สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?

0
2404

ช่วงหน้าฝน  อากาศมีความชื้นสูง สภาพพื้นเปียกแฉะเหมาะแก่การสะสมและเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงโรคพยาธิ ที่มักจะมาพร้อมกับหน้าฝนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือได้เห็นภาพฟิล์มเอกซเรย์ ที่เต็มไปด้วยพยาธิชอนไชเต็มร่างกายของผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการคันไปทั้งตัว ก็อาจจะทำให้มองภาพความน่ากลัวของเจ้าตัวปรสิตนี้ได้ชัดเจนขึ้น  ไม่ใช่เพียงแค่หน้าฝนเท่านั้น แต่การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ป่วยเป็นโรคพยาธิด้วยเช่นกัน  บทความฉบับนี้ ทีมเภสัชกร บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์คุณภาพชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคพยาธิและวิธีปฏิบัติตัวรู้เท่าทันโรคพยาธิ (อ้างอิงข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) มาฝากกัน

มาทำความรู้จักโรคพยาธิกันก่อน 

โรคพยาธิ คือ โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตประเภทปรสิต ( parasite ) ซึ่งตัวพยาธิอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และเจริญเติบโต และแย่งสารอาหารต่าง ๆ ของร่างกาย ตัวพยาธิสามารถเพิ่มจำนวนและเป็นอันตรายต่อร่างกาย และที่น่ากลัวคือ ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่าง ๆ หลายชนิด 

โรคเกี่ยวกับพยาธิ เกิดจากพยาธิ 3 กลุ่ม คือ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และ พยาธิใบไม้ 

พยาธิตัวกลม เ ป็นพยาธิที่มีลักษณะกลม ไม่มีปล้อง มักพบในเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงพืชผักที่ไม่สะอาอาด โรคจากพยาธิตัวกลม เช่น โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิปากขอ โรคพยาธิตัวจี๊ด โรคพยาธิแส้ม้า พยาธิสตรองจีลอยด์ และ โรคเท้าช้าง เป็นต้น

พยาธิตัวแบน หรือ เรียกว่า พยาธิตัวตืด เป็นพยาธิที่มีลักษณะแบน มีปล้อง พบในเนื้อสัตว์ โรคเกี่ยวกับพยาธิตัวแบน เช่น โรคพยาธิตัวตืด เป็นต้น

พยาธิใบไม้ เป็นพยาธิที่มีลักษณะ ลำตัวแบนเหมือน  พยาธิตัวแบน แต่ไม่มีปล้อง  พบในสัตว์น้ำ โรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรคพยาธิ 

เกิดจาการรับพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย โดยช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของพยาธิ สามารถสรุป ได้ดังนี้

เข้าทางปาก จากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ หรือ ตัวพยาธิ

เข้าทางผิวหนัง เกิดจากการเข้าทางแผล หรือ สัตว์อื่นที่เป็นพาหะ เช่น ยุงกัด เป็นต้น

อาการเบื้องต้นที่สังเกตุได้ 

สำหรับผุ้ป่วยโรคพยาธิ มีอาการไม่เด่นชัดนัก แต่พอที่สามารถสังเกตุได้ โดยน้ำหนักตัวลด  ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียบ่อย หิวบ่อย มีอาการบวมแดง หรือ เป็นตุ่มนูน หรือ ผื่นแดง หรือ คัน ที่ผิวหนัง ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ตาพร่ามัว ตัวเหลือง ท้องบวมโต

เก็บอุจจาระตรวจวินิจฉัย

การตรวจโรคพยาธิ สามารถทำได้โดยการตรวจทวารหนัก ตรวจอุจจาระ ซึ่งควรเก็บอุจจาระในช่วงตื่นนอนตอนเช้าใหม่ จะทำให้มีโอกาสตรวจพบพยาธิมากที่สุด

แนวทางการรักษา

สำหรับการรักษาโรคพยาธิ ในปัจจุบันรักษาโดยการรับประทานยาถ่ายพยาธิ ซึ่งการรับประทานยาแบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้

Albendazole  สามารถใช้กำจัดพยาธิได้ทุกชนิด เช่น พยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด  ยกตัวอย่างยาชื่อการค้า “ALBEN” เป็นต้น 

Mebendazole สามารถใช้กำจัดพยาธิตัวกลม เช่น พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวจี๊ด ยกตัวอย่างยาชื่อการค้า “Fugacar” เป็นต้น

Niclosamide สามารถใช้กำจัดพยาธิตัวตืด เช่น พยาธิตัวตืดหมู พยาธิตัวตืดวัว เป็นต้น

วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากโรค

การป้องการการเกิดโรคพยาธิ ต้องป้องกันการที่ตัวพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย ต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

  • กินอาหารที่ปรุงสุก
  • ล้างผักให้สะอาดก่อนรับประทาน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำที่สะอาด
  • ต้องเก็บรักษาอาหารไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้าไปวางไข่
  • หากมีแหล่งน้ำขังต้องไม่ลุยน้ำหรือการสัมผัสกับน้ำ ต้องสวมรองเท้าบูทป้องกัน
  • ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ป้องกันการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย และ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า

เนื่องจากพยาธิมีหลายกลุ่ม และยารักษามีหลายชนิด หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่าถ่ายพยาธิเอง ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดก่อนเสมอ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับไบโอฟาร์มทาง Line Official : @biopharm ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm