วช. หนุนวิจัยพัฒนาท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่ สัมผัสเสน่ห์แห่งเมืองริมน้ำ นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

0
727

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการวิจัยฯ

โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช.

ซึ่งมี พลเอก วินัฐ อินทรสุวรรณ เป็นหัวหน้าทีม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จ “โครงการยกระดับอาชีพการนวดแผนไทยและสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม”

โดยมี อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผศ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา หัวหน้าโครงการวิจัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

พร้อมด้วยคณะทีมนักวิจัย ให้การต้อนรับ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนบนเส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมให้เป็นที่รู้จัก และนำไปสู่การ กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงเกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนในท้องถิ่นอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กล่าวว่า โครงการวิจัยดังกล่าวฯ มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในท้องถิ่น โดยนำภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ มาประยุกซึ่งเป็นการยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในการ “บูรณาการความรู้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น” นำไปสู่การพัฒนาชุมชนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ และมีส่วนในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการ “การยกระดับอาชีพการนวดแผนไทยและสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม” ผลการวิจัยพบว่า สามารถพัฒนาคู่มือการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการทั่วไปการนวด และสปา 2) กายวิภาคเบื้องต้น 3) การนวดแผนไทย 4) การนวดเท้า 5) การทำสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) ความปลอดภัย 7) บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ 8) การตลาด และ 9) เทคโนโลยีและหลักสูตรพัฒนาอาชีพการนวดแผนไทยและ   สปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 60 ชั่วโมง และการสร้างสปาตามอัตลักษณ์ จำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) สปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นชมรมนวดวัดตุ๊กตานำเสนอเอกลักษณ์ของส้มโอและใบบัวบก 2) สปาออร์แกนิกชุมชนบ้านหัวอ่าว นำเสนอเอกลักษณ์ของฝรั่ง ส้มโอ และข้าวสาร นำไปสู่การสร้างเส้นทางท่องเที่ยว 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ตลาดน้ำลำพญา เส้นทางที่ 2 ตลาดน้ำดอนหวาย เส้นทางที่ 3 ตลาดดอนหวาย และ เส้นทางที่ 4 บ้านศาลาดิน

ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดการความรู้และหลักสูตรพัฒนาอาชีพการนวดแผนไทยและสปา โดยรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีความหลากหลายและโดดเด่น เช่น แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การนวดแผนไทย ฤาษีดัดตน การฟื้นฟูจิตใจและร่างกาย การล้างพิษ การทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือน สปา เป็นต้น สู่การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตามเส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี นำไปสู่ปัจจัยในการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. พร้อมด้วยสื่อมวลชนได้เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำบนเส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี ล่องเรือซึ่งมีกิจกรรมการนวดบนเรือพร้อมเยี่ยมชมสถานที่ ได้แก่ 1) วัดท่าพูด 2) วัดไร่ขิง 3) สวนสามพราน 4) โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 5) วัดสรรเพชญ และ 6) ตลาดน้ำดอนหวาย และชมการสาธิตการนวดแผนไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น จะเห็นได้ว่าอำเภอนครชัยศรี จังหวัดน ครปฐม เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ แฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์วิถีชีวิตของชุมชน เป็นเมืองที่เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

ซึ่งงานวิจัยในครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเพื่อรับบริการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลเป็นฐานราก ในการพัฒนาประเทศ

และหากท่านใดสนใจสัมผัสเสน่ห์แห่งเมืองริมน้ำแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณประหยัด ปานเจริญ (081-3038556) คุณจิดาภา จินดานุช (088-6280695) และ คุณพิมพ์ชนก มูลมิตร์ (085-2265097)