป็นต้น โดยธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาเพื่อไปสู่การเป็นผู้ให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ (Transactional Ecosystem) ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มในเวียดนาม ทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัทขนาดกลาง กลุ่มค้าปลีก และลูกค้ารายย่อย ตั้งเป้าหมายในปี 2566 จะมีลูกค้าบุคคลเวียดนาม 1.3 ล้านราย และตั้งเป้าจะเติบโตเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรก (Top 20 Bank in Asset Size) ในประเทศเวียดนาม ภายในปี 2570

นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศที่มีศักยภาพสูง ด้วยจำนวนประชากร 270 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ธนาคารกสิกรไทยจึงเดินหน้าการทำธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย โดยปลายปี 2565 ธนาคารได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยนเป็น 67.5 % ส่งผลให้ธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุม (Controlling Shareholder) ในธนาคารแมสเปี้ยน โดยการดำเนินงานต่อจากนี้ ธนาคารจะเน้นการทำ Transformation โดยนำประสบการณ์ ความพร้อม และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจธนาคารที่มีมายาวนาน ทั้งธนาคารแมสเปี้ยนที่เชี่ยวชาญเรื่องความต้องการของคนในท้องถิ่น และธนาคารกสิกรไทยที่มีความชำนาญเรื่องบริการด้านดิจิทัลแบงกิ้ง มาประยุกต์ ต่อยอด และพัฒนาบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ธนาคารแมสเปี้ยนเติบโตเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดใน East Java และพร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในระยะยาวต่อไป ผ่านการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate) กลุ่มธุรกิจขนาดกลาง (Commercial) และกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail) เพื่อเป็น 1 ใน 20 ธนาคาร ที่ปล่อยสินเชื่อมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซียในปี 2570

นายชัชกล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารกสิกรไทยได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยและความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางการเงินของ KASIKORN Business Technology Group (KBTG) พัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการทั้งในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพื่อตอกย้ำถึงยุทธศาสตร์ในการบริการที่มากกว่าแค่ธนาคาร (Beyond Banking) แห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการทำงานของทีมงานในทุกประเทศเพื่อผลักดันองค์กรให้เป็นพื้นที่แห่งการเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด (World of Borderless Growth) สำหรับคนทำงานอย่างแท้จริง ด้วยการสนับสนุนทรัพยากรและรูปแบบการดำเนินงานให้กับทีมงาน มุ่งไปสู่เป้าหมายที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องและพร้อมรับความท้าทายในระดับภูมิภาค โดยธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าหมายปี 2566 ธนาคารจะมียอดรายได้จากธุรกิจต่างประเทศเป็น 4% ของรายได้สุทธิ (เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.5% ในปี 2565) และเดินหน้าสู่การเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ภายในปี 2570

KBank expands its reach within AEC+3 region, advancing its strategic directions via digital banking solutions – targeting increase of its international business income to net income to 4 percent in 2023

Setting its sights on becoming A Regional Bank of Choice, KASIKORNBANK (KBank) is determined to penetrate the AEC+3 market, focusing primarily on China, Vietnam, Indonesia, Cambodia and Lao PDR. The Bank has advanced its strategic directions via its digital banking solutions in order to empower every customer’s life and business, while contributing to regional economic growth. KBank aims to increase its international business income to net income to 4 percent as it aspires to be among the top 20 banks in Vietnam and Indonesia within 2027.
Mr. Pattarapong Kanhasuwan, KBank Executive Vice President, said, “Over the past year, KBank expanded our international business in earnest as evidenced by our rapid growth amid numerous challenges as the global economy began to emerge from the doldrums. In 2022, the Bank’s net total income rose to 2.5 percent. Meanwhile, the number of local customers across the region now totals 2.1 million.”
For 2023, the Bank will continue to expand its reach within the AEC+3 market as it aims to become A Regional Bank of Choice. KBank’s regional operations are governed by three key strategies, including 1) Aggressive Play: aggressive expansion in corporate lending; 2) Mass Acquisition Play: expansion of the customer base through digital channels in collaboration with the Bank’s partners, with the ultimate goal of becoming a regional payment platform; and 3) Disruptive Play: development of new products to serve customers with limited access to bank services (the underbanked), a substantial customer base in this region. Specifically, these new products are digital lending with alternative data.
At the same time, KBank prioritizes strengthening its foundation for enhanced efficiency and effectiveness in business operations within AEC+3. In order to make its presence felt across the region while also promoting its trustworthy brand, KBank has broadened its infrastructure and IT personnel in order to develop digital products and services in alignment with market demand for the customers’ optimum benefit. The Bank has also fostered partnerships with local financial service providers, reinforcing its determination in creating an ecosystem that promotes financial inclusion to ensure that customers can gain improved access to funding sources for the betterment of their quality of life and their businesses. These endeavors are instrumental in differentiating KBank from its peers as it strives to be a regional bank that goes beyond banking.
Mr. Chat Luangarpa, KBank Executive Vice President, said, “In alignment with KBank’s growth target and strategy for 2023, which presents ample opportunity for growth within ASEAN, KBank is setting its sights on becoming A Regional Bank of Choice within AEC+3, with focus on expanding businesses in China, Vietnam, Indonesia, Cambodia and Lao PDR through digital banking and beyond banking solutions. This will be achieved by enhancing its technological capabilities and collaboration with partners for service development to improve the quality of life of customers in the region while helping advance the regional economy.” KBank has mapped out its business operational guidelines and key growth targets in strategic countries, as follows:

KBank continues to focus on China and the AEC. In China, KBank, as a locally incorporated institution, aims to deliver the value proposition for its customers through the “Better Me and Better SMEs” concept by helping local customers gain easier access to loans so that they have the opportunity to improve their livelihood and business. For customers in the AEC, including Lao PDR, Cambodia, Vietnam and Indonesia, KBank will focus on developing digital financial products and services that meet their diverse needs. Greater convenience will be offered to retail customers so that they can gain easier access to banking services. To support business customers in the AEC+3, KBank will strengthen AEC connectivity to create a cross-border value chain that will assist customers in growing their business opportunities.

For Vietnam, which is one of KBank’s strategic countries, given its impressive and fastest economic growth in 25 years at 8.02 percent, KBank has launched digital lifestyle solutions via K PLUS Vietnam, which attracted up to 400,000 users from March 2021 to February 2022. Additionally, KBank has formed partnerships with more local partners via KVision’s investment in rising-star startups in numerous businesses such as Seedcom, Vietnam’s leading retailer, with the aim of expanding financial services, and Selly, a social commerce platform service provider. KBank will also press ahead with its development to become a full-fledged financial service provider in the transactional ecosystem, covering all customer segments in Vietnam, including corporate, medium-size and retail customers. KBank aims to attract 1.3 million retail customers in 2023 and become a top 20 bank by asset size in Vietnam within 2027.
Indonesia is another high-potential market with its population of 270 million – the most populous economy in ASEAN and the world’s fourth-largest.. KBank therefore aims to advance its business operations in Indonesia. At the end of 2022, the Bank had increased its total shareholding in Bank Maspion to 67.5 percent, leading KBank to become the controlling shareholder of Bank Maspion. Further to this accomplishment, KBank will prioritize transformation with the use of its long-term experience and leadership in digital banking services, together with Bank Maspion’s local banking expertise. The focus is to drive Bank Maspion to become the largest bank in East Java in order to accommodate Indonesia’s long-term economic growth. In doing so, Bank Maspion has pursued multifaceted strategies in three different customer segments, including corporate/large businesses (Corporate), medium-sized businesses (Commercial) and retail customers (Retail), aiming to be among the top 20 banks having the largest loan portfolios in Indonesia by 2027.
Mr. Chat added that KBank has strengthened its digital banking with the adoption of cutting-edge technology and financial innovations of KASIKORN Business Technology Group (KBTG) for the development of financial service offerings in China, Vietnam, Indonesia and other regional countries. The move is meant to reinforce its business strategies that go beyond banking in the AEC+3 region. Additionally, the Bank is determined to improve work processes at its overseas branches to drive the organization under the World of Borderless Growth concept. All working teams will be supported with ample resources and operational models to achieve steady growth amid challenges in the regional economies. For its 2023 targets, KBank aims to earn revenue from international business at 4 percent of net income (increasing from 2.5 percent in 2022), gearing up to become one of the 20 best banks in Vietnam and Indonesia by 2027.