ที่ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และธนาคารโลก ร่วมกันจัดงาน “ทิศทางวิจัย X นวัตกรรม 2568” ภายในงานมีเวทีเสวนาหัวข้อ “สานพลังตอบโจทย์การกำหนดทิศทางและเป้าหมายการลงทุนด้าน ววน.” โดยมี ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. Ms. Melinda Good, Country Director for Thailand and Myanmar จากธนาคารโลก ดร.วิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและวิจัย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมี คุณศรัยฉัตร กุญชร ณ อยุธยา จีระแพทย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ดร.สุรชัย กล่าวว่า สำหรับ สอวช. ก่อนหน้านี้มีหน้าที่ในการช่วยดู Indicator ของประเทศไทยว่ามีแรงกิ้งโลกอย่างไรบ้าง เราได้ร่วมกับ สกสว. และเวิลด์แบงก์ เห็นตัวเลขที่น่าพอใจและสะท้อนความเป็นจริงขึ้น ถือว่าได้เกรด B+ ถามว่าต้องทำอะไรต่อ เราเป็นสำนักงานต้นน้ำที่จะต้องทำแผนและงบประมาณร่วมกับ สกสว. มีประโยชน์อย่างมากที่เราจะได้รู้สุขภาพอย่างแท้จริงของประเทศ เรื่อง ววน. ไม่ช้าเกินไปที่จะปรับตัวเลขต่อเนื่อง ถ้าดูตัวเลขในระดับประเทศ เราจะดูตัวเลขใหญ่ ๆ สามตัวนอกจาก SRI Index ที่ได้ B+ เราดูการลงทุนของภาครัฐ 1 กว่าเปอร์เซ็นต์จีดีพี ดูบุคลากรวิจัยพัฒนา 25 คนต่อ 10,000 ดูสัดส่วนการลงทุนภาคเอกชนกับภาครัฐ โดยภาคเอกชน 73% ภาครัฐ 27% ภาคเอกชนยังมีจะช่วยได้มาก เรามองว่าให้ภาครัฐเสริมภาคเอกชน โดย 10 เทคโนโลยี เห็นด้วยหมด คือ อยากจะแตกประเด็นเรื่อง Climate Tech เทคโนโลยี ซึ่งจะครอบคลุมกับหลายเรื่องที่ต้องจับตาดู เป็นนโยบายระดับโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนนโยบายนี้
ด้าน ศ. ดร.สมปอง กล่าวว่า สกสว. มีบทบาทสำคัญ คือ การนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ บนฐานองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีแผนและงบประมาณเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ “SRI for ALL” ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. 2) การบริหารจัดการองค์กร และ 3) การบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้ “หาเงินได้ ใช้เงินเป็น เห็น Impact” จะทำให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อน ววน. และที่สำคัญมาก คือ การทำงานร่วมกันกับพาร์ตเนอร์ ทั้งที่เป็นพาร์ตเนอร์ระดับนานาชาติ เช่น เวิลด์แบงก์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเราหากลไก กระบวนการและบอกว่าปัจจุบันเราลงทุนแล้วได้ผลประมาณนี้ ถ้าลงทุนเพิ่มขึ้นก็ควรมีอะไรที่มากขึ้นและทำให้ประเทศชาติเจริญเติบโตโดยอาศัย SRI
ผอ.สกสว. กล่าวเสริมว่า การที่เราจะต้องเสริมตอนนี้ คือเรื่องนโยบายตามที่ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างนักวิจัย การทำงานร่วมกันแบบพาร์ตเนอร์ ซึ่งเชื่อมโยงคำว่า ถักทอสานพลัง ที่จะต้องทำงานกับพาร์ตเนอร์แบบไร้รอยต่อด้วยกลยุทธ์ “SILK” คือ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของ สกสว. มุ่งสร้างผลกระทบเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนด้าน ววน. ของประเทศและในระดับสากล ประกอบด้วย SYNERGY & BOUNDARYLESS : การสานพลัง Stakeholder & Strategic Partner INTELLIGENT SRI SYSTEM : ยกระดับระบบ SRI รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ Intelligence และโปร่งใส LEAP TECHNOLOGY INVESTMENT : มุ่งเน้นการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายและสร้าง New S-Curve และ KNOWLEDGE GOVERNANCE – SRI FOR ALL : สร้างระบบแพลตฟอร์มเพื่อนำความรู้ของระบบ ววน. ไปใช้ และจากนี้ สกสว. จะขับเคลื่อนฉากทัศน์ใหม่เพื่อพลิกโฉมประเทศสู่อนาคต
