ฉลอง 15 ปี DEmark อย่างยิ่งใหญ่ พาณิชย์มอบรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2565 พร้อมเปิดตัวผู้ชนะรางวัล DEmark Grand Prix เชิดชูเกียรติ SMEs ไทย นำการออกแบบสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสู่สากล

0
966

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีมอบรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2565 (Design Excellence Award 2022) หรือ รางวัล DEmark เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ประกอบการและนักออกแบบไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบดีเด่น ในสาขาต่างๆ ในปีนี้ จำนวน 90 รายการ และเปิดตัวรางวัลพิเศษ DEmark Grand Prix ในวาระครบรอบ 15 ปีของรางวัล DEmark โดยมอบรางวัลให้กับผลงานที่โด่ดเด่นด้านการออกแบบ 11 รายการ ที่สามารถสะท้อนคุณค่าในหลากหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จของงานออกแบบไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ยกระดับสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายผ่านเครื่องหมายรับรอง DEmark ใบเบิกทางสู่ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “โครงการ DEmark ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้า ตลอดจนให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยความพร้อมและความมั่นใจ กรมมีความยินดีที่ได้เห็นความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการ นักออกแบบ เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัล DEmark 2022 และรางวัลพิเศษ DEmark Grand Prix ในปีนี้ ”
รางวัล DEmark 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Step forward to the future of impactful Design ดีไซน์ก้าวหน้า สู่สิ่งใหม่” เฟ้นหาผลงานสร้างสรรค์ที่สะท้อนคุณค่าของงานออกแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และวิถีแห่งอนาคตด้วยพลังของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เพื่อยกระดับสินค้าและบริการของไทยได้ก้าวขึ้นอีกขั้น โดยในปีนี้ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด กว่า 500 ผลงานทั่วประเทศ ครอบคลุม 7 ประเภทอุตสาหกรรมการออกแบบ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในเวทีโลก ได้แก่ กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล กลุ่มผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มผลงานกราฟิกดีไซน์ และกลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายใน โดยมีผลงานที่ผ่านคุณสมบัติผู้สมัคร 405 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัลด้านการออกแบบในสาขาต่างๆ ในปีนี้ จำนวน 90 รายการ
ในภาพรวมแนวโน้มของสินค้าและการออกแบบไทยมุ่งพัฒนาไปในด้านการออกแบบเพื่อความยั่งยืนที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Design for Sustainability) มีการนำเอา Soft Power ของประเทศ เช่น วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทยมาสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า รวมทั้งการนำ Smart Technology มาผสมผสานเพื่อยกระดับมาตรฐานงานออกแบบไปอีกขั้น โดยผลงานการออกแบบไทยที่น่าสนใจที่คว้ารางวัล DEmark ในปีนี้ ได้แก่ รถมอเตอร์ไซต์ EV แบรนด์ Stallions ออกแบบโดย dots studio ผลงานเก้าอี้นั่งพื้น BAI-FERN Chair แบรนด์โยธกา ที่นำจุดเด่นเทคนิคสานสร้างคุณค่าให้เก้าอี้สำหรับนั่งพื้น ผลงานชุดสมุดและปากกาอัจฉริยะ (ZEQUENZ Smart Set) ที่สามารถส่งข้อความหรือภาพวาดจากสมุดสู่หน้าจอมือถือได้ด้วยเทคโนโลยี Ncode ผลงานการออกแบบตกแต่งภายในร้านอาหารข้าวใหม่ปลามัน โดย หจก.กรกต อินเตอร์เนชั่นนอล ที่นำเทคนิคการผูกและมัดแบบเงื่อนชาวประมง ใช้แนวคิด BCG ผสานภูมิปัญญาการออกแบบช่วยเหลือชุมชนให้มีอาชีพ ผลงานโปสการ์ดพยัญชนะไทย โดยบริษัท อังกูร ออกแบบ สิ่งของ จำกัด การออกแบบพยัญชนะ 44 ตัว ในรูปแบบโปสการ์ดที่ส่งเสริมความเป็นไทยและส่งออกศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในรูปของงานดีไซน์ ผลงานบรรจุภัณฑ์นมแบรนด์แดรี่โฮม ที่มีรูปทรงคล้ายเหยือกที่ตั้งได้และสามารถรินนมได้หมดจนหยดสุดท้าย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามผลงานของผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ ทั้ง 7 ประเภทรางวัล รวม 90 ผลงาน ผ่านเว็บไซต์demarkaward.net

ในวาระครบรอบ 15 ปี ของรางวัล DEmark จึงได้เพิ่มรางวัลพิเศษ “DEmark Grand Prix” เป็นรางวัลเกียรติยศมอบให้ผู้ประกอบการ/นักออกแบบที่ได้รับรางวัล DEmark ที่ผ่านมาที่สามารถแสดงผลลัพธ์ การออกแบบที่โดดเด่นหลากมิติ ทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจ ความรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยรางวัล“DEmark Grand Prix” มุ่งเน้นการสร้างต้นแบบแห่งความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพของงานออกแบบไทยสู่การยอมรับในระดับสากล และมีผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัล DEmark Grand Prix จำนวน 11 รายการ ได้แก่

1. บรรจุภัณฑ์ข้าว SRISANGDAO RICE (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท พร้อม ดีไซน์ เอเชีย จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท ศรีแสงดาว ไรซ์ จำกัด
2. โคมไฟ UP LAMP (DEmark winner 2010)
ออกแบบโดย : นายนครินทร์ คําสีลา/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด
3. ผลงานออกแบบ CHOUI FONG TEA CAFE’ (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท สถาปนิก ไอดิน จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท ชาฉุยฟง จำกัด
4. เสื้อผ้าคอลเลคชั่น RE-PLEATS-PLASTIC : PHA KHAO MA (DEmark winner 2021)
ออกแบบโดย : ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์
5. เก้าอี้ S MOOD (DEmark winner 2011)
ออกแบบโดย : นายอภิรัฐ บุญเรืองถาวร/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท พลัสเซนส์ จำกัด
6. ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. โรงแรมศาลาบางปะอิน (DEmark winner 2021)
ออกแบบโดย : บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท เดอะ ศาลา กรุ๊ป จำกัด
8. ของเล่นสนามจินตนาการ BLIXPOP PLAYGROUND FOR ALL (DEmark winner 2018)
ออกแบบโดย : นางสาวณัชชา โรจน์วิโรจน์/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท บลิกซ์ พ็อพ จำกัด
9. อาสาฟาร์มสเตย์ (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท รุ่งรักษ์จัน จำกัด.
10. ป้าแพร่ง (DEmark winner 2021)
ออกแบบโดย : บริษัท สถาปนิก ไอดิน จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์ : ป้าแพร่ง อาร์ตโอสเทล
11. กล่องอาหารเพื่อคนทุกวัย (DEmark winner 2018)
ออกแบบโดย : นางสาวภาวิณี แว่วเสียงสังข์/ เจ้าของผลิตภัณฑ์ : บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำกัด

“สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ริเริ่มรางวัล DEmark ตั้งแต่ปี 2551 และจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 15 ปี นับว่าประสบความสำเร็จในการผลักดันผลงานออกแบบไทยออกสู่สายตาของผู้บริโภคในตลาดสากลมาได้อย่างต่อเนื่อง
มีผลงานที่ได้รับรางวัล DEmark จำนวนทั้งสิ้น 1,081 รายการจากผู้สมัครกว่า 6,358 รายการ และเมื่อเปรียบเทียบจากในช่วงปีแรก (ปี 2551 – 2555) มีผู้สมัครเฉลี่ยปีละ 171-338 รายการ มีผู้ได้รับรางวัล 18-77 รายการ และในช่วง 5 ที่ผ่านมา (ปี 2561 – 2565) มีผู้สนใจสมัครเฉลี่ยปีละ 480-500 รายการ และมีผู้ได้รับรางวัล 61-90 รายการ จะเห็นได้ว่านักออกแบบและผู้ส่งออกเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันรางวัล DEmark ได้พัฒนารางวัล โดยเพิ่มสาขารางวัลให้สอดคล้องตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมการออกแบบ ที่เปลี่ยนแปลงของโลก เช่น ในปี 2556 ได้ริเริ่มสาขารางวัลกราฟิกดีไซน์ และในปี 2562 ได้เริ่มสาขารางวัล ผลงานออกแบบตกแต่งภายใน โดยสาขาที่มีผู้สมัครสูงสุดและมีผู้ได้รับรางวัลสูงสุด คือ กลุ่มผลงานออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) ผู้ได้รับรางวัล 335 รายการ รองลงมาเป็นสาขาเฟอร์นิเจอร์ (Furniture) 192 รายการ และกลุ่มผลงานออกแบบอุตสาหกรรมและดิจิทัล Industrial 147 รายการ” น.ส.ประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวเสริม
รางวัล Design Excellence Award หรือ DEmark เป็นเวทีคัดเลือกผลงานออกแบบระดับประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและนักออกแบบมืออาชีพส่งผลงานเข้าประกวด มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและผลงานการออกแบบใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อยกระดับมาตรฐานการออกแบบจากประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยทุกปีจะมีการเฟ้นหาสินค้าไทยที่มีการออกแบบดีเป็นผลงานที่โดดเด่นส่งต่อไปสู่รางวัล Good Design Award หรือ รางวัล G-mark ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรางวัลด้านการออกแบบที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จัดโดย Japan Institute of Design Promotion (JDP) ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ให้ความร่วมมืออย่างดีมาโดยตลอด และตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ได้ดำเนินโครงการมา มีผลงาน DEmark ที่ได้รับรางวัล G-mark แล้วจำนวนทั้งสิ้น 503 รายการ โดยล่าสุดในปีนี้ มีผลงานการออกแบบไทยที่ได้รับรางวัล G-Mark 2022 จำนวน 18 รายการ นอกจากนี้ผลงานออกแบบโลโก้และอัตลักษณ์ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ออกแบบโดย TNOP DESIGN ยังไปคว้ารางวัล G Mark Best 100 จากประเทศญี่ปุ่นกรมฯ ได้ขยายความร่วมมือในระดับสากล โดยได้รับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากรางวัลในต่างประเทศเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสิน DEmark จากผู้จัดรางวัล Golden Pin Design Award ไต้หวัน และรางวัล Hongkong Smart Design Awards ฮ่องกง เพื่อจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก

สำหรับผู้ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark เครื่องหมายรับรองจากภาครัฐที่ช่วยในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ สร้างการยอมรับแก่ผู้บริโภคในด้านคุณภาพและมาตรฐานการออกแบบสินค้าในระดับสากลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการโฆษณาในสื่อชั้นนำระดับโลกต่างๆ รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark จะได้เข้ารอบ 2 ของการประกวดรางวัล G-Mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันที นอกจากนี้ยังได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์และโอกาสทางการค้าในเวทีสำคัญด้านการออกแบบระดับโลก เช่น งาน Milan Design Week อิตาลี Good Design Show ญี่ปุ่น เป็นต้น

ติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook page: DEmark Thailand และทางwww.demarkaward.net สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรงพาณิชย์ โทร 061- 032 6594, 082-954 5965 หรือ 02-507 8278 Email: demark@demarkaward.net

ผลงานการออกแบบไทยที่น่าสนใจที่ได้รับรางวัล DEmark 2022

รถมอเตอร์ไซต์ EV แบรนด์ Stallions ออกแบบโดย dots studio

ผลงานเก้าอี้นั่งพื้น BAI-FERN Chair แบรนด์โยธกา ที่นำจุดเด่นเทคนิคสานสร้างคุณค่าให้เก้าอี้สำหรับนั่งพื้น

ผลงานชุดสมุดและปากกาอัจฉริยะ (ZEQUENZ Smart Set) ที่สามารถส่งข้อความหรือภาพวาดจากสมุดสู่หน้าจอมือถือ
ได้ด้วยเทคโนโลยี Ncode

ผลงานโปสการ์ดพยัญชนะไทย โดยบริษัท อังกูร ออกแบบ สิ่งของ จำกัด การออกแบบพยัญชนะ 44 ตัว ในรูปแบบโปสการ์ด
ที่ส่งเสริมความเป็นไทยและส่งออกศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในรูปของงานดีไซน์

ผลงานบรรจุภัณฑ์นม แบรนด์แดรี่โฮม ที่มีรูปทรงคล้ายเหยือกที่ตั้งได้และสามารถรินนมได้หมดจนหยดสุดท้าย

ผลงานการออกแบบตกแต่งภายในร้านอาหารข้าวใหม่ปลามัน โดย หจก.กรกต อินเตอร์เนชั่นนอล ที่นำเทคนิคการผูกและมัด
แบบเงื่อนชาวประมง ใช้แนวคิด BCG ผสานภูมิปัญญาการออกแบบช่วยเหลือชุมชนให้มีอาชีพ เครดิตภาพถ่ายจาก Me Style

ตัวอย่างผลงานที่ได้รับรางวัล “DEmark Grand Prix”

1. บรรจุภัณฑ์ข้าว SRISANGDAO RICE (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท พร้อม ดีไซน์ เอเชีย จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท ศรีแสงดาว ไรซ์ จำกัด

2. โคมไฟ UP LAMP (DEmark winner 2010)
ออกแบบโดย : นายนครินทร์ คําสีลา/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด

3. ผลงานออกแบบ CHOUI FONG TEA CAFE’ (DEmark winner 2020)
ออกแบบโดย : บริษัท สถาปนิก ไอดิน จำกัด/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท ชาฉุยฟง จำกัด

4. เสื้อผ้าคอลเลคชั่น RE-PLEATS-PLASTIC : PHA KHAO MA (DEmark winner 2021)
ออกแบบโดย : ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์

5. เก้าอี้ S MOOD (DEmark winner 2011)
ออกแบบโดย : นายอภิรัฐ บุญเรืองถาวร/ เจ้าของผลิตภัณฑ์: บริษัท พลัสเซนส์ จำกัด