บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมการประชุม พร้อมผู้นำธุรกิจ และผู้นำระดับโลกในการประชุมสุดยอดอาเซียนปี 2562 ชูแนวทางความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นหลักสำคัญ เพื่อก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างยั่งยืน
นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “มิติของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ามิติที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี อนาคตจะถูกกำหนดโดยความสมดุลระหว่างทั้งสองมิตินี้ว่าจะสามารถสนับสนุนและส่งเสริมกันได้เพียงใด การขับเคลื่อนด้วยทั้งบุคคล ภาคธุรกิจและรัฐบาล รวมไปถึงภาคสังคม การตลาด และกฎหมาย ก็จะมีบทบาทสำคัญ เราเชื่อว่าการร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต และช่วยให้มนุษย์ก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4จนถึงโลกอนาคตอย่างยั่งยืน”
ปัจจุบัน ประเทศในอาเซียนประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่รัฐบาลใดจะแก้ไขได้เพียงฝ่ายเดียว จากสถิติของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) สัดส่วนของประชากรไทยที่อยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน มีสูงถึง 7.9% ในปี 2560 และประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม
จากความท้าทายเหล่านี้ เชลล์ ประเทศไทย เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างเสริมศักยภาพบุคลากรอย่างเร่งด่วน ในประเด็นต่างๆ อาทิ:
●การกระจายรายได้ – ความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมและขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล
●การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและผลกระทบต่อแรงงาน – การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม จากการนำระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้แรงงานในประเทศอาเซียนประมาณ 28ล้านคนมีแนวโน้มที่จะต้องรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ตลอดระยะเวลาอีกสิบปีข้างหน้า
หนึ่งในหลายๆ โครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพมนุษย์ของเชลล์ คือ โครงการเติมสุขให้ทุกชีวิต ซึ่งเชลล์ ร่วมกับ มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ในการส่งเสริมพัฒนาโรงเรียนสำหรับผู้สมควรได้รับโอกาสและบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนและชุมชน ภายใต้โครงการดังกล่าว ในช่วงแรกของโครงการลูกค้า พันธมิตร รวมถึงพนักงานของเชลล์ได้ร่วมกันระดมเงินทุนเพื่อจัดให้โรงเรียน 12 แห่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับชุมชน นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้สร้างธุรกิจเล็กๆ ตั้งแต่การทำแปลงเพาะปลูก ไปจนถึงงานฝีมือ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการให้โอกาสในการเข้าถึงการสร้างรายได้ ซึ่งทำให้นักเรียนในโครงการมีอาชีพและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ภายใน 2-3 ปี
ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวได้มีการขยายไปสู่ 74โรงเรียน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากโรงเรียนต้นแบบ และดำเนินโครงการในแนวทางเดียวกัน โดยเข้าถึงนักเรียนในระดับประถมและมัธยมจำนวนกว่า 32,000 คน นอกจากนี้ มีการสนับสนุน “การเกษตรแบบอัจฉริยะ” ซึ่งช่วยให้ผู้ด้อยโอกาส อย่างเช่นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวสามารถทำการเกษตรได้ รวมถึงยังขยายผลจนเป็นโครงการระดับชุมชน โดยโรงเรียนได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนใกล้เคียง สิ่งเหล่านั้นจึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของเด็กและชุมชนในวงกว้างโดยทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างคุณค่าในตัวเองและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม
“กลุ่มผู้ด้อยโอกาสก็เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าได้ ในขั้นต่อๆ ไปของโครงการเรามีแผนที่จะขยายผล อาทิ ให้ทุนสนับสนุนโรงเรียนเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำหรับชุมชนใกล้เคียงซึ่งเข้ามาร่วมกับโครงการ ที่สำคัญ เด็กนักเรียนซึ่งอาจมีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จะไม่ใช่ผู้รอรับความช่วยเหลือ แต่กลับเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เชลล์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เด็กๆ มีความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่อไป” นายอัษฎากล่าวสรุป