มือกว่า 10,000 คู่ของเด็กน้อย ร่วมสานโครงการฟาร์มสุขภาพของหนู แหล่งโภชนาการสำคัญเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

0
514

ถึงจะเป็นเพียงเด็กเล็กๆ แต่สุขภาพของพวกเขาไม่ใช่เรื่องเล็ก จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ร่วมกับองค์การยูนิเซฟด้านภาวะโภชนาการของเด็กในประเทศไทยครั้งล่าสุด (ปีพ.ศ. 2562) พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทย 13.3% ประสบกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น 7.7% มีภาวะผอม และ 9.2% มีน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ ภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อไปถึงพัฒนาการด้านสติปัญญาและประสิทธิภาพ

ในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยคำถามคือเราจะช่วยกันดูแลให้เด็กๆ ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพสมวัย เข้มแข็งทั้งกายและใจได้อย่างไร ปัจจัยที่สำคัญคือการได้รับประทานอาหารครบโภชนาการ และการได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพโดยสอดแทรกการทำกิจกรรมเสริมทักษะอันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับชีวิตที่มีคุณภาพในอนาคต

แอมเวย์มุ่งมั่นเดินหน้าโครงการฟาร์มสุขภาพของหนูผ่านมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย ด้วยการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการเพื่อตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่องและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดี โดยมีเป้าหมายในการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ห่างไกลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด “เด็กได้รับโภชนาการดี มีพัฒนาการสมวัย โรงเรียนเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านโภชนาการและการทำเกษตรผสมผสาน และขยายความเข้มแข็ง สู่ชุมชน”

โดยแอมเวย์ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพมาสนับสนุนความรู้ด้านโภชนาการร่วมกับที่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเชิญกูรูด้านการทำเกษตรผสมผสานแบบปลอดภัยต่อสุขภาพและกูรูด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ให้แก่คุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและผู้นำชุมชน เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้กับแผนงานของโรงเรียน ช่วยให้โรงเรียนดูแลตัวเองต่อได้อย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่เป็นหัวใจหลักภายใต้โครงการฟาร์มสุขภาพของหนู ประกอบด้วย 1. กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการ ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กๆ ได้รับโภชนาการครบ 5 หมู่ และเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับ2. เรียนรู้เทคนิคการทำเกษตรแบบผสมผสานสำหรับเด็กด้วยวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัย เสริมทักษะด้วยการเกษตรเพื่อต่อยอดและพัฒนาไปใช้ในครัวเรือน 3. เรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรเพื่อปลูกพืชที่มีโภชนาการหลากหลาย สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชผักแบบธรรมชาติวิทยา 4. เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือทำ (Active Learning) เด็กๆ จะได้รู้จักวางแผน คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเกิดความภูมิใจในผลงานของตัวเอง ปฏิบัติจริงด้วยตัวเองเพื่อให้เข้าใจและสร้างวินัยในการใช้ชีวิตประจำวัน 5. เรียนรู้การบริหารจัดการบัญชีฟาร์ม เพื่อการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

“ตลอด 4 ปีที่ได้ดำเนินโครงการ “ฟาร์มสุขภาพของหนู” ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยได้มีโอกาสพูดคุยและลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในที่ต่างๆ และได้เห็นถึงความตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจระหว่างคุณครู นักเรียน และชุมชนในการร่วมกันนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปต่อยอดแนวทางการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการได้เห็นเด็กทุกคนได้รับประทานอาหารที่ครบโภชนาการ ได้มีส่วนร่วมในผลผลิตที่จะกลายมาเป็นมื้ออาหารของพวกเขา และต่อยอดสู่ผลผลิตแปรรูปเพื่อเป็นรายได้ของโรงเรียน เป็นการเพิ่มทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างแท้จริง และก่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองอันเป็นแนวทางการทำงานแบบยั่งยืน”นายกิจธวัชฤทธี     ราวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และประธานมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยกล่าว

มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสังคมไทย และสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนผ่านโครงการฟาร์มสุขภาพของหนู โดยตั้งแต่ปีแรกที่ได้ดำเนินโครงการฯ ในปีพ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ได้ต่อยอดพื้นที่ฟาร์มสุขไปแล้วมากกว่า 79 โรงเรียน โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้มากกว่า 10,400 คน ตัวแทนครูและผู้นำชุมชน 395 คน พร้อมทั้งได้มอบเงินสนันสนุนรวม 4 ปี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 7.9 ล้านบาท โดยในปีนี้ โครงการฟาร์มสุขภาพของหนูได้ขยายองค์ความรู้และพื้นที่ฟาร์มสุขไปยัง 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุดรธานี เลย และบึงกาฬ

แอมเวย์พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสังคมไทย และสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมสานต่อและสร้างความยั่งยืนร่วมกับชุมชนต่อไปในอนาคต