ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้ อสะสมสูงถึง 4.1 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 2.8 แสนราย ทำให้ทั้งกองทุนการเงินระหว่ างประเทศ หรือ IMF และองค์การการค้าโลก หรือ WTO คาดว่าเศรษฐกิจและการค้าโลกในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ -3.0 และ -12.9 (%yoy) ตามลำดับ โดยเฉพาะในประเทศที่มี การระบาดรุนแรงในระดับสูงมาก เช่น สหรัฐฯ และ ทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดื อนเมษายน 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในหลายประเทศจะเริ่มส่งสั ญญาณระดับความรุนแรงที่ลดลงบ้ างแล้วก็ตาม ซึ่งประเทศดังกล่าวได้มีการเริ่ มผ่อนคลายและลดความเข้ มงวดของมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาด แต่ก็ยังคงเป็นไปด้วยความระมั ดระวังเพื่อป้องกันและลดการเกิ ดการแพร่ระบาดรอบใหม่ หรือเช่นประเทศจีนที่เริ่มมี การแพร่ระบาดรอบใหม่ ก็ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุ มเข้มงวดบางมาตรการใหม่อีกครั้ งหนึ่ง
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์จะไม่รุ นแรงมากนักเมื่อเทียบกับในอี กหลายประเทศ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ อระบบเศรษฐกิจของไทยยังคงมี ความรุนแรงและคาดว่าเศรษฐกิ จไทยจะได้รับผลกระทบสูงที่สุ ดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยและ IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 อาจมีแนวโน้มหดตัวสูงถึงร้อยละ -5.3 และ -6.7 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศไทยมีการพึ่ งพาภาคการท่องเที่ยวและการส่ งออกสินค้าในระดับที่สูงมาก ระบบเศรษฐกิจจึงได้รับผลกระทบต่ อเนื่องจากปัจจัยภายนอกรุนแรง ทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่ างชาติที่หายไป รวมถึงการส่งออกของไทยมีแนวโน้ มหดตัวจากการชะลอตัว/หดตั วของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ าสำคัญไม่ว่าจะเป็นอาเซียน (สัดส่วนส่งออก : 25.5%) สหรัฐฯ (สัดส่วนส่งออก : 12.8%) จีน (สัดส่วนส่งออก : 11.8%) ญี่ปุ่น (สัดส่วนส่งออก : 10.0%) และอียู (สัดส่วนส่งออก : 8.6%) เป็นต้น
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยนอกจากจะได้รั บผลกระทบจากรายได้จากการท่องเที่ ยวและการส่งออกที่หายไปแล้ว ยังได้รับผลกระทบเพิ่ มจากมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของไวรั สของภาครัฐ โดยเฉพาะการ Lockdown พื้นที่และหลายกิ จกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งแม้ว่าจะได้รับความร่วมมื อจากทุกภาคส่วนและสามารถควบคุ มการระบาดได้อย่างน่าพอใจ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ อระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หลี กเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบที่ต่อเนื่องถึ งการจ้างงาน การอยู่รอดของกิจการ และการลดลงของกำลังซื้ อของคนในประเทศ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้เกิดขึ้ นเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิ จและกลุ่มธุรกิจใน Sector ต่างๆ เกือบทั้งหมดของประเทศ
■ แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจหลั งจบ COVID-19
ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 แม้จะมีความรุนแรง แต่เมื่อวิกฤตการระบาดผ่านพ้ นและหากสถานการณ์ทุกอย่ างสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ได้ภายในครึ่งปีหลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตั วแบบค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะ U-Shape และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคาดว่ าจะทยอยฟื้นตัว แต่จะใช้เวลาในการฟื้นตัวมากหรื อน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะจำเพาะหรื อโครงสร้างของแต่ละกลุ่มธุรกิ จที่มีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงความรุนแรงของผลกระทบที่ ได้รับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้บางกลุ่มธุรกิจอาจฟื้ นตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางกลุ่มธุรกิจอาจต้ องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นตัวนาน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้คาดการณ์แนวโน้มการฟื้นตั วของกลุ่มธุรกิจหลัง COVID-19 โดยพิจารณาและศึกษาจากผลกระทบที่ ธุรกิจได้รับจากปัจจัยต่างๆ เช่น การชะลอตัว/หดตัวของภาคเศรษฐกิ จภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก รวมถึงผลกระทบจากการ Lockdown ประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุ รกิจ โดยแต่ละธุรกิจล้วนได้รั บผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวมากน้ อยแตกต่างกันไปตามโครงสร้ างของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ความสามารถในการบริหารจัดการ ความแข็งแกร่งของธุรกิจด้ านการเงิน เช่น เงินทุนหมุนเวียน/เงิ นสำรองของกิจการ ภาระหนี้สินของกิจการ ดังนั้น การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจจึงมี ระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งธุรกิจ ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
☆กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้ มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ เร็ว (ภายใต้สมมติฐานเปิ ดประเทศภายในครึ่งปีหลัง และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิ จของประเทศสามารถทำได้อย่ างรวดเร็ว) ธุรกิจการขนส่งสินค้ าและโดยสารทั่วไป (ทางบกและทางน้ำ), ธุรกิจสื่อสาร, ธุรกิจคลังสินค้า, ธุรกิจไปรษณีย์/การรับส่งของ, ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร, ธุรกิจสุขภาพ (การแพทย์และอนามัย), ธุรกิจขายปลีกสมัยใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น, ธุรกิจผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์/ การแพทย์, ธุรกิจผลิตอะไหล่รถยนต์/รถจั กรยานยนต์, ธุรกิจประกันสุขภาพ และธุรกิจการศึกษาออนไลน์
-กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้ มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ ปานกลาง (ภายใต้สมมติฐานเปิ ดประเทศภายในครึ่งปีหลัง และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิ จของประเทศสามารถทำได้อย่ างรวดเร็ว)
ธุรกิจการขนส่งโดยสารเพื่อการท่ องเที่ยว (ทางบกและทางน้ำ), ธุรกิจโรงแรม, ตัวแทนธุรกิจเดินทาง/นำเที่ยว, ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจบันเทิง, ธุรกิจขายส่งขายปลีกที่เป็ นรายย่อย, ธุรกิจผลิตเครื่องดื่ม,
ธุรกิจผลิตกระเบื้อง/เครื่องปั้ นดินเผา/ผลิตภัณฑ์แก้ว, ธุรกิจผลิตเครื่องจักร, ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ธุรกิจกระดาษ, ธุรกิจเคมีภัณฑ์, ธุรกิจเหล็ก, ธุรกิจผลิตซีเมนต์/คอนกรีต, ธุรกิจประมงฯ,ธุรกิจก่อสร้าง, สถาบันการเงิน, ธุรกิจประกันภัย/ประกันอุบัติ เหตุ และธุรกิจการศึกษา
-กลุ่มธุรกิจที่คาดว่ามีแนวโน้ มการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ ช้า
ธุรกิจขนส่งทางอากาศ (สายการบิน), ธุรกิจผลิตเชื้อเพลิง, ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม หากว่าสถานการณ์การแพร่ ระบาดของไวรัส COVID-19 สิ้นสุดลง และคาดว่าธุรกิจจะทยอยฟื้นตัวซึ่ งอาจใช้ระยะเวลาฟื้นตัวและกลั บมาดำเนินการที่แตกต่างกันไป แต่คาดว่าจากเหตุการณ์นี้จะมีธุ รกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดกิ จการไปเนื่องจากอาจเป็นธุรกิ จขนาดเล็ก มีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะหล่ อเลี้ยงพนักงานและธุรกิจในช่ วงที่มีปัญหาต่อเนื่องกั นหลายเดือน หรืออาจเป็นธุรกิจที่เข้าถึ งแหล่งเงินทุนและความช่วยเหลื อจากภาครัฐได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้ไม่สามารถก้าวผ่านวิ กฤตในครั้งนี้ไปได้ นอกจากนี้จากการที่ประเทศพึ่ งพารายได้จากการส่งออกและการท่ องเที่ยวเป็นหลัก ล้วนส่งผลให้การฟื้นตัวของธุรกิ จส่วนใหญ่ของประเทศต้องขึ้นอยู่ กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิ จประเทศคู่ค้าหลักที่ไทยมีการส่ งออก หรือเป็นประเทศหลักที่สร้ างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กั บประเทศไทย ซึ่งบทเรียน COVID-19 น่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลให้ธุรกิ จควรต้องตระหนักถึงการเตรียมพร้ อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ ไม่คาดคิด อาทิ ไม่ควรหวังการพึ่งพารายได้ จากภายนอกประเทศโดยเฉพาะประเทศใ ดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป ควรมีการสำรองเงินทุนให้เพี ยงพออย่างน้อย 6 เดือนเพื่อเป็นสภาพคล่องยามฉุ กเฉิน และไม่ควรมีภาระหนี้สินที่ มากจนเกินไป รวมถึงสัดส่วนของรายได้ ควรจะกระจายกลุ่มลูกค้าเพื่ อลดความเสี่ยงให้กับกิจการ
ทั้งนี้ ในระยะยาวธุรกิจควรต้องเตรี ยมปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโลกของธุรกิจ รวมถึง New Normal ใหม่ ๆ ของสังคมที่จะทำให้บางธุรกิจถู กพลิกโฉมไปตลอดกาล อาทิ
● การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิ ตเพื่อลดต้นทุนค่ าแรงงานในระยะยาว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่ วยในด้านการค้า การตลาด การชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการนำเทคโนโลยี AR มาใช้เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่มี Platform Online หรือเป็น E-Commerce สามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถลองสินค้ าผ่านภาพเสมือนจริงและตัดสิ นใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
● การพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ สามารถแข่งขันได้ และควรเตรียมพัฒนาสินค้าให้ ตอบโจทย์ กับความต้องการใหม่ๆ New Normal ใหม ๆ ที่จะเน้นใช้งานสินค้าและบริ การที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่ มขึ้น
● การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรั บการเปลี่ยนแปลงของการค้ าและการลงทุนของโลก หลัง Covid-19 ที่หลายประเทลศคาดว่ าจะลดความยาวของห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ลง รวมถึงลดการพึ่งพิงการผลิตสินค้ าหรือการนำเข้ าจากประเทศใดประเทศหนึ่ง และหันไปกระจายการผลิต หรือนำเข้าสินค้าจากหลายๆ ประเทศแทน ตลอดจนอาจมีการลดการลงทุนทางตรง (FDI) จากการที่บริษัทข้ามชาติ ในหลายประเทศกลับไปผลิตที่ ประเทศตนเอง ซึ่งจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Robotic, 3D printing, IoT ทำให้การผลิตทำได้โดยง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ แรงงานมากเหมือนในอดีต เพื่อลดความเสี่ยงจาก Supply Chain หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและมี การปิดประเทศ” ดร.ชาติชาย กล่าว