ด้าน Ms. Mellinda Good กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีการจัดทำเกณฑ์วัดอันนี้ขึ้นมา เพื่อวัดความสำเร็จ แปลว่าเราจะจัดสรรหรือกระจายเงินทุนเพื่อผลักดัน ววน. ในประเทศไทยไปอย่างไร เรามาจากวอชิงตัน แต่เราเรียนรู้จากประเทศไทยด้วยซ้ำ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับระบบเศรษฐกิจของโลก วิธีการที่ประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มในการพัฒนาแข็งแกร่งมาก สามารถรับมือ มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จในการใช้ SRI ทำให้ประเทศมีรายได้สูงขึ้น ย้ำว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวจริง ๆ ที่มีการจัดทำดัชนีนี้ขึ้นมาชี้วัด ในวิดีโอพรีเซนเทชัน ช่วงที่ได้คุยกับรัฐมนตรีของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ที่มีงานใหญ่ของไอเอ็มเอฟ บอกเลยว่านี่เป็นงานใหญ่จริง ๆ และทุกประเทศจะได้มาเรียนรู้เรื่องนี้กับประเทศไทย และสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของประเทศไทย SRI เป็นนวัตกรรมในตัวมันเอง ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานนี้ การให้ความรู้และสนับสนุนทุกภาคส่วน วิทยาศาสตร์ งานวิจัยและนวัตกรรม มีความสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไป
“การจัดทำดัชนีมันไม่ง่าย แต่การนำเอาดัชนีที่เราจะทำขึ้นมาเพื่อไปส่งเสริมการกำหนดนโยบายที่จะนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ยากกว่า หนึ่งในข้อมูลที่เห็นการเสนอคือเรื่องของกราฟที่แสดงให้เห็นจากจำนวนคนที่จบการศึกษาด้านนี้ นั่นคือเรื่องของศักยภาพ แต่การที่เราไม่ใช้งานคนเหล่านั้นหรือการจ้างงานยังน้อยอยู่ ในมองมุมไม่ใช่เรื่องยาก สามารถแก้ไขได้คือการมาพูดคุยกันแบบนี้ การนำเอาดัชนีที่เราจัดขึ้นไปผลักดันให้เป็นนโยบายให้เกิดการสร้างงานเป็นแนวทางที่ประเทศอื่น ๆ อย่างเช่นเกาหลี มีการผลักดันเรื่องของ ววน. ให้ไปสู่ภาคเอกชน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่พัฒนาประเทศของเขาเช่นเดียวกัน” Ms. Mellinda Good กล่าวทิ้งท้าย
Ms. Mellinda Good กล่าวอีกว่า สำหรับภารกิจของเวิลด์แบงก์ในการส่งเสริมประเทศไทยคืออะไรนั้น เราทำงานร่วมกับประเทศที่เป็นพันธมิตร คือการผลักดันเรื่องนี้ หนึ่งในภารกิจของเราในโลกที่มีความซับซ้อน จะถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ประเทศเราจะบรรลุเป้าหมาย ถ้าไม่ปรับตัวเข้ากับการทำเทคโนโลยี แน่นอนว่าเวิลด์แบงก์ก็ทำงานกำจัดความยากจนของโลก แต่เราก็มีพันธกิจเรื่องการทำให้โลกนี้น่าอยู่สำหรับทุกคน ดังนั้นคำถามที่ว่าเวิลด์แบงก์จะสนับสนุนประเทศไทยอย่างไร จะบอกว่า เมื่อเรามีดัชนีแล้วการกระจายเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปสู่ภาคต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เวิลด์แบงก์จะมาช่วยในจุดนี้
ดร.วิบูลย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกับ สกสว. กองทุน ววน. พยายามผลักดันให้มี Impact มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถเป็นพาร์ตเนอร์ที่มีทิศทางและวางแผน ภาคเอกชนมีแนวคิด การหาเงินได้ ใช้เงินเป็น เดี๋ยวก็มี Impact ตามเอง เราได้ทำงานร่วมกับ สกสว. ในมิติที่ชัดเจน คือ การซ่อมโครงการ Joyce Investment มีการปรับปรุงสตาร์ตอัปไทยอย่างสำคัญ แต่เราหวังว่าจะมีอีกหลายอย่างที่สามารถเป็นการทำงานร่วมกันกับ สกสว. โดยกลุ่มเป้าหมายถ้าผลักดันให้การลงทุนภาครัฐแตะหลัก 2% ของจีดีพีได้ จะมี Impact ปลายทางอย่างยิ่ง สภาอุตสาหกรรมก็ต้องการที่จะโฟกัส ทำให้กองทุน ววน. มีทิศทางเหมือนกัน
ดร.วิบูลย์ มองว่า ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีอยู่มาก โดยยกตัวอย่างการที่ NVDIA มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก แรก ๆ ขายการ์ดจอไม่กี่บาท แต่สิ่งที่ทำให้ NVDIA เจริญเติบโตขึ้นมามีมูลค่าสูงที่สุดคือนำเทคโนโลยีเข้าไปและเปลี่ยนการ์ดจอธรรมดาให้กลายเป็นจีพียูแผ่นละ 100,000 กว่าบาท ในมุมมองของการธุรกิจ เราไม่สามารถกระโดดไปได้ ถ้าไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้าไป ไม่มีใครอยากว่ายน้ำตลอดต้องอยากนั่งสปีดโบตบ้าง ส่วนว่าทิศทางวิจัยและนวัตกรรม สภาอุตสาหกรรมมีแนวทางที่จะเชื่อมต่ออย่างไรเพื่อตอบโจทย์ภารกิจ โดยมีงานวิจัยนวัตกรรมเสริมนั้น นโยบายอุตสาหกรรมมีโกลด์สองอย่าง คือ โกลด์อินโนเวชันกับโกลด์ดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายของสภาอุตสาหกรรมที่คิดว่าเราต้องการนำมาเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ไปในทิศทางเน้น Impact เป็นหลัก โดยทิศทางต้องตรงกัน
ด้าน นายศุภชัย กล่าวว่า การร่วมมือกับ สกสว. ผลักดันหลายเรื่องและมาได้ในเวลาเหมาะสมที่ช่วยผู้ประกอบการได้ ต้องยอมรับว่าถ้าย้อนไป 10 ปีที่ผ่านมา เราเจอกับดิสรัปชันที่มาจากดิจิทัลและมาโดนซ้ำอีกจนต้องปรับตัว และก็จะมีดิสรัปชันเจนเนอเรชัน ซึ่งดิสรัปชันที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการต้องปรับตัวและอยู่รอด จะทำแบบเดิมไม่ได้ ววน. ที่เป็นแผนให้ สกสว. ขับเคลื่อน จับต้องได้โดยการให้สมาชิกไปมีส่วนร่วมและเอางานวิจัยไปต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นทางเดียวที่ทำให้ผู้ประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน สิ่งที่สำคัญมากวันนี้ คือช่วยผู้ประกอบการทรานส์ฟอร์มธุรกิจหา New S-Curve มาโดยตลอด จะเห็นชัดว่าผู้ประกอบการที่มีโอกาสจะไปต่อ ได้ไอเดีย ใครก็คิดได้ แต่ถ้าจะไปต่อได้ต้องมีงานวิจัยนวัตกรรม จะเกิดความแตกต่างและเสริมศักยภาพการแข่งขัน นอกจากความท้าทายของผู้บริโภคต้องการอะไรแค่นั้นไม่พอ การทำโจทย์ต้องมีนวัตกรรมและงานวิจัย เช่น ธุรกิจหอยดองทำมา 40 50 ปี รายได้ 400 – 500 ล้านบาท คนรุ่นใหม่เอาวิจัยและนวัตกรรมไปใส่ เริ่มทำอบแห้ง ฟูดเซฟตี้ ลดโซเดียม เปิดตลาดใหม่ หรือสมุนไพรที่เอางานวิจัยนวัตกรรมไปใส่ แม้เป็นตำรับตำรายาที่มาเป็น 100 ปี แต่งานวิจัยมาสนับสนุนข้อมูลตอบโจทย์เรื่อง Health Tech เทคโนโลยี ถ้าไม่มีงานวิจัยก็จะเป็นหน่วยวัดว่าไม่สามารถไปสู่โลกได้ ส่วนนโยบายหลักของหอการค้าไทยเน้นคอนเทนต์สามารถเติมเต็มเชื่อว่าเราเสริมสร้างได้ดี ส่วน Impact เป็นโจทย์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อยู่ที่เราจะพูดอะไรเข้าไป