พก. ร่วมกับ สคพ.พระประแดง จัดโครงการ “สายใยรักความผูกพัน : ย้อนรอย 8 ทศวรรษแห่งการเดินทาง กว่าจะมาเป็น…สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง”

0
322

วันที่ 30 มกราคม 2567 นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานเปิดงาน โครงการ “สายใยรักความผูกพัน : ย้อนรอย 8 ทศวรรษแห่งการเดินทาง กว่าจะมาเป็น…สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง” เพื่อย้อนรอยความเป็นมาและการดำเนินงานก่อนที่จะเป็น สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (สคพ.พระประแดง)

นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (สคพ.พระประแดง) ซึ่งเดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข เรียกว่า “งานอนาถาพยาบาล”ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2484 ได้โอนย้ายมาอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ และต่อมาในปี 2558 ได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิประโยชน์สวัสดิการ อำนวยความสะดวกให้เกิดความเท่าเทียม ส่งเสริม สนับสนุน องค์กรเครือข่าย ในการพัฒนาศักยภาพของคนพิการ และพัฒนาองค์กรให้เป็นบ้านพำนักพักพิงแก่คนพิการ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

การจัดโครงการ “สายใยรักความผูกพัน : ย้อนรอย 8 ทศวรรษแห่งการเดินทาง กว่าจะมาเป็น…สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง” เพื่อต้องการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของเมืองพระประแดงและการก่อตั้งองค์กร สคพ.พระประแดง ที่มีความสำคัญและมีเส้นทางอันยาวนานกว่า 204 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน

สคพ.พระประแดง ปัจจุบัน มีคนพิการอยู่ในความอุปการะ จำนวน 500 คน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ให้บริการคุ้มครอง สงเคราะห์ ฟื้นฟูปรับสภาพ และพัฒนาศักยภาพทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ และจิตใจ แก่ผู้ใช้บริการ (คนพิการ) หญิงและชาย ทุกประเภท ยกเว้นความพิการประเภท 4 พฤติกรรมและจิตใจ และความพิการประเภท 7 ออทิสติก ที่ยากจนและด้อยโอกาส ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู ถูกทอดทิ้งอยู่ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานแลtโรงพยาบาลทุกภูมิภาคทั่วประเทศ นำส่งเข้ารับการสงเคราะห์และให้การฟื้นฟูในทางการแพทย์ การศึกษา การอาชีพ และสังคม ตามมาตรฐานการจัดบริการสำหรับผู้ใช้บริการ (คนพิการ) ในสถานสงเคราะห์ของกรมพัฒนาสังคมแลสวัสดิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขแลความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และบางส่วนสามารถกลับคืนสู่สังคมแลพึ่งตนเองได้

สำหรับการจัดงานในวันที่ 30 มกราคม 2567 มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) มอบโล่เกียรติคุณองค์กรที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านคนพิการ จำนวน ๔๐ รางวัล 2) มอบเกียรติบัตรให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านคนพิการ จำนวน ๒๔ รางวัล 3) มอบถุงของขวัญปีใหม่ให้คนพิการในชุมชนและครอบครัวอุปการะ จำนวน 30 ครอบครัว การแสดงโฟล์คซองจากโรงเรียนวัดทรงธรรม และการจัดแสดงนิทรรศการ 8 ทศวรรษฯ เป็นต้น