เคทีซีโชว์กำไรสุทธิ 9 เดือน 5,414 ล้านบาท พอใจธุรกิจหลักขยายตัวชัด มุ่งขยายฐานสมาชิกคุณภาพ สร้างคุณค่าทุกการใช้จ่าย

0
810

เคทีซีเดินเกมรุกหลังการปลดล็อคประเทศ และการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐเพื่อกระตุ้นการบริโภค ส่งผลตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในธุรกิจหลักเป็นบวกตามเป้าหมาย โดยงบการเงินรวม 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 5,414 ล้านบาท และกำไรสุทธิไตรมาส 3/2565 อยู่ที่ 1,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2564 เท่ากับ 16.9% และ 34.6% ตามลำดับ มูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวม 9 เดือนขยายตัว 11.5% อยู่ที่ 97,016 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 9 เดือนโต 22.7% อยู่ที่ 169,033 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างความเชื่อมั่นผ่านการขยายฐานสมาชิกใหม่เข้าพอร์ตทุกธุรกิจ และการรักษาฐานสมาชิกเดิมด้วยกิจกรรมการตลาดที่ตรงกับความต้องการ เน้นพอร์ตลูกหนี้โตอย่างมีคุณภาพเป็นสำคัญ คาดสิ้นปีพอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท และมีประมาณการกำไรปี 2565 ที่สูงกว่าปีก่อนหน้า

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการทยอยเปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งการที่ไทยเปิดประเทศสู่สภาวะปกติ ความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมการตลาดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคัก ต่อเนื่องถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคขยับตัวสูงขึ้น ประชาชนมีกำลังซื้อและกล้าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เคทีซียังคงติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้ภาคครัวเรือนและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง”

“ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลระดับอุตสาหกรรมกลับมาเติบโตดี จากยอดลูกหนี้บัตรเครดิตและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมที่เพิ่มขึ้น โดยเคทีซีมีสัดส่วนลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรม 13.9% สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรม 3.9% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 22.3% (อุตสาหกรรมโต 24.1%) และมีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับ 11.8%”

“ไตรมาส 3 ของปีนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ดีของเคทีซี เนื่องจากพอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเติบโตได้สูงกว่าประมาณการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 สามารถขยายตัวอยู่ที่ 16.6% และ 7.9% ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่สูงขึ้นต่อเนื่องอย่างชัดเจน โดยยอดใช้จ่าย 9 เดือนขยายตัว 22.7% อยู่ที่ 169,033 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2565 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีจะเติบโตมากกว่า 15% แม้ว่าจะยังคงเป้าหมายไว้ที่ 10% สำหรับธุรกิจสินเชื่อบุคคล เชื่อว่าสิ้นปีจะสามารถเติบโตได้ 7% ตามเป้าหมาย ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อ เคทีซี พี่เบิ้ม และกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง มีกระแสตอบรับที่ดี แม้ตัวเลขจะยังไม่เป็นไปตามที่ประเมิน โดยจะเร่งประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าและเพิ่มอัตราการขยายตัว โดยคาดว่าสิ้นปี 2565 มูลค่าพอร์ตลูกหนี้จะอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”

“ผลการดำเนินงานของเคทีซีในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 งบการเงินรวม มีกำไรสุทธิ 9 เดือน 5,414 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.9%) และไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 1,773 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 34.6%) งบการเงินเฉพาะกิจการ มีกำไรสุทธิ 9 เดือน 5,421 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.0%) และ

ไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 1,800 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 35.7%) ฐานสมาชิกรวม 3,269,027 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 97,016 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11.5%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 2.0% แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,534,226 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 63,558 ล้านบาท NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 734,801 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 31,524 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% และพอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 1,934 ล้านบาท ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง (KTBL) เท่ากับ 804 ล้านบาท NPL ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอยู่ที่ 11.1%”

