จากสถานการณ์โควิด–19 ระลอกใหม่ มีการเกิดหลายคลัสเตอร์แพร่กระจายทั่วทิศในปัจจุบัน ทำให้พบพื้นที่จุดเสี่ยงที่มากขึ้นทุกวัน เอสซีจี โดยบริษัทสยามไฟเบอร์ซีเมนต์กรุ๊ป จำกัด ในฐานะผู้ผลิตฝ้า ผนัง สมาร์ทบอร์ด ไม้สังเคราะห์ และวัสดุตกแต่ง ได้นำความรู้ ความชำนาญการของบุคลากรพัฒนายุทธภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อตอบโจทย์การช่วยเหลือการปฏิบัติงานกับโรคอุบัติใหม่ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเครือเอสซีจี พัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรม ‘ห้องปลอดเชื้อความดันอากาศบวก’ (Positive Pressure Room) ซึ่งได้ต่อยอดพัฒนาจากความต้องการการช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือในเชิงรุก เน้นการเข้าถึงพื้นที่คลัสเตอร์ที่มีการแพร่กระจายสูง อาทิ ทัณฑสถาน, โรงพยาบาลในภาคใต้, สนามบินบุรีรัมย์, โรงพยาบาลในภาคอีสาน สนามกีฬาจังหวัด สนามธูปะเตมีย์ ศูนย์การแพทย์ และ กรมควบคุมโรค เป็นต้น ล่าสุดได้ส่งมอบไปแล้วกว่า 451 ห้อง ทั่วประเทศ
ผนึกกำลังพัฒนาและส่งมอบยุทธภัณฑ์ทางการแพทย์สู้โควิด-19
นางอัญชลี ชวนะลิขิกร Managing Director Ceiling and Wall Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เปิดเผยว่า เอสซีจี นำโดยบริษัท สยามไฟเบอร์ซีเมนต์กรุ๊ป จำกัด ในฐานะผู้ผลิต ฝ้า ผนัง สมาร์ทบอร์ด ไม้สังเคราะห์ และวัสดุตกแต่ง ได้พัฒนาห้องความดันอากาศบวกต้นแบบ ร่วมกับทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และสถาบันบำราศนราดูรมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ซึ่งปรับปรุงและพัฒนาเรื่อยมาจนสำเร็จเป็น ‘ห้องปลอดเชื้อความดันอากาศบวก’ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยในการตรวจรักษา โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรบริษัทในเครือเอสซีจี ได้แก่ บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด, บริษัท เอสซีจีโลจิสติกส์ แมนเนจเม้นต์ จำกัด, บริษัท ซีแพค คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด และ ผู้แทนจำหน่ายร้านค้าวัสดุก่อสร้างเอสซีจี, ร้านโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ ได้ร่วมส่งมอบห้องความดันอากาศบวก ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ขาดแคลนงบประมาณและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ในเชิงรุก กลุ่มคลัสเตอร์ที่มีการแพร่กระจายสูง เพื่อลดความรุนแรง และช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด อาทิ โรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ, ทัณฑสถาน, โรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, สนามบินบุรีรัมย์, เขตคัดกรองเฉพาะกิจ อาทิ พื้นที่สนามกีฬาประจำจังหวัด และสนามธูปะเตมีย์, ศูนย์การแพทย์ และ กรมควบคุมโรค ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเผชิญวิกฤตเดียวกัน
‘ห้องปลอดเชื้อความดันอากาศบวก’ (Positive Pressure Room) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ตรวจวินิจฉัย (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ช่วยลดภาระในการจัดหาและสวมใส่ชุด PPE สามารถทำงานสะดวกและปลอดภัย โดยภายในห้องมีการควบคุมความดันในห้องปิดให้สูงกว่าความดันอากาศภายนอก ป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่ภายในตัวห้องปฏิบัติการ ด้วยระบบผนัง “ULTRA CLEAN WALL Solution” นวัตกรรมผนังสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี ที่มีเทคโนโลยี ULTRA CLEAN COATING ทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย รวมถึงระบบกั้นเสียงและความร้อน ซึ่งตรงตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์ นอกจากนี้ยังสะดวกในการใช้งาน ง่ายต่อการติดตั้งและสามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดคัดกรองในสถานที่ต่าง ๆ ตามความต้องการ
นางอัญชลี ชวนะลิขิกร
“เอสซีจีได้เริ่มส่งมอบ ‘ห้องปลอดเชื้อความดันอากาศบวก’ ตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยผนึกกำลังกับภาคเอกชนผู้แทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเอสซีจี สยามโกลบอลเฮ้าส์ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งได้กระจายการช่วยเหลือสู่โรงพยาบาลและสถานที่สำคัญในชุมชนกว่า 400 แห่ง จำนวน 451 ห้อง อาทิ โรงพยาบาลสนามในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราช นคราชสีมา จ.นครราชสีมา, โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย, โรงพยาบาลสนามมุกดาหาร จ.มุกดาหาร โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลต่างอำเภอ โรงพยาบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน สาธารณสุขศูนย์การแพทย์ท้องถิ่น ทัณฑสถาน สนามบินท้องถิ่น นอกจากนี้ เอสซีจียังได้ขยายการช่วยเหลือไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และรัฐบาลประจำท้องถิ่น ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 5 ห้อง, ฟิลิปปินส์ 2 ห้อง และ สปป.ลาว 5 ห้อง โดยเอสซีจีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสังคมให้ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้โดยไวที่สุด” นางอัญชลี กล่าวเสริม
เอสซีจีผนึกกำลังพันธมิตรขยายการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ด้านนายสรรเสริญ นภาพร ผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี บจก. ตึกน้ำเงิน (1993) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเอสซีจี ในการต่อยอดนวัตกรรม พัฒนาสมาร์ทบอร์ดเอสซีจีสร้างห้องความดันอากาศบวกที่ปลอดภัย และใช้งานได้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ในการคัดกรองโรคของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรักษาประชาชนให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ช่วยให้การปฏิบัติงานสะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ตลอดจนการคัดเลือกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน คลัสเตอร์ที่มีการแพร่กระจายสูง และมีผู้ติดเชื้อในจำนวนมาก ทั้งยังผนึกกำลังกับเครือข่ายร้านค้าวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันขยายผลการช่วยเหลือในวงกว้าง เพื่อการเข้าถึงที่มากขึ้น “วิกฤตครั้งนี้ใหญ่กว่าที่เคยประสบในปีก่อนอย่างมาก มีการสูญเสียและติดเชื้อในวงกว้าง กระทบไปทุก ๆ ภาคส่วน แต่ยังเชื่อมั่นว่าหากเราทุกคนร่วมแรงร่วมใจ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ จะสามารถรวมเป็นพลังที่สำคัญก้าวผ่านไปได้ และหวังว่าวิกฤตการณ์โควิด-19 ครั้งนี้จะคลี่คลายโดยเร็ว”
นายสรรเสริญ นภาพร และ ผอ.พิชยนันท์ อินทร์จันทร์การเข้าถึงพื้นที่อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความรุนแรง = ลดการสูญเสีย“
ทัณฑสถานเป็นสถานที่ควบคุมและมีผู้ต้องขังจำนวนมาก ในขั้นตอนการคัดกรอง จึงเป็นเรื่องที่ยากจะเคลื่อนย้ายเพื่อตรวจ ‘ห้องปลอดเชื้อความดันอากาศบวก’ โดยการช่วยเหลือเชิงรุกของเอสซีจี ร่วมกับภาคสาธารณสุขโรงพยาบาลประจำจังหวัด เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว ลดการติดเชื้อ และลดการใช้ทรัพยากรชุด PPE นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้การคัดกรอง (SWAB) เพิ่มจำนวนจากการตรวจปกติ 20 เคส เป็น 30 เคสต่อชั่วโมง ช่วยลดปริมาณการเข้าออกของบุคลากรจากโรงพยาบาลและทัณฑสถาน ตามนโยบายของภาครัฐได้ ยิ่งระบบการคัดกรองทำได้รวดเร็วเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น ยิ่งรู้ก่อนยิ่งมีโอกาสรักษาได้ก่อน ลดการสิ้นเปลืองงบประมาณและลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น” ผอ.พิชยนันท์ อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง เรือนจำอำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
สำหรับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขที่ต้องการคำแนะนำ-ปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกิตติพงษ์ โทร. 081 720 6505