SO เดินหน้าบริษัท BPO ครบวงจร ปรับกลยุทธ์ Re-skill & Up-skill ตอบโจทย์ตลาดแรงงานไทย-อาเซียน

0
1109
  • สยามราชธานี เตรียมพร้อมเป็น BPO บริษัท Outsource ครบวงจร เสริมทักษะ Re-skill & Up-skill บุคลากร ตอบรับการจ้างงานยุคใหม่
  •    นางสาวกัณธิมา แจ้งวันสุข กรรมการผู้จัดการ บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานคุณภาพ และผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤติโควิด-19  ดั้งนั้น การบริหารจัดการองค์กรและการจัดสรรแรงงานให้ตรงตามความต้องการจึงต้องมีการปรับและยืดหยุ่นตามความจำเป็น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กลับมาด้วยต้นทุนที่เหมาะสม นับว่าเป็นความท้าทายขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น การจ้างงานตำแหน่งด้าน IT มีขอบข่ายการทำงานกว้างและมีระดับทักษะที่แตกต่างกัน องค์กรอาจต้องรับความเสี่ยงในเบื้องต้น     และให้เวลาพนักงานเรียนรู้ระบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานและความรับผิดชอบ โดยกลยุทธ์ Re-skill และ Up-Skill จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้แรงงานมีความรู้ความสามารถทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก องค์กรจึงต้องปรับตัวเป็นองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ Learning Organization และคุณลักษณะที่องค์กรต้องมองหาจากผู้สมัครที่สำคัญอีก 1 คุณลักษณะ คือ ความพร้อมในการเรียนรู้และปรับตัว Learning Skill

           กรรมการผู้จัดการบริษัท SO กล่าวต่อไปว่า สยามราชธานี หรือ SO ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจการจ้างเหมาบริการ (Outsourcing Service) เรามีความโดดเด่นในเรื่องการบริหารจัดการบุคลากร เข้าใจในธุรกิจตลาดแรงงานไทย และมีความพร้อมด้านการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนบุคลากรในองค์กร  มีการให้คำแนะนำพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ ลดต้นทุนในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอนนี้ SO ได้นำกระบวนการ BPO หรือ Business Process Outsourcing มาใช้เสริมระบบการจ้างเหมาบริการแบบครบวงจร ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการระบบงานบางส่วน มาให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบแทน พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้น สามารถจัดหาคนทำงานในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นแกนหลักขององค์กรได้ เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร แต่ยังเพิ่มคุณภาพของงานให้มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่น รวมถึงการลดต้นทุนในการจ้างพนักงานและนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล 

          “สยามราชธานี ได้มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพแรงงาน Re-skill และ Up-skill รวมไปถึงสร้าง New skill เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในประเทศ และสามารถแข่งขันกับแรงงานในภูมิภาคอาเซียนได้ ซึ่งในหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เช่น เป็นการทำงานระยะไกลมากขึ้น ให้สอดคล้องกับยุค New Normal ทั้งแรงงานและองค์กรจึงควรเร่งปรับตัว เพื่อให้ทันกับการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป” นางสาวกัณธิมา กล่าวทิ้งท้าย

              ทั้งนี้ ทิศทางของตลาดงานแรงงานไทยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวไปสู่รูปแบบของธุรกิจใหม่ (New Economy) เป็นธุรกิจที่ต้องมีการวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคลากร รวมถึงพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบันสู่อนาคต การพัฒนาศักยภาพแรงงานโดยการ Re-skill หรือ Up-skill จึงเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรในการรักษาและสรรหาบุคลากร และสามารถตอบโจทย์ความท้าทาย ในเรื่องของความขาดแคลนบุคลากรคุณภาพได้ เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันท่ามกลางโลกของการเปลี่ยนแปลง