“เคทีซียังคงให้ความสำคัญในการรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ โดยจะบริหารการตั้งสำรองและการตัดหนี้สูญให้เป็นไปตามลักษณะของพอร์ตที่ควรจะเป็น เมื่อมีการขยายพอร์ตสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทำให้ในไตรมาส 3/2565 มีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นขยายตัว 22.9% จากไตรมาส 2/2565 แต่ลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 สำหรับรายได้รวมในไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 5,887 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.7% จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น 8.5% และ 30.6% ตามลำดับ และหนี้สูญได้รับคืนจำนวน 857 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.0%) ในขณะที่รายได้รวม 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 16,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% ในส่วนของค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 3,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% จากค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เพิ่มขึ้น 11.3% ขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและต้นทุนทางการเงินลดลง 1.2% และ 0.5% ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายรวม 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 10,215 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2%”

“ทั้งนี้ เคทีซีมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับ 9 เดือนเท่ากับ 12.4% และไตรมาส 3/2565 มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 13.1% เงินกู้ยืมทั้งสิ้น 57,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.9% เป็นโครงสร้างแหล่งเงินทุนจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยาวในสัดส่วน 28% ต่อ 72% โดยมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 23,899 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.4% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.1 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“สำหรับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ราวต้นเดือนมกราคม 2566 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสำหรับรถยนต์ใหม่ ไม่เกินอัตรา 10% ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ไม่เกินอัตรา 23% ต่อปี ซึ่งเป็นการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเช่าซื้อให้คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) แบบลดต้นลดดอกนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเคทีซี เนื่องจากธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” เกือบทั้งหมด เป็นการปล่อยสินเชื่อในลักษณะของการจำนำทะเบียนรถ ทั้งนี้ สินเชื่อตามสัญญาเช่าในส่วนของกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) มีการให้สินเชื่อเช่าซื้อรายย่อยอยู่บ้างแต่มีมูลค่าน้อยมาก จึงมีผลกระทบเพียงจำนวนจำกัด อย่างไรก็ตาม ด้วยผลของประกาศดังกล่าว พอร์ตเช่าซื้อในส่วนนี้คงจะเติบโตได้ช้าลง ในขณะที่ KTBL จะคงการปล่อยสินเชื่อในลักษณะของ Commercial Loan มากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม”

“นอกจากนี้ เคทีซียังคงดำเนินการเพื่อแบ่งเบาภาระสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะตามประกาศ ธปท. ฝนส.2 ว.802/2564 คงเหลือจำนวน 2,136 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.26% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

KTC posts 9-month net profit of 5,414 million baht
with clearly expanding main businesses and continued focus on
enlarging quality membership base and creating value for every spending.

KTC went on offensive after the country relaxed restrictions and the public sector boosted economic activities to stimulate consumption. As a result, operating results of its main businesses turned positive as targeted. The consolidated financial statement posts 9-month net profit of 5,414 million baht and Q32022 net profit of 1,773 million baht, up 16.9% and 34.6% respectively as compared to the same periods in 2021. Over 9-month period, the total portfolio grew 11.5% to 97,016 million baht, and total credit card spending grew 22.7% to 169,033 million baht. The Company pursued confidence-building strategy by expanding new membership base in every business portfolio, maintaining existing membership base with targeted marketing activities, and placing emphasis on quality growth of receivable portfolio. It is expected that total portfolio will reach a value of more than 100,000 million baht, and the estimated profit in 2022 is higher than last year.

Mr. Rathian Srimongkol, President and Chief Executive Officer of “KTC” or Krungthai Card Public Company Limited, stated that “overall domestic economy has been on a steadily upward trend after gradual reopening of many countries throughout the world. Thailand has reopened and restored business as usual as well. As public and private sectors collaboratively conducted marketing activities and pursued economic stimulus measures, our economy became bustling again, resulting in a higher consumer confidence index. So, now people have purchasing power and dare to spend. However, KTC is still monitoring the situation closely because economic expansion is still fragile due to rising cost of living and household debts as well as a high inflation rate.”

“Over the past eight months, the growth of credit card and personal loan businesses has returned as credit card receivables and total volume of credit card spending went up. KTC’s credit card and personal loan receivables accounted for 13.9% and 3.9% of the industry respectively. Our credit card spending increased 22.3% (vs industry growth of 24.1%), and we gained a market share of 11.8%.”

“The third quarter this year was an outstanding period of KTC because the growth of credit card and personal loan portfolios exceeded estimates. When compared to the same period in 2021, credit card and personal loan portfolios expanded 16.6% and 7.9% respectively. Notably, the volume of credit card spending showed a consistent growth path.”

