ยูโอบี ร่วมกับ ททท. ยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจ และส่งเสริมการเติบโตอย่างให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร

0
131

(จากซ้าย) นายเพ็ชร ประภากิตติกุล ผู้อำนวยการโครงการยั่งยืนนิยม; นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  และ นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศ

ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ และจำนวนนักท่องที่ยวต่างชาติที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เห็นได้จากภาพรวมของธุรกิจร้านอาหารในประเทศที่มีผู้ประกอบการธุรกิจมากกว่า 384,000 ราย[1] โดยธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคารเป็น 1 ใน 3 ประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยม  จดทะเบียนจัดตั้งและเติบโตสูงสุดในปี 2566 ที่ผ่านมา[2] สอดคล้องกับการประเมินของ ททท. ที่ระบุว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะใช้จ่ายด้านค่าอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ร้อยละ 20-25 และร้อย 77 เลือกที่จะรับประทานอาหารร้านจากอาหารท้องถิ่นจากผู้ประกอบการรายย่อยมากกว่าไฟน์ ไดนิ่ง (Fine Dining) 

ยูโอบีเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารจึงร่วมกับ ททท. จัดงานสัมมนา “Road to Top of Mind Restaurant” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถของร้านอาหารไทย สู่การเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบร้านอาหารรายย่อยที่เข้าร่วมงานนอกจากจะได้รับคำแนะนำโซลูชันทางการเงิน และการบริหารธุรกิจแบบครบวงจรจากธนาคารแล้ว ยังมีโอกาสในการการสร้างเครือข่าย และขยายโอกาสทางธุรกิจกับหน่วยงานพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วนด้วย

นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่าธุรกิจร้านอาหารมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารหลายรายยังประสบปัญหาในการเข้าถึงทรัพยากร และขาดโอกาสในการเชื่อมต่อและการแสวงหาเครือข่ายพันธมิตรที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า ซึ่งแต่เดิมทีธนาคารยูโอบีมีความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ภายใต้โครงการ Sustainability Innovation (SIP)[3]  ที่สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคท่องเที่ยว จึงได้ขยายความร่วมมือเพิ่มเติม โดยเจาะจงไปที่กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อยซึ่งเป็นกำลังหลักของภาคธุรกิจท่องเที่ยว เราพร้อมนำเสนอโซลูชันทางการเงินและตัวช่วยทางธุรกิจ บนแพลตฟอร์ม UOB BizSmart ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการให้การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนากิจการไปสู่ความยั่งยืน”

นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  กล่าวว่า “การท่องเที่ยวคือแรงหนุนหลักที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต และการท่องเที่ยวเชิงอาหารเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยนานมากขึ้น ในปีนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายในการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยให้มากกว่า 35 ล้านคนภายในสิ้นปี เราจึงมุ่งมั่นในการแสวงหาเครือข่ายที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ดังนั้นเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากธนาคารยูโอบี ประเทศไทยที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารไทย เราเชื่อมั่นว่ายูโอบีมีแหล่งเงินทุน และมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านอาหารได้เป็นอย่างดี”

งานสัมมนาในครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมงาน ส่งรายชื่อร้านอาหารของตน เพื่อรับการพิจารณาเข้าร่วม แคมเปญกินเที่ยวยั่งยืน จากโครงการยั่งยืนนิยมของททท. ที่เน้นรวบรวมร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์ความยั่งยืนขั้นต้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการยังได้รับคำแนะนำเกี่ยวบริการดิจิทัลโซลูชันแบบครบวงจรบนแพลตฟอร์ม UOBBizSmart ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ปรับปรุงการบริการ และพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปอย่างยั่งยืน  เช่น โปรแกรมระบบบริหารจัดการสมาชิกของ ChocoCRM ที่ให้บริการอาทิเช่น ระบบจัดการสมาชิก (CRM) ระบบขายหน้าร้าน (POS) ระบบรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (CDP) Peak Accounting ซอฟต์แวร์เพื่อการบัญชีบนระบบคลาวด์ และ เครื่อง EDC ของ GHL บริการเครื่องรับชำระเงินแบบ All-In-One ที่รองรับการรับชำระเงินได้หลายหลายรูปแบบ

ติดตามข้อมูลและโซลูชันที่น่าสนใจได้ที่ https://www.uob.co.th/bizsmart/index.html

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี

ธนาคาร ยูโอบี เป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์และมีการดำเนินธุรกิจในจีน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม อีกทั้งยังมีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานประมาณ 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ 2478 ธนาคารยูโอบีได้พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องผ่านการควบรวมกิจการที่สำคัญ ปัจจุบันธนาคารยูโอบีได้รับการจัดลำดับให้เป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่งในระดับสากลจากบริษัทจัดลำดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้แก่ Aa1 โดย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และ AA- โดย ฟิทช์ เรทติงส์ และเอสแอนด์พี โกลบอล เรทติงส์  

ตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ทศวรรษ  ธนาคารยูโอบีดำเนินธุรกิจโดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจในระยะยาวโดยการปรับกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคผ่านพลังงานแห่งความสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ถูกต้องแก่ลูกค้า ยูโอบีพร้อมที่จะพัฒนาอนาคตของภูมิภาคอาเซียนให้เติบโต ทั้งประชากรและธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงในภูมิภาค

เรายังมีส่วนในการเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจภายในภูมิภาคนี้ ผ่านเครือข่ายทางการเงินที่แข็งแกร่ง เรามีการจัดทำฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกสำหรับพัฒนาและนำเสนอประสบการณ์ทางการเงินส่วนบุคคล และบริการทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ยูโอบีมีความมุ่งมันที่จะสร้างความยั่งยื่นในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้า ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม สร้างผลกระทบที่ดีต่อสื่งแวดล้อม พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ธนาคารเชื่อมั่นในการเป็นผู้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ พร้อมทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมด้านศิลปะ เยาวชน และ การศึกษา

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 147 สาขา และเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 343 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566) โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ได้แก่ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (อันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากระยะยาวที่ A3) และฟิทช์ เรทติ้งส์ (อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวที่ A- และความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาวที่ AAA(tha))