- AP x คณะภูมิสถาปัตย์ จุฬาฯ นำร่องสร้างนักคิดรุ่นใหม่ ชวนนิสิตชั้นปี 4 คิดและต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ก่อนเข้าสู่ชีวิตทำงานจริง ขับเคลื่อนพลังความคิดอย่างเป็นระบบ ตอบโจทย์คนใช้งานจริง
- ลงมือทำจริงด้วยโจทย์ NEW BREATH OF THE CITY ออกแบบพื้นที่สวนกับ การอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง สร้างคอมมูนิตี้ที่สมบูรณ์แบบผสานสุนทรียะของธรรมชาติกับเรื่องราวของชีวิต
- บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้พันธกิจ ‘EMPOWER LIVING’ ที่มุ่งเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพลังความคิดอย่างเป็นระบบให้กับแลนด์สเคปดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ เปิดตัวโครงการ “AP NEW GEN DESIGNER” – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้กระบวนการดีไซน์อย่างเป็นระบบ พร้อมลงมือทำในโปรเจคจริง ภายใต้โจทย์ NEW BREATH OF THE CITY ออกแบบพื้นที่สวนกับการอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง มุ่งสร้างคอมมูนิตี้ที่สมบูรณ์แบบ ผสานสุนทรียะของธรรมชาติกับเรื่องราวของชีวิต โดยนำร่องกับ 40 นิสิต ภาควิชา ภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กร และการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า “การทำความเข้าใจลูกค้าหรือ Put People First ถือเป็นหนึ่งใน DNA ของคนเอพีที่จะนำพาให้ทุกโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนนวัตกรรมบริการต่างๆ ที่เอพี ไทยแลนด์พัฒนาขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ ดังนั้น บริษัทฯ จึงอยากส่งต่อวิธีคิดทางดีไซน์ในบริบทของ AP ให้กับเด็กไทยที่จะเติบโตไปในสายอาชีพออกแบบ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในสายวิชาชีพนี้ต่อไป จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ ‘AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์’ ที่เน้นการถ่ายทอดกระบวนการดีไซน์อย่างเป็นระบบ พร้อมการลงมือทำในโปรเจคจริง โดยเริ่มนำร่องกับ 40 นิสิต ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อนที่จะขยายไปยังภาควิชาอื่นต่อไป”
“ดีไซน์เนอร์ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาวิชาชีพอะไร ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดีไซน์ใหม่ๆ ทั้งนั้น เราคงเคยได้ยินคำว่า ‘ดีไซต์เปลี่ยนโลก’ คำสั้นๆ ที่แฝงด้วยกระบวนการทางความคิดทางดีไซน์ที่ซับซ้อน โดยเฉพาะกระบวนการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่ผู้ใช้งานกำลังเผชิญอยู่ ก่อนที่จะพาไปสู่คำถามที่ว่า เราจะใช้งานดีไซน์มาแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร ซึ่งโครงการนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้กระบวนทางความคิดเชิงออกแบบในหลายขั้นตอน ตลอดจนการลงมือทำจริง เอพีมั่นใจว่าโครงการนี้จะส่งเสริมและกระตุ้นศักยภาพทางความคิดของน้องๆ ทุกคน” นายวิทการกล่าว
นายพัชร ชยาสิริ ผู้อำนวยการเอพี ดีไซน์ แล็บ บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า “งานแลนด์สเคปดีไซน์ของที่อยู่อาศัยแนวตั้งหรือคอนโดมิเนียมมีความท้าทายเฉพาะตัว ทั้งข้อจำกัดด้านพื้นที่ คุณลักษณ์ที่สอดคล้องกับดีไซน์ทางสถาปัตยกรรมและ character ของตัวอาคาร บรรยากาศโดยรวม และพื้นที่แวดล้อม ความลงตัวกับวิถีชีวิต จำนวนของผู้พักอาศัย ตลอดจนการ maintain ให้คงความร่มรื่นงดงามในระยะยาวได้จริง ทีมเอพี ได้นำความท้าทายดังกล่าวมาเป็นโจทย์ ในหัวข้อ ‘NEW BREATH OF THE CITY’ ให้ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ของโครงการ AP NEW GEN DESIGNER สร้างสรรงานแลนด์สเคปดีไซน์ที่อย่างลงตัวกับการอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง โดยผ่านกระบวนการคิด การศึกษากับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย และนำเสียงสะท้อนมาวิเคราะห์ วิจัยอย่างเป็นระบบ มีผลลัพธ์ คือ งานแลนด์สเคปที่มีความลงตัวกับของโปรเจคโดยรวม ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี กับการผสานพื้นที่ของธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของที่พักอาศัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตของคอนโดมิเนียมไทย ให้เป็นพื้นที่ต่อยอดการใช้ชีวิตที่ลงตัวของคนต่างไลฟ์สไตล์ที่อยู่ในคอมมูนิตี้เดียวกัน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เด็กๆ ได้เข้ามาเรียนรู้กับผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ บางสิ่งที่เอพีถ่ายทอดเป็นวิธีการที่ถูกสอนอยู่แต่ในทฤษฎี นิสิตไม่เคยได้เห็นของจริงนิสิตจะได้เรียนรู้ โครงการ AP NEW GEN DESIGNER ได้ถ่ายถอดความรู้บางอย่างที่ให้กับเด็กเป็นวิธีการใหม่ที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน เพราะขาดประสบการณ์การลงสนามจริง ไม่รู้วิธีพลิกแพลงกระบวนการคิด ไม่เคยต้องแก้โจทย์จริงจากผู้อยู่อาศัยจริง โครงการนี้ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนิสิต ดีใจที่ภาคเอกชนเข้ามาให้ความสำคัญ และต่อยอดให้ความรู้ของนักออกแบบรุ่นใหม่ทันสมัยพร้อมนำไปใช้จริง”
นางสาวอทิตยา แสนมโนกุล นิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เอพีแชร์วิธีคิด วีธีถามตอนสัมภาษณ์ยูสเซอร์ (หรือกลุ่มเป้าหมาย) ที่มีประโยชน์มาก มันทำให้รู้สึกเหมือนว่าเราได้เผชิญปัญหาแบบที่ยูสเซอร์เจอจริงๆ มองเห็นภาพ และสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกข้อ คือ การสัมภาษณ์ด้วยวิธีที่ถูกต้องเราไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเยอะถือเป็นการประหยัดเวลาทำงานลงไปได้มาก ทำให้เราพัฒนางานได้ไว และมีประสิทธิภาพ เพราะการสัมภาษณ์ที่ดี เราจะได้ทราบความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า นำมาสู่วิธีคิดเพื่อแก้ปัญหาแบบถูกจุด ดีใจที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AP NEW GEN DESIGNER ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษา”
นายทวิรัฐ สุวรรณสิงห์ นิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ประทับใจในส่วนของงานออกแบบตั้งแต่วันที่มีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการ ไลฟ์ อโศก-พระราม 9 มันดูอลังการตั้งแต่ภายนอก ทั้งในส่วนของการจัดวางโซนนิ่ง พื้นที่สีเขียว และพื้นที่พักอาศัยในโครงการ ทำให้รู้สึกตื่นเต้นได้ตลอด แต่หากมองในมุมนักออกแบบ การมาเจอสถาปัตยกรรมใหม่ๆ มักทำให้ตื่นเต้นทุกครั้ง และเมื่อมาเจาะลงลึกในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของโครงการนี้ ทำให้รู้ว่าเอพีใส่ใจในการพัฒนางานออกแบบมาก และสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในพื้นที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ออกกำลังกายที่มีการจัดวางผนังกั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมื่อต้องมาใช้พื้นที่ร่วมกัน มันแสดงให้เห็นว่า เอพีมีการทำการบ้าน แต่ละจุดถูกคิดมาอย่างละเอียด วันนี้รู้สึกดีใจที่ได้เรียนรู้งานที่ต้องใส่ใจในความละเอียดจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งแบบเอพี”
โครงการ AP NEW GEN DESIGNER ถูกออกแบบให้นักศึกษาได้ทำงานจริงกับผู้อยู่อาศัยจริง ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างนิสิต คณาจารย์ และทีมเอพี โดยเริ่มต้นจากกระบวนการ การเวิร์คช็อปเพื่อเข้าใจถึงภาพรวมของการศึกษาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอย่างครบลูป จากนั้นจึงลงสนามจริงเพื่อเรียนรู้ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกับลูกค้าตัวจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือน โดยปัจจุบัน อยู่ในกระบวนการเวิร์คช็อปเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากเอพีสู่ว่าที่ดีไซน์เนอร์เจนใหม่ให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนามจริง