สภาองค์การนายจ้างฯ ยื่นคัดค้านฯ ประธานวุฒิสภา-ประธานรัฐสภา แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ชู 8 ประเด็นไม่เห็นด้วย

0
1112

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 : คณะประธานสภาองค์การนายจ้างทั้ง 14 สภา นำโดย นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) และนางสิทธิรัตน์ โหตระไวศยะ นายกสมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พร้อมด้วยคณะ เข้ายื่นหนังสือขอคัดค้านแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. … ต่อท่านประธานวุฒิสภา และท่านประธานรัฐสภา ณ จุดแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) เนื่องจากมีสาระสำคัญของกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลายประเด็น

นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ กล่าวว่า สาระสำคัญของการยื่นคันค้าน การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมีหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วยของกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มงบประมาณของภาครัฐ และเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงประเทศชาติท่ามกลางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมีเอกสารประกอบการพิจารณาในข้อเสนอ “ความไม่เห็นด้วยในการจัดตั้งพระราชบัญญัติฯฉบับนี้” พร้อมแถลงจุดยืนคัดค้านร่าง แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ….. 8 ประเด็นหลักไม่เห็นด้วย

สำหรับสาระสำคัญของการยื่นคันค้าน การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมีหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วย เช่น 1. การเพิ่มบทนิยามคำว่า “การจ้างงานรายเดือน” (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5) เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนของนายจ้าง มากกว่า 30% โดยไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือ Productivity มารองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่เป็นการทำสัญญาของนายจ้างและลูกจ้างโดยถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้วและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงไม่ควรบังคับ2. การแก้ไขเพิ่มเติมหลักการปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้างให้เท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติอันเขาพึงมีตามกฎหมาย (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 15) ในเรื่องนี้แนวทางปฏิบัติเดิมตามกฎหมายมีบังคับใช้อยู่แล้ว ตาม พ.ร.บ.เดิม มาตรา 4 และไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมในมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3. การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง โดยปรับลดชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23) การแก้ไขกรณีนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การลดชั่วโมงการทำงานเหลือ 7 ชั่วโมงเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้นายจ้างมากกว่า 20% โดยไม่มี Productivity มารองรับ ซึ่งเรื่องนี้ควรเป็นเรื่องของนายจ้างและลูกจ้าง ที่จะใช้แรงงานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาความอยู่รอดขององค์กร4. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับสถานประกอบการที่มีนายจ้างรายวันและรายเดือน นายจ้างต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ (เพิ่มเติม มาตรา 23/1) การคัดค้านเพราะเห็นว่า เรื่องการจ้างงาน นายจ้างมีสิทธิจ้างลูกจ้างเป็นรายวัน ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ควรเป็นเรื่องการออกกฎมาบังคับใช้ ในส่วนของลูกจ้างรายวันก็จะได้รับเงินตามผลงานที่พึงได้ ก็ควรเป็นเรื่องที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงร่วมกัน5.การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันหยุดประจำสัปดาห์ โดยเพิ่มวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสองวันต่อสัปดาห์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 28) การแก้ไขกรณีนี้ จะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนขององค์กรมากกว่า 20%

ซึ่งทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่องค์กรควรมีสิทธิในการใช้แรงงานสัมพันธ์ เจรจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ถึงความอยู่รอดขององค์กรว่าจะหยุดอย่างไร จะหยุดสลับกัน หยุดเฉพาะเสาร์ อาทิตย์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรแต่ละองค์กรจะรับได้แค่ไหน โดยไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจนสูญเสียรายได้ทางการตลาด6.การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เมื่อทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน ให้มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบวัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 30) ซึ่งการพักผ่อนประจำปีนี้เป็นสิทธิของนายจ้าง ที่ให้สิทธิพนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี แล้วจึงมีสิทธิลาพักร้อนได้ 6 วัน ในลักษณะของงานที่ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 120 วัน ยังคงอยู่ในสภาพทดลองงานเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่เห็นควรจะแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ เป็นต้น.7. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างกรณีงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันหรือปริมาณเท่ากันให้ได้รับ ในเรื่องนี้มีข้อกำหนดอยู่ในมาตรา 9 ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมและข้อที่ 8. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

โดยให้ถืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรืออัตราเงินเฟ้อ (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 83) การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างอยู่แล้ว ไม่ควรมีการแทรกแซงโดยใช้หลักการอื่นมาทดแทน หากมีการแก้ไขตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับนี้ จะเป็นการทำลายไตรภาคีค่าแรงขั้นต่ำค่าจ้างมาตรฐานฝือมือแรงงานขึ้นปีละ 1% ตามจำนวนปีที่ทำงาน ให้เท่าเทียมกันซึ่งจะต้องพิจารณาตามประสบการณ์ ความสามารถเป็นหลักอยู่แล้ว