บีซีพีจีจับมือกสิกรไทย ออกหุ้นกู้ “บอนด์พลัสคาร์บอนเครดิต” ตัวแรกของไทยเพื่อการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตผ่านนวัตกรรมการระดมทุนโดยจัดจำหน่ายให้ผู้ลงทุนสถาบัน

0
174

บีซีพีจีจับมือกสิกรไทย ออกหุ้นกู้ บอนด์พลัสคาร์บอนเครดิตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตผ่านนวัตกรรมการระดมทุน โดยจัดจำหน่ายให้ผู้ลงทุนสถาบัน ด้วยมูลค่าบอนด์รวม 2,000 ล้านบาท ซึ่งหุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยคงที่และมีส่วนส่งเสริมการขายของหุ้นกู้ ที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกรับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่ผ่านการรับรองจาก อบก. หรือเลือกรับใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐาน I-REC

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้รุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี แก่ผู้ลงทุนสถาบันชั้นนำในประเทศ มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 มีธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมีความพิเศษ ที่นอกจากผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่เหมือนหุ้นกู้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีส่วนส่งเสริมการขายของหุ้นกู้ โดยสามารถเลือกรับเป็นคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) พัฒนาขึ้น หรือเลือกรับเป็นใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (I-REC) ซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐานของ The International REC Standard Foundation (I-REC) หรือ International Tracking Standard Foundation (I-TRACK Foundation) ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถนำ Carbon Credit หรือใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวที่ได้รับจากบีซีพีจี ซึ่งผลิตจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือสำหรับการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Offsetting) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาสภาพคล่องของตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยอีกด้วย

นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในขณะที่โลกกำลังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น บีซีพีจีเองก็มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณการความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับนวัตกรรมทางการเงิน ธุรกรรมในครั้งนี้จึงเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะ “สร้างโลกสีเขียวที่ยั่งยืน” ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท

นอกจากนี้ บีซีพีจียังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดตั้ง Carbon Markets Club เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ คาร์บอนเครดิตและมีแพลทฟอร์มที่สามารถคำนวณการปล่อยปริมาณ Carbon และซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการแก้ปัญหาโลกร้อน สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตกันได้ตามความสมัครใจ การให้คาร์บอนเครดิตแก่ผู้ลงทุนในครั้งนี้ ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนชั้นนำของไทยเข้าใจเรื่องการซื้อขายคาร์บอนเครคิตในตลาดรองเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน บีซีพีจีได้บรรลุเป้าหมายหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในประเทศไทยตั้งแต่ในปี 2565 และตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593

นางณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และรักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ขอแสดงความชื่นชมกับบีซีพีจี ธนาคารกสิกรไทยและผู้ลงทุนทุกท่านกับความสำเร็จของธุรกรรมและความคิดริเริ่มในการนำคาร์บอนเครดิตที่มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ วัดได้จริง มีมาตรฐานจากการทำโครงการ T-VER และผ่านการรับรองจาก อบก. มาเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับผู้ลงทุน โดย อบก. ดำเนินการโอนคาร์บอนเครดิตจากบัญชีของบีซีพีจีในฐานะผู้พัฒนาโครงการ ไปยังบัญชีของผู้ลงทุนจำนวนรวม 21,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อบก. เชื่อว่าธุรกรรมนี้จะเป็นแรงส่งทำภาคส่วนต่างๆ เห็นความสำคัญในเรื่องการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น และนำพาให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด

ปัจจุบัน ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในไทย เห็นความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ อบก. ได้มีการผลักดันโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน มีโครงการที่ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แล้ว 438 โครงการ ในจำนวนนี้มี 169 โครงการที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต และมี(คาร์บอนเครดิต)ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้ รวมทั้งสิ้น 19,537,269 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยตั้งแต่ปี 2559 มีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแล้ว 3,422,956 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นมูลค่าราว 299 ล้านบาท อบก. เชื่อว่า นอกจากตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนในการลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพให้กับชุมชน ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าของเสียหรือของเหลือทิ้งทางการเกษตรและครัวเรือน เป็นต้น

นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญ อาทิ การเป็นธนาคารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ จากการดําเนินงานของธนาคารเป็นศูนย์ภายใน ปี พ.ศ. 2573 รวมถึงการให้บริการที่มากกว่าบริการทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย  โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ร่วมเสริมสร้างความยั่งยืนผ่านการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลาดทุนที่ร่วมส่งเสริมการลดการปล่อย GHG ของประเทศไทยมาโดยตลอดทั้งในรูปแบบของการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน ผลิตภัณฑ์การบริหารความเสี่ยงและบริการระดมทุนผ่านหุ้นกู้  สำหรับการเข้าร่วมเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและเป็นผู้ลงทุนหลัก (Cornerstone Investor) ของหุ้นกู้บีซีพีจีครั้งนี้ ได้ทำให้ธนาคารได้ก้าวไปสู่เป้าหมายสำคัญด้านความยั่งยืนอีกขั้น โดยสามารถเชิญชวนให้ผู้ลงทุนสถาบันต่างๆ เข้ามาเรียนรู้กระบวนการเปิดบัญชีคาร์บอนเครดิตกับทาง อบก. แบ่งปันความรู้ทางด้าน ESG รวมถึงการจัดการด้านการบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้องคาร์บอนเครดิตอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับคาร์บอนเครดิตที่ทางธนาคารได้รับธุรกรรมดังกล่าว จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Offsetting) ของธนาคารต่อไป

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เปิดเผยว่า กบข. ให้ความสำคัญกับการบูรณาการปัจจัยด้าน ESG เข้ามาในการดำเนินงานขององค์กรมาโดยตลอด และ กบข. ให้การสนับสนุนผู้ออกตราสารหนี้ ESG และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในตลาดการเงินเสมอมา กบข. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการนำธุรกรรมการลงทุนในตลาดทุนและการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตมารวมกันไว้เป็นโครงการนวัตกรรมทางการเงินด้วยกันเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ กบข. ยังได้นำคาร์บอนเครดิตที่ได้รับมาไปขายต่อในตลาดรองซึ่งเป็นการส่งเสริมสภาพคล่องให้กับตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยอีกด้วย

นายเสี่ยวปอ หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) หนึ่งในกลุ่มไอซีบีซี ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า ธุรกรรมนี้ถือเป็นนวัตกรรมของตลาดตราสารหนี้และตลาดคาร์บอนเครดิต ไอซีบีซี (ไทย) พร้อมสนับสนุนการพัฒนาของตลาดทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ ESG อย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยทั้งบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ลงทุนต่างต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาตลาดทุนให้สอดคล้องกับเรื่อง ESG เพื่อให้บริษัทและผู้ลงทุนในวงกว้างรับรู้และให้ความสนใจในธุรกรรมการเงินแบบยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมืองไทยประกันชีวิตเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะนำแนวคิดการพัฒนามาผสานกับเรื่องของการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ในทุกกระบวนการ เพื่อส่งมอบคุณค่าระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยธุรกรรมการลงทุนในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของบริษัทในการบูรณาการแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนของบริษัท และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยอีกทางหนึ่งอีกด้วย

BCPG and KBank Collaborate to Launch Thailand’s First ‘Bonds Plus Carbon Credit’, Offered to Institutional Investors, Pioneering Carbon Credit Market Development through Innovative Fundraising

BCPG has partnered with KASIKORNBANK to issue Thailand’s inaugural “Bonds Plus Carbon Credit “, offered to institutional investors, aiming to develop the carbon credit market through an innovative way of fundraising. With a total issuance amounting to THB 2,000 million, these fixed rate bonds offer a unique feature as investors could choose a bond complimentary to either receive carbon credits certified by TGO or a renewable energy certificate (REC) certified according to I-REC standards.

BCPG Public Company Limited, a leading renewable energy power generation business in the Asia Pacific region, has issued bonds worth THB 2,000 million on June 26, 2024. These bonds, arranged by KASIKORNBANK Public Company Limited, have tenures of 3 and 5 years and are offered to leading institutional investors in Thailand. These bonds are unique, providing investors not only with fixed coupon returns but also the option to receive selected certified ESG complimentary. Investors can choose, as bond complimentary, either carbon credits certified under the Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) by the Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization)  or renewable energy certificates (REC) certified by The International REC Standard Foundation.

These carbon credits or renewable energy certificates, produced from BCPG’s solar power project, can be used to offset greenhouse gas emissions, aiding in achieving carbon neutrality as per the National Environmental Strategy Plan. Additionally, they can be traded in the secondary market, enhancing the liquidity of the carbon credit trading market in Thailand and thus promoting market development.

Mr. Niwat Adirek, Chief Executive Officer and President, BCPG Public Company Limited, stated that while the world is paying more attention to sustainability, BCPG is committed to being a leader in integrating environmental responsibility with financial innovation. This transaction reinforces our commitment to “Create a sustainable green world” in line with BCPG’s vision. BCPG is also a founder of the Carbon Markets Club, a carbon credit platform that encourages knowledge sharing, equipped with carbon emission calculation and trading tools, offering an opportunity for all sectors to participate in solving global warming issues. By providing carbon credits to investors, this initiative encourages leading Thai investors to understand more about carbon trading in the secondary market. BCPG achieved its goal of carbon neutrality in 2022  and aims to become a Net Zero Emissions organization within 2030.

Mrs. Natarika Wayuparb Nitiphon, Deputy Executive Director and Acting Executive Director of Thailand Greenhouse Gas Management Organization (TGO) congratulated BCPG, KASIKORNBANK, and all investors on the success of this debenture transaction.  This initiative enabled TGO to successfully transfer TGO accredited  Carbon Credit (under T-VER program) from BCPG’s Carbon Credit Account, as project developer, to Investors’ Carbon Credit Account, as complementary to bond investment.    We believe that this transaction will inspire other companies in Thailand to explore creative GHG remission projects and lead the country to achieve national goals.

Since the establishment of Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) by TGO in 2014, the voluntary carbon credit market in Thailand has made a continuous progress. Over 438 projects are registered under T-VER, 169 projects of which have been accredited carbon credit, with  greenhouse gas reduction/sequestration of 19,537,269 tonnes of carbon dioxide equivalent per year (tCO2eq/year). Since 2016, approximately 3,422,956 tCO2eq, valued at around THB 299 million, have been traded.  We believe that not only does voluntary carbon market helps support the Greenhouse Gas Remission, but it also helps generate other ESG benefits such as larger green and bio diversified spaces for community, pollution reduction, income generation for the community, and waste or agricultural and household leftover value creations.

TGO believes that the carbon credit market not only helps reduce greenhouse gases but also generates economic, social, and environmental benefits. These include increased green spaces and biodiversity, reduced environmental pollution, additional income for communities, and added value to agricultural and household waste.

Mr. Pipit Aneaknithi, President, KASIKORNBANK Public Company Limited, has affirmed the bank’s aspiration of becoming the leader in ESG practices among banks in Southeast Asia. Aiming to achieve net-zero greenhouse gas emissions from its operations by 2030, the bank is committed to extending its services beyond financial offerings to support Thailand’s emissions reduction efforts though our ongoing commitment toward sustainability via Capital Markets Products Offering such as investment, hedging and fund raising products. Therefore, this transaction marks a key milestone for KASIKORNBANK as both arranger and cornerstone investor of BCPG debentures, in achieving yet another sustainability goals.  We have also invited leading institutional investors to participate and set up their own carbon credit accounts with the TGO. The transaction, hence, helped foster knowledge sharing on ESG principles, encompassing related carbon credit tax and accounting treatment.  For KASIKORNBANK, Carbon credits acquired as complimentary BCPG debentures will be utilized to offset our greenhouse gas emission from our operation.

Mr. Songpol Chevapanyaroj, Secretary General, Thailand’s Government Pension Fund (GPF) highlighted GPF’s ongoing commitment to integrating ESG (Environmental, Social, and Governance) aspects into its operations. GPF has consistently supported issuers of ESG debt instruments in the market and embraced new innovations in the financial markets. GPF is proud to participate in this pioneering financial innovation project, merging investment transactions in the capital market with the development of the carbon credit market. Additionally, GPF plays a pivotal role by reselling the carbon credits it receives in the secondary market. This initiative not only enhances liquidity in the secondary market but also contributes to broader environmental sustainability goals.

Mr. Xiaobo Li, Chief Executive Officer, Industrial and Commercial Bank of China (Thai) PCL or ICBC (Thai), a subsidiary of ICBC group – a leading global commercial bank, highlighted that this transaction represents an important innovation in both debt capital and carbon credit markets. ICBC (Thai) is committed to supporting ongoing development in the capital market and ESG-related financial products. With global warming awareness, both investors and issuers increasingly share the same goals in making a positive environmental impact on their own parts. BCPG debentures signify an inaugural step towards fostering innovation while aligning the capital market with ESG considerations.

Mr. Sara Lamsam, Chief Executive Officer, Muang Thai Life Assurance Public Company Limited emphasized the company’s commitment to integrating sustainable development principles into its business operations. Muang Thai Life recognizes the significance of incorporating environmental, social, corporate governance, and economic (ESG) considerations for the benefit of all stakeholders. This investment transaction underscores Muang Thai Life’s dedication to sustainable practices and expands its investment opportunities. Moreover, it serves as a supportive measure towards advancing the development of Thailand’s carbon credit market, aligning with the company’s broader sustainability goals.