บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดตัวแผนประกันสุขภาพ “พรู เบาหวาน เบาใจ” (PRUNo Worries Diabetes) มอบความคุ้มครองที่ครอบคลุมในการดูแลกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ความคุ้มครองชีวิตที่เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย, การรักษาที่มีผลสืบเนื่องมาจากเบาหวาน รวมถึงความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต โรคร้ายแรง หรือมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งให้ความคุ้มครองจนถึงอายุ 70 ปี โดยผู้ซื้อแผนประกันสามารถเลือกชำระได้ทั้งแบบรายเดือนและรายปีการออกแผนประกันสุขภาพ “พรู เบาหวาน เบาใจ” (PRUNo Worries Diabetes) แสดงถึงความมุ่งมั่นของ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่พยายามออกแบบแผนประกันต่างๆ ให้เข้าถึงคนหลากหลายกลุ่ม ในราคาที่เข้าถึงได้ หลังพบว่า สถิติของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านคน แต่ได้รับการดูแลรักษาเพียง 2.6 ล้านคน และ คาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงถึง 5.3 ล้านคน ในปี 2583 ซึ่ง พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ต้องการออกแผนประกันนี้มาเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้วยผลประโยชน์ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลที่มีผลสืบเนื่องมาจากโรคเบาหวานโดยเฉพาะ นอกจากนั้น บริษัทจึงถือโอกาสนี้ เปิดตัวแผนประกันสุขภาพ “พรู เบาหวาน เบาใจ” (PRUNo Worries Diabetes) เนื่องในวันเบาหวานโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงโรคเบาหวาน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
แผนประกันสุขภาพ “พรู เบาหวาน เบาใจ” (PRUNo Worries Diabetes) เหมาะสำหรับ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และ ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน โดยมีอายุรับประกันตั้งแต่ 30-65 ปี ให้ความคุ้มครองเมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงหรือมะเร็งระยะลุกลาม รับเงินก้อนสูงสุด 500,000 บาท ผู้ที่สนใจไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/health/pruno-worries-diabetes/
####
เกี่ยวกับพรูเด็นเชียล ประเทศไทย
พรูเด็นเชียลได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี ภายใต้ชื่อ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 1.8 ล้านราย ในประเทศไทย และบริหารสินทรัพย์ให้แก่ลูกค้ามูลค่ากว่า 116 พันล้านบาท ในปีพ.ศ. 2564 พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มีผลกำไรจากการดำเนินงานตามมาตรฐานบัญชี IFRS และเบี้ยประกันภัยรับปีแรกแบบคำนวณรายปี (APE) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 สู่ระดับ 236 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 218 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ (ตัวเลข ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564)