วช. และ สจล. นำนวัตกรรม “รถตัดอ้อย” ร่วมขับเคลื่อนงาน อววน. ณ จ.ชัยภูมิ พัฒนานวัตกรรมโดยนักประดิษฐ์ชุมชนร่วมกับนักวิจัย สจล. นำเสนอในกิจกรรมตรวจเยี่ยมพื้นที่ ครม.สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

0
101

วันที่ 30 มิถุนายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้าน อววน. ภายใต้การประชุม ครม.สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ ณ วัดบางอำพันธ์ บ้านหัวบึง ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

ในโอกาสนี้ ท่านศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. เยี่ยมชมนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “รถตัดอ้อยแบบครบวงจรและเครื่องตัดอ้อยสดพร้อมสางใบแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์” นำเสนอโดย รศ.ดร.ณัฐวุฒิ เดไปวา จาก ผู้อำนวยการสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวหน้าโครงการ และนายโมเสส ขุริลัง อําเภอบัวระเหว จ.ชัยภูมิ นักประดิษฐ์ชุมชนที่ได้รับรางวัลการวิจัยแแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น พร้อมดด้วยทีมเกษตรกรผู้ใช้งาน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการดำเนินงาาน “โครงการพัฒนาเครื่องตัดอ้อยสดพร้อมสางใบแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์และต่อยอดสร้างรถตัดอ้อยสดแบบครบวงจรเพื่อลดมลพิษทางอากาศจากการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว” ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกอ้อยและประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงแก้ปัญหาการตัดอ้อยพันธุ์ของเกษตรและการเผาอ้อย การออกแบบนวัตกรรมเป็นการสร้างรถตัดอ้อยลำขนาดเล็ก เพื่อใช้แบบตัดอ้อยทั้งลำ ระบบทำงานประกอบด้วยใบมีดตัดยอดอ้อย ใบมีดตัดโคนอ้อย ระบบส่วนใหญ่เป็นระบบไฮดรอลิกส์ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็ว และประสิทธิภาพการตัดอ้อยพันธุ์ได้ 5 ไร่/วัน ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อยพันธุ์ได้ 60 คน/ต่อวัน สามารถช่วยในการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาเครื่องตัดอ้อยสดพร้อมสางใบแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์และต่อยอดสร้างรถตัดอ้อยสดแบบครบวงจรเพื่อลดมลพิษทางอากาศจากการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว จะนำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือที่จะใช้ช่วยในการเพิ่มผลผลิต กกการสร้างมูลค่าในกระบวนการจัดการให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้สามารถใช้สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากผลงานของคนไทย ในการทำงานได้อย่างครบวงจร