“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต

0
1556

ข่าวของ“ตูน-อาทิวาห์ คงมาลัย” นักร้องนำวงบอดี้สแลม ที่เข้าโรงพยาบาลด้วยอาการ นิ้วมือข้างซ้ายมีอาการอ่อนแรงลง รวมถึงมีอาการชาบริเวณมือ  ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์ได้ตรวจพบว่าเป็นอาการของ “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” แม้จะยังไม่เข้าขั้นวิกฤต แต่ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด สร้างความตระหนกตกใจให้กับแฟนคลับและคนทั่วไปอยู่ไม่น้อย  และทำให้หลายคนสงสัยว่าต้นเหตุของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทเกิดจากอะไร รวมถึงใครคือกลุ่มเสี่ยงบ้าง

มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในเครือ “พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์” เปิดเผยโดย นายแพทย์​       ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย แพทย์ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อเเละศัลยกรรมกระดูกสันหลัง ประจำคลินิกพิเศษด้านกระดูกสันหลัง Absolute Spine Care โรงพยาบาล  พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เกี่ยวกับอาการเหล่านี้มาให้ได้ลองสังเกตกัน

โอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ การนั่งหลังไม่พิงพนักพิง การนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งโต๊ะทำงานอย่างผิดสุขลักษณะ การยกของหนัก การสะพายกระเป๋าหนัก ๆ เพียงข้างเดียว การนอนคว่ำอ่านหนังสือ เป็นต้น เบื้องต้นจะเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ร้าวลงแขน บางรายอาจมีอาการชาร่วมด้วย พฤติกรรมดังกล่าวทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นและทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูก จนอาจทำให้เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ 

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น 

เราสามารถสังเกตอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ง่าย ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณคอนำมาก่อน ซึ่งบางรายอาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนหรือที่มือร่วมกับมีอาการชา อาการอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางรายอาจจะทำให้แยกกับโรคออฟฟิศซินโดรมได้ยาก โดยอาจมีอาการปวดไปที่ศีรษะร่วมด้วย จึงทำให้นึกว่าเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรน แต่ที่แท้จริงแล้วอาจมีโรคของหมอนรองกระดูกคอเสื่อมซ่อนอยู่ก็เป็นได้ โดยถ้าระยะโรคดำเนินไปถึงขั้นท้าย ๆ จะมีอาการหยิบจับของลำบาก ติดกระดุมเสื้อไม่ได้ หรืออาจจะทำให้การเดินทรงตัวลำบากมากขึ้นได้

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก

หากพบว่ามีอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อรับการตรวจ X-Ray หรือ MRI เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ โดยแพทย์ขอแนะนำว่าโรคนี้ต้องรักษาด้วยวิธีที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันเท่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเรื้อรังได้ ไปจนถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือพิการได้เลยทีเดียว  

ส่วนแนวทางการรักษานั้น แพทย์จะรักษาตามอาการเป็นลำดับขั้น ซึ่งอาการบางอย่างก็สามารถหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดอีกด้วย เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ยา การทำกายภาพบำบัดเฉพาะส่วนอย่างเคร่งครัด การฉีดยาเข้าโพรงประสาท  และวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออกนั่นเอง ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันเน้นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ไม่เจ็บแผล ทำให้การผ่าตัดไม่น่ากลัวอีกต่อไป  นอกจากนี้เรายังสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้โดยหลีกเลี่ยงการนั่งที่ผิดสุขลักษณะ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแกนแกลงลำตัวเพื่อให้มีกล้ามเนื้อไว้สำหรับพยุงคอ ซึ่งจะทำให้ลดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้ 

เมื่อพบว่าเริ่มมีอาการเสี่ยงเหล่านี้ สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ Absolute Spine Care   ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอื่น ๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ได้ทั้ง 11 แห่ง ใน 10 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  จังหวัดสมุทรปราการ  โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี  โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร โรงพยาบาล ศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน  โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร  โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ และ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และสามารถติดตาม​    สาระดี ๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก : Principal Healthcare Company