“Over 9-month period, total spending went up 22.7% to 169,033 million baht. So, it is expected that by the end of 2022 KTC’s credit card spending will grow more than 15%. Even though the growth target of credit card spending remains at 10%. For personal loan business, we believe that its growth will reach 7% as targeted. Meanwhile, KTC’s loan businesses, P-BERM and KTB Leasing, could generate positive responses, though the figures didn’t meet expectations. Therefore, we’ll expedite cooperation with every sector to increase number of customers and boost growth rate. It is expected that by the end of 2022 the value of receivable portfolio will reach 1,000 million baht. As for NPL ratio, it is still at a satisfactory level.”

“As for 9-month operating results (as at September 30, 2022), compared to the same period in 2021, KTC’s consolidated financial statement showed 9-month net profit of 5,414 million baht (up 16.9%), and in Q32022 net profit amounted to 1,773 million baht (up 34.6%). The separate financial statement showed 9-month net profit of 5,421 million baht (up 17.0%), and in Q32022 net profit amounted to 1,800 million baht (up 35.7%). Overall membership base totaled 3,269,027 accounts while loans to credit card customers and accrued interest receivables totaled 97,016 million baht (up 11.5%). The NPL ratio was 2.0%, comprising credit card membership portfolio totaling 2,534,226 cards and loans to credit card customers and accrued interest receivables totaling 63,558 million baht. Credit card NPL ratio was at 1.2%. KTC’s personal loan portfolio totaled 734,801 accounts while loans to personal loan customers and accrued interest receivables totaled 31,524 million baht. The personal loan NPL was at 3.0%, and finance lease receivables portfolio amounted to 1,934 million baht. Total new booking of KTC P-BERM and KTB Leasing (KTBL) amounted to 804 million baht. Finance lease NPL ratio was at 11.1%.”

“KTC remained focused on maintaining the quality of loan portfolios by managing provisioning and bad debt write-off, based on ideal portfolio characteristics, after loan portfolios have expanded. In Q32022, expected credit losses increased 22.9% as compared to Q22022 but declined 1.2% as compared to Q32021. Total revenue in Q32022 amounted to 5,887 million baht, an increase of 14.7% from the same period last year. Such increase was attributed to interest income and fee income that went up 8.5% and 30.6% respectively and recovered bad debts totaling 857 million baht (up 17.0%). Meanwhile, 9-month total revenue this year amounted to at 16,978 million baht, up 6.6%. Total expenses in Q32022 amounted to 3,676 million baht, up 5.5%, due to 11.3% increase of administrative expenses and 1.2% and 0.5% decrease of expected credit losses and cost of fund respectively. Total 9-month expenses this year amounted to 10,215 million baht, up 1.2%.”

“KTC had an Net interest margin of 12.4% in the first 9-month period. In Q32022, Net interest margin was 13.1%, and total borrowing amounted to 57,137 million baht, up 12.9%. The source of fund was made up of 28% of short-term borrowing and 72% of long-term borrowings respectively. Available credit line amounted to 23,899 million baht. Cost of fund was 2.4%, and debt to equity ratio was 2.1 times, which was lower than covenant of 10 times.”

“With regard to the Committee on Contracts’ Notification Re: Classification of Automobile and Motorcycle Hire Purchase Businesses as Contract-Controlled Business 2022, this notification, which will put into effect in early January 2023, set a ceiling of hire purchase interest rates for new automobile, used automobile and motorcycle at 10%, 15% and 23% per year. Such control on hire purchase interest rates that requires charging interest at an effective interest rate will not affect KTC’s business operations because most of P-BERM portfolio is made up of car title loans. As for KTB Leasing (KTBL), there are some hire purchase loans granted to retail customers, but loan value is quite small. Hence, the impacts are quite limited. Due to this notification, this portion of hire purchase portfolio will grow at a slower rate. Meanwhile, KTBL will continue to provide more commercial loans, which are primarily loans for heavy-duty industrial trucks.”

“Furthermore, KTC still also continued to ease burdens of members being affected by the spread of COVID-19 transmission. KTC has been providing assistance to debtors of all credit standings as stipulated in the BOT’s Notification No. BOT.RPD2.C.802/2564, and as at September 2022, the remaining amount was only 2,136 million baht, accounting for 2.26% of total receivable portfolio.”