อว.​ ผนึกกำลัง ม.ราชภัฏ​ 38​ แห่ง​ ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยว โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น​ ปีที่ 2

0
1113

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดกิจกรรม “การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2” ณ โรงแรม เซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2 ทั้ง 7 ภูมิภาค

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวในการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่เข้าสู่ชุมชนและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาด และได้รับเกียรติ​จาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น​ประธานเปิดงานฯ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้การต้อนรับ​และกล่าวรายงาน​ฯพร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และผู้บริหาร​ ม.ราชภัฏ​เข้าร่วมงานฯ

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกล่าวว่า กิจกรรมการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. สนับสนุนงบประมาณให้กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ทั่วประเทศ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยพัฒนาบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

ซึ่งเป็นการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจบริการมูลค่าสูง และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่สำคัญในการสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างทั่วถึงโดยมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จากแนวคิด BCG Model สู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศเป็นแนวทางที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนประเทศ ตามแนวทางของรัฐบาล โดยการใช้องค์ความรู้ด้านการวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์

ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้ง กิจกรรมในวันนี้ยังเป็นการสื่อสารเพื่อเชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อมาร่วมกันเสวนาถึง การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อนำไป สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้อย่างแท้จริงตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 เครือข่ายอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นักวิจัย และ ทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดผลงานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนด้วยการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็งด้วยการสนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากร และพัฒนาระบบนิเวศการวิจัยและ นวัตกรรมตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ได้สนับสนุนแผนงานวิจัยเรื่อง “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2” โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อ พัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งการดำเนินงานอาศัยกลไกความ ร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ และหน่วยงาน ภาคี ในการยกระดับขีดความสามารถ ของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชิงสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม เพื่อเพิ่ม มูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับการดำเนินงานได้ต่อยอดจากผลการดำเนินงานในปีแรก โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในประเภทต่าง ๆ โดยมีความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ สู่สาธารณชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับนโยบาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้  ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับ ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม

ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2565 วช. ได้สนับสนุนโครงการ “การยกระดับ ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิง นวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์ พื้นถิ่นด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรมบน ฐานเศรษฐกิจ BCG”  การบูรณาการต่อยอดให้เกิด ความยั่งยืนด้วยทุนทางทรัพยากรชุมชนสู่ นโยบายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศด้วยแนวคิด BCG Model เพื่อเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ สำคัญที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้าง อาชีพที่หลากหลาย การหมุนเวียนของ รายได้ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน ชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาคได้อย่างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ ภายในงานมีการแสดง​นิทรรศการและผลิตภัณฑ์​จากโครงการ​วิจัย​ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2 ทั้ง 7 ภูมิภาค​ อาทิเช่น​ ภาคกลาง​ “ผลิตภัณฑ์​กัญชาน้ำผึ้ง​มะนาว​ จากเครือข่าย​กลุ่ม​ศรีอยุธยา” โดยวิสาหกิจ​ชุมชน​ ตำบล​คลอง​จิก​ ภาคเหนือ​ “ผลิตภัณฑ์​ประดิษฐ์​จากเศษผ้า” ภาคอีสาน  “ผลิตภัณฑ์​โทนเนอร์​บัวแดง” และ​ ภาคใต้​ “ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก” เป็น​ต้น​ และการนำเสนอ​ภาพรวม​การดำเนินแผนงาน​ โดย​ ดร.สัญชัย​ เกียรติ​ทรงชัย​ ผู้​อำนวยการ​แผนงานวิจัย

การบรรย​าย ในหัวข้อ​ เรื่อง “การทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย” ในการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวฯ และการเสวนาแนวทางการนำเสนอ​ผลงานวิจัย​ไปใช้​ประโยชน์​ โดย​ วิทยากรจากหน่วยงาน​ต่าง​ ๆ​ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ นำเสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน