วันที่ 28 เมษายน 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำโดย ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตลาดร้อยปี คลอง 12 หกวา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้แผนงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research : CBR) ประจำปี 2565 (ภาคกลาง)
โดยมี ผศ.ดร.ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการ “การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำของชุมชน ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ด้วยการพลิกฟื้นตลาดเก่าและย่านเมืองเก่า 100 ปี คลอง 12 หกวา ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน” และ ผศ.ดร.พิษณุ แก้วตระพาน แห่ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดำเนินการโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบสภาผู้นำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ 4 สายคลอง (คลอง 10-13) สู่การรองรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจของเกษตรกร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี” พร้อมนี้ ผศ.ดร.ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กลไกบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากภาคกลาง คณะนักวิจัยและผู้นำชุมชน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลลำไทร นายกสมาคมสภาองค์กรชุมชนคนปทุมธานี ผู้ประสานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดปทุมธานี เจ้าของตลาด ผู้ประกอบการร้านค้า ให้การต้อนรับ
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.อว. กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น จากโครงการ U2T และการวิจัยโดย วช. มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ภายใต้แผนงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research : CBR) ประจำปี 2565 (ภาคกลาง) ซึ่ง วช. ได้ให้ทุนวิจัยแก่ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ ในการดำเนินโครงการ “การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำของชุมชน ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ด้วยการพลิกฟื้นตลาดเก่าและย่านเมืองเก่า 100 ปี คลอง 12 หกวา ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน” เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็งของคนในชุมชน ด้วยการพลิกฟื้นตลาดเก่าและย่านเมืองเก่า 100 ปี คลอง 12 หกวา ผ่านกระบวนการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวและสร้างระบบกลไกในด้านท่องเที่ยววิถีชุมชนย่านเมืองเก่า ตลาดดร้อยปี คลอง 12 แห่งนี้ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน และสำหรับโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบสภาผู้นำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ 4 สายคลอง (คลอง 10-13) สู่การรองรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจของเกษตรกร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี” และสนับสนุน สจล. นำองค์ความรู้มาจัดการรูปแบบของสภาผู้นำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 4 คลอง ตั้งแต่คลอง 10 ถึงคลอง 13 โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ในการดำเนินงาน ซึ่งจะสร้างความร่วมมือกันระหว่างเกษตรกร ผ่านการร่วมคิดร่วมดำเนินการภายใต้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ผศ.ดร.ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ แห่ง มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. ให้ดำเนินการโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำของชุมชน ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ด้วยการพลิกฟื้นตลาดเก่าและย่านเมืองเก่า 100 ปี คลอง 12 หกวา ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT)” เป็นงานวิจัยที่เกิดจากการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ร่วมกับนักวิจัยชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ย่านเมืองเก่า ให้กับมาพลิกฟื้นโดยผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนที่เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนด้วยการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและสร้างระบบกลไกในด้านท่องเที่ยววิถีชุมชนย่านเมืองเก่าบนฐานการมีส่วนร่วมชุมชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการมีส่วนร่วมชุมชน โดยมีกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
ด้าน ผศ.ดร.พิษณุ แก้วตระพาน แห่ง สจล. หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบสภาผู้น าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ 4 สายคลอง (คลอง 10-13) สู่การรองรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของเกษตรกร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี” ได้รับทุนจาก วช. เพื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์ สถานการณ์ของการทำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ 4 สายคลอง ตั้งแต่คลอง 10 ถึงคลอง 13
โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร มีการพัฒนารูปแบบและกลไกสภาผู้นำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ สู่การรองรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจของเกษตรกร และสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของเกษตรกร การวิจัยมีลักษณะเป็นงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยการวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตการณ์ และมีการใช้เครื่องมือวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม เช่น timeline แผนที่เดินดิน โอ่งชีวิต และ ตุ๊กตาเกษตรกร เป็นต้น งานวิจัยนี้ มีการขับเคลื่อนผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัย ชุมชน เกษตรต้นแบบ และภาคีเครือข่าย ผ่านการร่วมคิดร่วมดำเนินการภายใต้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ในการนี้ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.อว. และคณะ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของโครงการวิจัยทั้งสองโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. พบว่า ตลาดร้อยปีแห่งนี้ มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากได้ อีกทั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ยังได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่นักวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป