จากการที่มหาวิทยาลัย Stanford จากสหรัฐอเมริกาได้เผยรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกในสาขาวิชาต่าง ๆ มหาวิทยาลัย Sunway ยินดีที่ได้ประกาศว่านักวิจัยหกคนของมหาวิทยาลัยได้มีชื่ออยู่ในการจัดอันดับเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับท็อป 2% แรกของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
อธิการมหาวิทยาลัย Sunway ศาสตราจารย์ Sibrandes Poppema มีชื่ออยู่ในหมวดสาขาวิชาภูมิคุ้มกันวิทยา ในสาขาย่อยด้านมะเร็งวิทยาและการแพทย์เชิงคลินิกด้านการก่อมะเร็ง ในการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ระดับท็อป 2% แรกของโลกประเภทครอบคลุมทั้งชีวิตการทำงานของนักวิจัย
ตลอดหลายปีในการทำงาน เขาได้ตีพิมพ์บทความกว่า 240 บทความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันวิทยา โลหิตวิทยา และมะเร็งวิทยา ซึ่งได้รับการอ้างอิงมากกว่า 18,500 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยอีกสามรายที่มีชื่ออยู่ในการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกโดย Stanford ทั้งประเภทของความครอบคลุมทั้งชีวิตการทำงานของนักวิจัย และประเภทการสร้างผลกระทบในปี 2019 ได้แก่ ศาสตราจารย์ Edward Tiekink ศาสตราจารย์ Saidur Rahman และศาสตราจารย์ Mohamed Kheireddine
ศาสตราจารย์ Tiekink ซึ่งเป็นศาสตราภิชานและหัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุที่เป็นผลึก (RCCM) ประจำวิทยาลัยการแพทย์และชีววิทยาศาสตร์ มีชื่ออยู่ในหมวดสาขาวิชาเคมีอนินทรีย์และเคมีนิวเคลียร์ในสาขาย่อยด้านเคมีอินทรีย์
งานวิจัยในศูนย์ RCCM ซึ่งศาสตราจารย์ Tiekink เป็นหัวหน้าอยู่นั้น มุ่งศึกษาในเรื่องที่สอดคล้องกับสองเป้าประสงค์สำคัญในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 ด้านสุขภาพที่ดีและสุขภาวะ และเป้าหมายที่ 13 ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่โดยใช้โลหะและยาจากโลหะเพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกเกี่ยวกับการดื้อยาในยาต้านจุลชีพ รวมถึงยาที่มีความจำเป็นในการรักษามะเร็ง และโรคอื่นๆ
“ผมหวังว่าจะใช้ศูนย์ที่ล้ำสมัยในมหาวิทยาลัย Sunway เพื่อรองรับทุกความพยายามในการทำงานวิจัย เราตื่นเต้นกับความก้าวหน้าของวิทยาลัยการแพทย์ Sunway รวมถึงการต่อยอดงานในห้องปฏิบัติการให้เป็นการศึกษาเชิงคลินิก” ศาสตราจารย์ Tiekink กล่าว
ศาสตราจารย์ Saidur ศาสตราภิชานด้านการวิจัยและหัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุนาโนและเทคโนโลยีพลังงานแห่งวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีชื่ออยู่ในหมวดสาขาวิชาพลังงานในสาขาย่อยด้านวิศวกรรมเครื่องกลและการคมนาคมขนส่ง
ศาสตราจารย์ Kheireddine รองคณบดีฝ่ายการวิจัย วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้าศูนย์วิจัยการดักจับและการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ มีชื่ออยู่ในหมวดวิศวกรรมเคมี
นอกจากนี้ในการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกโดย Stanford ประเภทการสร้างผลกระทบในปี 2019 ยังมีชื่อของศาสตราจารย์ Yau Kok Lim และรองศาสตราจารย์ ดร. Adarsh Kumar Pandey ปรากฏอยู่ด้วย
อีกทั้งในหมวดปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลภาพภายใต้สาขาย่อยด้านเครือข่ายและโทรคมนาคม ยังมีชื่อของศาสตราจารย์ Yau จากภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
ในโอกาสที่ได้รับเกียรตินี้ ศาสตราจารย์ Yau หวังว่าจะได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยที่จะเอื้อให้เกิดและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยท้องถิ่นกับนักวิจัยและอุตสาหกรรมระดับนานาชาติเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ตลอดจนสร้างโอกาสในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของโลกอุตสาหกรรม
จากศูนย์วิจัยวัสดุนาโนและเทคโนโลยีพลังงาน วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร. Adarsh มุ่งศึกษาวิจัยในด้านวัสดุกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแนะวัสดุนาโน
ดร. Adarsh เชื่อว่านวัตกรรมในการวิจัยเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของความก้าวหน้าในสังคม “ด้วยโอกาสที่ได้รับเกียรติครั้งนี้ ผมตั้งใจจะยกระดับงานวิจัยด้วยการพัฒนาวัสดุกักเก็บพลังงานแบบก้าวหน้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและราคาไม่แพงให้แก่สังคม