เทศกาลศิลปะนานาชาติสิงคโปร์ประจำปี 2565 เตรียมเปิดฉากอีกครั้ง 20 พ.ค.นี้ นำเสนอผลงานภายใต้ธีม “พิธีกรรม”

0
1527
Returning from 20 May, the Singapore International Festival of Arts 2022 features programmes spanning across physical and digital spaces; with a new virtual venue, Life Profusion.

เทศกาลศิลปะนานาชาติสิงคโปร์ ( Singapore International Festival of Arts หรือ SIFA) เตรียมกลับมาเปิดฉากอีกครั้งในวันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 2565 โดยเป็นงานเทศกาลศิลปะการแสดงครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีซึ่งนำเสนอผลงานสุดตระการตาจากศิลปะหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น การละคร ดนตรี การเต้นรำ ภาพยนตร์ และทัศนศิลป์ งานในปีนี้จัดโดยอาร์ตส์ เฮาส์ ลิมิเต็ด (Arts House Limited หรือ AHL) ภายใต้ธีม The Anatomy of Performance – Ritual อีกทั้งยังถือเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของคุณนาตาลี เฮนเนดีจ์ (Natalie Hennedige) ผู้อำนวยการเทศกาลคนใหม่ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี

SIFA ประจำปี 2565-2567 จะจัดขึ้นในธีมเดียวกันคือ The Anatomy of Performance โดยเน้นที่ความลื่นไหลของศิลปะ การสอดประสานของศาสตร์ต่าง ๆ และความเป็นสากล ภายใต้การนำเสนอผลงานรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่จัดแสดงจริงและทางออนไลน์

สำหรับปีนี้ที่มีการเสริมคำว่า Ritual (พิธีกรรม) พ่วงท้ายชื่อธีมมาด้วยนั้น เป็นการเน้นย้ำถึงการจัดงานที่ครอบคลุมแนวคิดที่ละเอียดอ่อนด้านพิธีกรรม ตั้งแต่ธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมอันหลากหลายของสิงคโปร์ ไปจนถึงการทดลองสร้างสรรค์ผลงานจากศาสตร์ต่าง ๆ  ตลอดจนเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อพิธีกรรมภายใต้ความแตกต่างของภาษาและการแสดงออกรูปแบบดิจิทัล

คุณนาตาลี เฮนเนดีจ์ กล่าวว่า “ศิลปะการแสดงยังคงเป็นพื้นที่สำคัญที่แสดงถึงภาพสะท้อน ความคิดสร้างสรรค์ และการแสดงออกที่ละเอียดอ่อน โครงการด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากสิงคโปร์ของ SIFA ได้เปิดโอกาสให้มีการแสดงออกทางศิลปะที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจจากเอเชียสู่สายตานานาชาติ โดยถือเป็นเวทีสำหรับกระบวนการทางศิลปะที่เข้มข้ม และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลาย ๆ ชาติ”

เทศกาล SIFA ประจำปี 2565 มีเป้าหมายที่จะนำเสนอความลื่นไหลและการหลอมรวมงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ จากทั้งในและนอกประเทศ โดยศิลปินจำนวนมากได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของงานศิลปะแบบเดิม ๆ โปรแกรมของเทศกาลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน

  • Creation – แพลตฟอร์มสำหรับผลงานหลักของ SIFA ซึ่งครอบคลุมผลงานที่ศิลปินได้รับว่าจ้างให้สร้างขึ้นใหม่ การผลิตงานซ้ำในรูปแบบใหม่ และการนำเสนอผลงานโดยศิลปินที่มีความโดดเด่นในระดับนานาชาติ
  • Life Profusion – เวทีเสมือนจริงของ SIFA ที่จัดคู่ขนานไปกับการแสดงงานบนพื้นที่จริง นำเสนอผลงานศิลป์ 5 ประเภท ได้แก่ +DREAM, +EAT, +READ, +GROW, +DISCUSS เวทีนี้มุ่งขยาย จัดระเบียบ และเพิ่มพูนแนวคิดและอิทธิพลของศิลปะจากเทศกาลนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • SIFA X – เปิดพื้นที่สำหรับการนำเสนอผลงานทางเลือก โดยจะมีการเปิดตัวงาน oneirism จากแอนดี เชีย (Andy Chia) ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของเอสเอเดอะคอลเลคทีฟ (SAtheCollective) เป็นครั้งแรก

ผลงานที่ศิลปินได้รับว่าจ้างให้สร้างขึ้นใหม่ในงาน SIFA ประจำปี 2565 ล้วนสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเทศกาลนี้ที่ต้องการรวบรวมมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งส่งสัญญาณถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมในปัจจุบัน และความเชื่อมโยงระหว่างกันทั่วโลก ในฐานะเป็นตัวเร่งให้เกิดทางแยกที่สร้างสรรค์และนวัตกรรมทางศิลปะที่โดดเด่น

Life Profusion จะเปิดตัวภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ของศิลปินผู้มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างลูซี่ แมคเร (Lucy McRae) เรื่อง Delicate Spells of Mind รอบปฐมทัศน์ ซึ่งจะเผยให้เห็นระบบปฏิบัติการของจิตใจมนุษย์

  • งานเปิดตัวอย่าง MEPAAN จะนำเสนอผลงานที่เน้นเสียงอันละเอียดอ่อนและภาพที่เป็นธรรมชาติซึ่งรังสรรค์โดยสิงคโปร์ ไชนีส ออร์เคสตรา (Singapore Chinese Orchestra) และเอเจนซีสุดสร้างสรรค์แห่งมาเลเซียอย่างเดอะ ทูหยาง อินิชิเอทีฟ (The Tuyang Initiative)
  • Holly Herndon: PROTO  โดยโฮลี เฮิร์นดอน (Holly Herndon) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตสุดเร้าใจจากนักดนตรีระดับแนวหน้าผู้ปฏิวัติเทคโนโลยีในปัจจุบัน ด้วยเสียงที่สังเคราะห์จากฝีมือของเฮิร์นดอนและเอไอ (AI) ตัวน้อยนามสปอว์น (Spawn) ของเธอ
  • The Once and Future  นำเสนอประสบการณ์การชมภาพยนตร์รูปแบบใหม่ที่เต็มอิ่มกว่าเดิมโดยผู้สร้างภาพยนตร์ชาวสิงคโปร์อย่างซิว ฮัว โหยว (Yeo Siew Hua) ซึ่งมาพร้อมกับการแสดงดนตรีสดจากนักดนตรีวงเบอร์ลิเนอร์ ฟิลฮาร์มอนิเกอร์ (Berliner Philharmoniker)
  • Remotes X Quantum  เกิดจากการร่วมมือระหว่างเอเลนอร์ หว่อง (Eleanor Wong) นักเขียนบทละครเวทีชื่อดัง กับจอห์น ตอร์เรส (John Torres) ศิลปินจากฟิลิปปินส์ ซึ่งผสานรวมภาพยนตร์เข้ากับศิลปะจัดวาง
  • The Neon Hieroglyph  โดยไท ชานิ (Tai Shani) ศิลปินชาวอังกฤษผู้คว้ารางวัลเทิร์นเนอร์ ไพร์ซ (Turner Prize) ประจำปี 2562 โดยเธอได้สร้างสรรค์ผลงานเดิมในรูปแบบใหม่ผ่านการแสดงของโจ คูคาธัส (Jo Kukathas) นักแสดงชาวมาเลเซีย
  • ออง เคง เซ็น ( Ong Keng Sen) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวสิงคโปร์ที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ นำเสนอผลงานเรื่อง SALOME นำแสดงโดยแจนิส โคห์ (Janice Koh) นักแสดงชาวสิงคโปร์ และไมเคิล ดาอูด (Michael(a) Daoud) นักแสดงจากเบอร์ลิน โดยใช้การสร้างภาพยนตร์สารคดีเป็นสื่อกลางในการเปิดเผยพิธีกรรมของภาพฉายและการสร้างตำนานในตนเอง
  • Ceremonial Enactments  โดย MAX.TAN, นาดี สิงหบุระ (Nadi Singapura) และบาห์สการ์ อาร์ตส์ อคาเดมี (Bhaskar’s Arts Academy) ได้จำลองเหตุการณ์ของพิธีกรรมทางวัฒนธรรม 3 อย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงแต่งงาน
  • Devil’s Cherry โดยพอล แร (Paul Rae) และเคลีน ตัน (Kaylene Tan) นำเสนอเรื่องราวสุดแฟนตาซีที่สะท้อนถึงความปรารถนาของคนทั่วไป การหลุดพ้นที่มั่นหมายไว้ และความฝันที่หดหาย โดยมีฉากหลังเป็นภาพชีวิตของชาวเมืองตัดกับพื้นที่ห่างไกลของออสเตรเลีย

รับชมเทศกาลศิลปะนี้ได้ผ่านงานดิจิทัลออนดีมานด์บน SIFA on Demand ด้วยผลงาน 4 ชิ้นที่จะจัดแสดงผ่านทางออนไลน์จนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ซึ่งได้แก่ MEPAAN, Ceremonial Enactments, Bangsawan Gemala Malam และ Delicate Spells of Mind สามารถซื้อตั๋วเข้าชมได้ที่ราคา 15 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหนึ่งการแสดง หรือ 25 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับชมการแสดงทั้ง 4 ชุด

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสดงงานทั้งหมดและตั๋วเข้าชมได้ที่ sifa.sg https://bit.ly/sifa2022

เว็บไซต์: https://sifa.sg

เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/sifa.sg

อินสตาแกรม: www.instagram.com/sifa_sg

ทวิตเตอร์: www.twitter.com/sifa_sg

ยูทูบ: www.youtube.com/c/ArtsHouseLimited

สปอติฟาย: https://tinyurl.com/sifasgspotify