สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิศวกรสังคม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ โชว์ผลงานบนเวที Mini Stage ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2566 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษาวิศวกรสังคมให้มีทักษะ 4 ประการ คือ เป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน และนักสร้างนวัตกรรม ด้วยการนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ณ เวที Mini Stage ระหว่างห้อง Lotus 10-11 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีภารกิจสำคัญในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ในการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศแก้ไขปัญหาสำคัญเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม
ทั้งนี้ วช. ได้พิจารณาว่ากระบวนการวิศวกรสังคมเป็นอีกกลไกสำคัญในการบ่มเพาะและพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความพร้อมเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศพร้อมไปกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาร่วมเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัย จะต้องเป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนา ต่อยอด ขยายผล นำความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมในการดำเนินการ
โดยเป็นกิจกรรมที่มุ่งเป้าที่การสร้างนักศึกษาให้กลายเป็นบัณฑิต นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน โดยให้ทุกสถาบันคัดเลือกโครงการที่มีการออกแบบกิจกรรมที่ต้องมีการใช้เครื่องมือคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพมีงานทำ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย
ให้นักศึกษามีความสามารถและทักษะเพื่อการดำรงชีวิตและการทำงานในอนาคต สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนได้อีกด้วย
ผลงานที่นำเสนอบนเวที มีดังนี้ มรภ.จันทรเกษม ได้นำเสนอผลงานเรื่อง “SENSORY PATHWAYS PAINT เพื่อพัฒนาสมองและสมรรถนะทางกายสำหรับผู้เรียนภายหลังสถานการณ์โควิด” ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมแบบบูรณาการสาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการเรียนสำหรับผู้เรียนด้วย LEARNING WALL” ผลงานเรื่อง“สนามแห่งการเรียนรู้ SENSORY PATHWAY เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมเนือยนิ่ง” และ ผลงานเรื่อง “Playground Marking Games เพื่อพัฒนาทักษะสมองและการเรียนรู้”
โดยมี นายอภิวัฒน์ อ่อนทองหลาง นางสาวพรพิมล จันทรสีทอง นายสุวิทย์ มานะชอบ นางสาวเพชรศิริน เหล็กดีเศษ นางสาวอินทิรา กองราช นายศุภณัฐ บุญมา นางสาววิรัลพัชร นิ่มปราง และนางสาวอภิญญา จินดาสถาน เป็นผู้นำเสนอผลงาน
มรภ.สวนสุนันทา ได้นำเสนอผลงานเรื่อง “เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปบ้านเชียง” ผลงานเรื่อง “การพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนกลุ่ม แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวบ้านเชียง” ผลงาน “ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ความเป็นมืออาชีพวิสาหกิจชุมชน
บ้านเชียง” ผลงานเรื่อง “การลดต้นทุนกระบวนการผลิตผ้าพื้นเมืองวิสาหกิจชุมชนผ้าพื้นเมืองบ้านเชียง” ผลงานเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านเชียง” และผลงานเรื่อง “การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยววิถีไทพวน” โดยมี นายศุภษิต ทิพย์วดีศิทธ์ นาย ตรีเพชร พุ่มเจริญดี นางสาวสมิตา อาสาคะติ นางสาววรรณพร เวชสิทธิ์ นายอามีน อาบู นายพีรวัฒน์ ตุ้ยแป้ นายปัญญวัฒน์ รองไชย
นายธันยบูรณ์ คำศิริ นายศักรินทร์ ผันสืบ นางสาวรรณรดา ครองยุติ นางสาว ภาริดา ศรีเรือง และนางสาวธรรมรัตน์ จิตจำนงค์ เป็นผู้นำเสนอผลงาน
ด้าน มรภ.วไลอลงกรณ์ ได้นำเสนอผลงานเรื่อง “สถานีชราใส” ผลงานเรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยชุมชนสมาร์ทซิตี้” ผลงานเรื่อง “ยูคะ ยูคา คุณค่าจากต้นกระดาษ” ผลงานเรื่อง “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทบรรจุภัณฑ์ฐานชีวภาพจากใบสักทอง ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ของชุมชนเทศบาลสีมามงคล อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา” ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์สู่การท่องเที่ยว ตำบลกระแซง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
โดยมี นายนิทัช พิงไธสง นายคงกะพัน แตงสุข นางสาวชลลดา ทูคำมี นายยศวริศ ดิสสระ นางสาวสิรินาถ เสือเอี่ยม นางสาวประภัสสร แก้วประเสริฐ นางสาวจารุวรรณ วรรณวิจิตร นางสาวพัชญาภัค ส้มเขียวหวาน นายวรเมธ โรจนหัสดินทร์ นางสาวสุภาภรณ์ มั่นยิ่งยง เป็นผู้นำเสนอผลงาน
สำหรับงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” ซึ่ง วช. ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศจัดขึ้น เพื่อมุ่งให้เกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการนำเสนองานวิจัยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