ปัจจุบัน “มะเร็งลำไส้ใหญ่” เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพื่อร่วมตระหนักถึงภัยเงียบที่น่ากังวล ศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง Advanced Laparoscopic Surgery Center โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน มีคำแนะนำเพื่อให้ทุกคนได้ลองสังเกตพฤติกรรม และความผิดปกติของตัวเอง เพื่อป้องกันและจัดการรักษาได้ทันท่วงที
โดย นพ.นิธิคุณ บุญอิ้ง ศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน กล่าวว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นความผิดปกติของเซลล์ ที่ก่อตัวเป็นมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ มีความยาวเฉลี่ย 150 – 180 เซนติเมตร เกิดได้ตั้งแต่ส่วนต้นที่ติดกับลำไส้เล็ก ส่วนกลางไปจนถึงส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่ติดกับทวารหนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเกิดขึ้นจากจุดเล็ก เช่น มีติ่งเนื้อภายในลำไส้ หากตรวจพบแต่แรก สามารถป้องกันก่อนเกิดมะเร็งลำไส้ได้
ทั้งนี้ นพ.นิธิคุณ บุญอิ้ง บอกต่อว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ ปัจจัยหลักประมาณ 60 – 70% มาจากพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวที่อายุน้อยกว่า 60 ปีเป็นมะเร็งลำไส้ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง และลำดับที่สอง มาจากพฤติกรรมการทานอาหารประเภทเนื้อแดง ของหมักดอง ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
สัญญาณสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ที่พอสังเกตเองได้เริ่มต้นจาก 1.การขับถ่ายผิดปกติ เดี๋ยวท้องผูก เดี๋ยวท้องเสีย บ่งบอกอาการของโรคระยะเริ่มต้น 2.ความถี่ในการขับถ่าย หลายคนคิดผิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย โดยอาการท้องผูกติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ แปลว่าระบบขับถ่ายไม่ดี อาจมีความผิดปกติบางอย่างขึ้นที่บริเวณลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน ลำไส้อุดตัน 3.ลักษณะของอุจจาระเหลว หรือมีมูกเลือดปน รวมถึงขับถ่ายอุจจาระมีขนาดเล็กผิดปกติ 4.การเบ่งถ่าย หรือการกลั้นอุจจาระไม่ได้ 5.น้ำหนักลดลงมาก ทั้งที่รับประทานอาหารเท่าเดิม เป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันตรายที่แสดงทางร่างกาย หากพบความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นอาการใด แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด
ในปัจจุบัน ศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง Advanced Laparoscopic Surgery Center โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน มีทีมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ พร้อมนำเทคโนโลยีขั้นสูงของการผ่าตัดเข้ามาช่วยรักษาโรคที่ยาก และโรคซับซ้อน อาทิ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ไส้ติ่งอักเสบ ข้อดีที่สำคัญที่สุดของการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง ALS คือการฟื้นตัวที่เร็วขึ้นกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม บาดเจ็บจากการผ่าตัดน้อยลง มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ขนาดแผลเล็กลง มีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
สุดท้ายสำหรับการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันและลดโอกาสเสี่ยง “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” คือเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อระบบย่อยและการขับถ่าย ไม่ปล่อยให้ท้องผูกเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด หรือมีไขมันสูง และจำเป็นต้องตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้อง ตั้งแต่ช่วงอายุ 45 – 50 ปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แม้ยังไม่มีอาการ โดยเฉพาะมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย ก็สามารถป้องกันรักษาได้ก่อนเกิดมะเร็ง สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพออนไลน์ตลอด 24 ชม. ผ่านระบบ TeleCare หรือระบบ HealthUp Application พร้อมเลือกข้อมูลดูแลสุขภาพ