ทรินา โซลาร์เปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week งานแสดงเทคโนโลยีด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

0
968

ทรินา โซลาร์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรด้านเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะชั้นนำของโลก ประกาศเปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE19R อย่างเป็นทางการที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week กรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นในวันที่ 14 -16 กันยายน

ทอดด์ ลี ประธานบริษัทของทรินา โซลาร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกล่าวว่า “ในฐานะ แบรนด์แผงโซลาร์เซลล์แรก ๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย ทรินา โซลาร์ได้ทุ่มเทและให้ความสำคัญกับตลาดไทยมาตลอดสิบปี”

“เราได้มาร่วมแสดงในงาน ASEAN Sustainable Energy Week ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากตลาดไทยเป็นตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญอย่างมากต่อทรินา โซลาร์ เราเป็นแบรนด์ที่ติดสามอันดับแรกในตลาดไทยเสมอ และต้องขอบคุณพันธมิตรธุรกิจในไทยทุกรายอย่างมาก ที่ทำให้เราครองอันดับนี้ได้”

แผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE19R ผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 580 วัตต์และมีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 21.5% รุ่นนี้พัฒนาและผลิตขึ้นโดยใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีเซลล์ 210 มม. แต่ต่างจากรุ่น DE19 ก่อนหน้า ตัว ‘R’ แสดงให้เห็นว่าแผงโซลาร์เซลล์เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แทนที่จะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

“ทรินา โซลาร์เป็นธุรกิจระดับแนวหน้าที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมเสมอ แผงโซลาร์เซลล์รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้รุ่นนี้มีประสิทธิภาพและพลังงานสูงกว่า” ทอดด์ กล่าวเสริม

แผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE19R ที่มีพลังงานสูง มีการพัฒนาให้ปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมยิ่งขึ้นกับอินเวอร์เตอร์ เหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากพลังงานและประสิทธิภาพที่สูงจะช่วยให้ใช้พื้นที่บนหลังคาที่มีอย่างจำกัดได้อย่างเต็มที่ที่สุด ทำให้ค่าอุปกรณ์ประกอบระบบ (BOS) ลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ลดลงด้วย อีกทั้งยังมีความสเถียรอย่างสูง

สำหรับโครงการในประเทศไทยที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ทรินา โซลาร์นำเสนอรุ่น Vertex DE21 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 21.6% และผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 670 วัตต์ สถาบันระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ฟรอนโฮเฟอร์ (Fraunhofer ISE) สถาบันวิจัยจากเยอรมนี ได้ดำเนินการประเมินอย่างละเอียดเมื่อปีที่แล้ว และได้ค้นพบว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ของรุ่น Vertex 670W ต่ำกว่ารุ่น 540W 4.2% ที่ใช้แผ่นเวเฟอร์เส้นผ่านศูนย์กลาง 182 มม. และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE)
ต่ำกว่า 4.1% Fraunhofer ISE ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นสถาบันวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

เอฟเวอร์ไชน์นิ่ง อินเกรเดียน ผู้ผลิตอาหารสัตว์จากจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE21 ของทรินา โซลาร์ไปทั้งหมด 1,247 แผง ทำให้กลายเป็นลูกค้ารายแรกในทวีปเอเชีย นอกจากประเทศจีนที่ใช้รุ่นนี้

ทอดด์ กล่าวว่า “ตลาดในประเทศไทยเป็นตลาดที่พัฒนาแล้ว และมีลูกค้าที่มีความเชี่ยวชาญและกำลังมองหาเทคโนโลยีล่าสุด ด้วยเหตุนี้ เราจึงจัดแสดงผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุดที่ทันสมัยที่สุดของเราที่งานนี้”

ทรินา โซลาร์จะเปิดตัว DE21 รุ่นที่สองซึ่งเป็นแผงโซลาร์เซลล์รุ่นสองหน้า ในไตรมาสแรกของปีหน้าในประเทศไทย รุ่นนี้จะมีการใช้เซลล์เอ็นไทป์ ขนาด 210 มม.

เชิญพบกับทรินา โซลาร์ได้ที่บูธ H21 ในงาน

เกี่ยวกับ ทรินา โซลาร์ (688599. SH)
ทรินา โซลาร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรด้านเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะชั้นนำของโลก บริษัทมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนารวมถึงการผลิตและ
จำหน่ายผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ การพัฒนาโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ ให้บริการวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้าง (EPC) ดำเนินงานและดูแลโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ การพัฒนาและจำหน่ายระบบไมโครกริดอัจฉริยะและระบบเสริมพลังงานหลายรูปแบบ รวมถึงการบริหารแพลตฟอร์มคลาวด์ด้านพลังงาน

ในปี 2561 ทรินา โซลาร์ ได้เปิดตัวแบรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ ไอโอที (Energy IoT) โดยได้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตร ทรินา เอ็นเนอร์ยี่ ไอโอที อินดัสเทรียล ดีเวลลอปเมนท์ อลิอันซ์ ร่วมกับองค์กรชั้นนำและสถาบันวิจัยในประเทศจีนและทั่วโลก และก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมไอโอทีด้านพลังงานใหม่ ด้วยการดำเนินการเหล่านี้ ทรินา โซลาร์ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างระบบนิเวศไอโอทีด้านพลังงาน และพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมเพื่อสำรวจไอโอทีด้านพลังงานใหม่ ดังที่บริษัทได้มุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำของโลกในอุตสาหกรรมพลังงานอัจฉริยะ โดยในเดือนมิถุนายน 2563 บริษัททรินา โซลาร์ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาด STAR ของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้

ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.trinasolar.com

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณหลิว เจิ้น I ผู้จัดการฝ่ายการตลาดส่วนภูมิภาค ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก I โทร: +65 6808 1111 I อีเมล: