ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ดึงพันธมิตรรายใหม่ HUBBA เสริมแกร่ง โครงการ Smart Business Transformation ปี 2565 

0
1580

ธนาคารตั้งเป้าติดอาวุธเอสเอ็มอีมากกว่า 200 ราย ด้วยแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืน 

การบริหารองค์กรที่สนับสนุนความหลากหลายของพนักงาน และการปรับใช้ทักษะดิจิทัล

ด้วยผลกระทบและการเผชิญหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความต้องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจึงร่วมกับองค์กรพันธมิตรรายใหม่ HUBBA ในโครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ประจำปี 2565 เพื่อแบ่งปันเทรนด์และข้อมูลเชิงลึกในเรื่องการปรับองค์กรและธุรกิจสู่ดิจิทัล โดย HUBBA เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์มนวัตกรรมและผู้ประกอบการรายแรกของประเทศไทยที่ได้ให้คำแนะนำสนับสนุนผู้ประกอบการมามากกว่า 2,000 ราย อาทิ Bitkub ยูนิคอร์น รายที่สองของประเทศไทย

นอกจากนี้ SMEs มากกว่า 200 รายที่สมัครเข้าร่วมโครงการหลักสูตร 3 เดือนจะได้รับคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การบูรณาการหลักการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน รวมถึง แนวคิดการบริหารองค์กรที่สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของพนักงานเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ ด้วยองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้นับเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรลุความสำเร็จขององค์กรและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ  นอกจากนี้ SMEs ยังจะได้เรียนรู้ทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ การปรับโครงสร้างธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และการพัฒนาด้านลูกค้า และเข้าถึงโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถช่วยพวกเขาเสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางธุรกิจ

 นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การระบาดของโควิด-19 ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้เน้นย้ำให้ธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล จากผลสำรวจของเรา พบว่า SMEs มีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เน้นไปที่การปรับตัวเป็นดิจิทัล การตลาดดิจิทัล และการส่งมอบประสบการณ์แก่ลูกค้าเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน”

“ผลสำรวจของธนาคารยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยมากกว่าหนึ่งในสอง เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความคงทนยั่งยืนอันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของลูกหลานพวกเขาในอนาคต ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความเป็นดิจิทัลมีความสำคัญต่อการเติบโตในระยะยาว สิ่งสำคัญที่ SMEs ต้องตระหนักคือการผสานความยั่งยืนเข้าไปในกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเสริมประสิทธิภาพรากฐานทางธุรกิจของพวกเขา”

นายชาล เจริญพันธ์ CEO & Co-Founder HUBBA กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 2555 HUBBA ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น ผ่านเครือข่ายและการบ่มเพาะทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมตอบโจทย์ของตลาดและประสบความสำเร็จออกสู่ตลาดมาอย่างต่อเนื่อง และจากการระบาดของโควิด-19ที่ผ่านมา เราได้สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคและพบว่านี่คือโอกาสของ SMEs ที่จะปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า ยิ่งธุรกิจสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้นเท่าไร ความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากการปรับตัวสู่ดิจิทัลแล้ว เราพบว่า SMEs ยังต้องการคำแนะนำในด้านการบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคลด้วย จากการที่เราเห็นเจ้าของธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญปัญหาด้านนี้ เราจึงรวบรวมเอาหลักสูตรการฝึกอบรมในด้านการเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมองค์กรเข้ามา เนื่องจากเรื่องนี้มีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อทัศนคติและแรงจูงใจของพนักงานซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า”

มุ่งมั่นผสานความร่วมมือ ขับเคลื่อน SMEs ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

โครงการ Smart Business Transformation (SBTP) ดำเนินงานโดย The FinLab หน่วยงานบ่มเพาะนวัตกรรม (Innovation Accelerator) ดำเนินงานภายใต้ธนาคารยูโอบี  พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตรชั้นนำได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ซึ่งพันธมิตรเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนโครงการ SBTP มาโดยตลอดในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา

สสว. ในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในการสนับสนุน SMEs ของประเทศไทยได้กำหนดนโยบายและแผนการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการยกระดับทางเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตทางธุรกิจ นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า “ประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 3.2 ล้านราย ส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนพวกเขาให้มีศักยภาพสูงขึ้นและสามารถแข่งขันในตลาดต่อไปได้ คือการได้ประชาสัมพันธ์ให้พวกเขาเข้าร่วมโครงการ SBTP ซึ่งเปรียบเสมือนช่องทางด่วนพิเศษในการพัฒนาทักษะดิจิทัล เร่งความสามารถในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเข้าถึงการให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล”

สวทช. มีบริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล ผ่านโปรแกรม Innovation Technology Assistance Programme (ITAP) นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เราประสบความสำเร็จในการสนับสนุน SMEs ไทยจำนวน 35 ราย ให้มีแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรม และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และคาดว่าจะเกิดการลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 20 ล้านบาท ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ITAP ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนไปแล้ว 5 ล้านบาท โดยเป็นการช่วยเหลือร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายในการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลให้กับองค์กร”

depa ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนด้านโซลูชันเทคโนโลยีแก่ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ระยะเวลาความร่วมมือกว่า 3 ปีของ depa กับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจดิจิทัลของ SMEs รวมถึงการขยายโอกาสทางการตลาดสำหรับผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีชาวไทย เราเชื่อว่า SMEs ที่เข้าร่วมจะไม่เพียงสามารถปรับตัวเข้ากับโซลูชันที่เป็นดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่าน SBTP เท่านั้น แต่โครงการยังเปิดกว้างสำหรับโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจระหว่าง SMEs และผู้ให้บริการโซลูชัน การสร้างเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลได้”

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในปี 2562 โครงการ SBTP ได้รับความสนใจจาก SMEs ในประเทศไทยมากกว่า 4,000 ราย โดยมี SMEs มากกว่า 600 รายที่นำเทคโนโลยีไปปรับใช้เพื่อช่วยพัฒนาการตลาด (Front-end) และกระบวนการทำงานหลังบ้าน (Back-end)

โครงการ SBTP เปิดรับเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่พร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ มีความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและความพร้อมในการลงทุนด้านเครื่องมือดิจิทัล และสามารถให้เวลากับโครงการได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสามเดือนของโครงการ ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความสนใจ จำกัดสาขาธุรกิจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ SBTP ได้ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)  เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 149 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 352 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม2564) ยูโอบี เป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ กลุ่มธนาคารยูโอบี มีสินค้าและบริการด้านการเงิน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจในการให้บริการ 

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA (tha) โดยฟิทช์ เรทติ้งส์  

กลุ่มธนาคารยูโอบี ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเน้นที่ศิลปะ เยาวชนและการศึกษา กลุ่มธนาคารยูโอบีได้จัดเวทีประกวดศิลปะที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งได้ขยายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการยืนยันถึงบทบาทของกลุ่มธนาคารยูโอบีในการสนับสนุนวงการศิลปะ สมาคมศิลปะประจำชาติแห่งประเทศสิงคโปร์ได้ยกย่องกลุ่มธนาคารยูโอบีให้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะทรงเกียรติ 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2557 กลุ่มธนาคารยูโอบียังได้สนับสนุนให้พนักงานทั่วภูมิภาคร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงกิจกรรม UOB Heartbeat Run ซึ่งจัดในประเทศจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

ข้อมูลโครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP 

โครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2562 เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยให้สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

โครงการ SBTP ดำเนินการโดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะนวัตกรรม (Innovation Accelerator) ดำเนินงานภายใต้ธนาคารยูโอบี พร้อมด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลากหลายองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) องค์กรพันธมิตรภาคเอกชน รวมถึงผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชันต่างๆ 

ในการเข้าร่วมโครงการ SMEs จะสามารถระบุปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงได้รับคำแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ความรู้และแนวทางการทำงานในการปรับตัว เกิดความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรมใหม่ พร้อมได้ทดลองใช้ดิจิทัลโซลูชันที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปการดำเนินงานและผลลัพธ์โครงการ SBTP

  • ปี 2562  เปิดตัวโครงการเพื่อช่วยเหลือ SMEs ไทยพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล พร้อมเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 
    • การดำเนินงาน:  ผู้ประกอบการ 15 บริษัทเข้าร่วมโครงการ ด้วยวิธีบ่มเพาะความรู้แบบเชิงเข้มข้น เจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายสาขา รวมถึงให้ความช่วยเหลือแบบ high touch ในการแนะนำโซลูชันที่เหมาะสม จนถึงช่วยให้นำไป implement และใช้ได้จริง
    • ผลลัพธ์: ผู้ประกอบการทั้ง 15 บริษัทได้นำเทคโนโลยีและดิจิทัลโซลูชันต่างๆ ไปใช้งาน เพื่อปรับและขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล ซึ่งได้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญ โดยได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ ลดต้นทุนต่างๆ สร้างทัศนคติและความคิดดิจิทัลให้เกิดขึ้นในองค์กร พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการขยายธุรกิจสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อาทิ

– แบรนด์ Nappi baby ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กผลิตจากใยไผ่ หลังปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล 1) มียอดขาย ecommerce เติบโตถึงร้อยละ 150 ในปีที่ 2563 และยังคงเติบโตได้อย่างดีในสถานการณ์ระบาดปีนี้ หลังพัฒนาใช้ ecommerce เต็มรูปแบบ 2) ลดต้นทุนด้านบุคลากร ค่าเช่าหน้าร้าน ปรับใช้ระบบ Fulfillment เพื่อบริหารคลังสินค้า ทำให้ต้นทุนธุรกิจโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 50 สามารถต่อยอด 3) ขยายตลาดต่างประเทศ ล่าสุดมีตัวแทนจำหน่ายใหม่ในประเทศมาเลเซีย ตลอดจนเป็น Coaching ให้กับเอสเอ็มอีที่ต้องการเปลี่ยนสู่ธุรกิจออนไลน์ ว่าควรจะเริ่มต้นที่ตรงไหน โดยใช้ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบจากโครงการ SBTP ได้อย่างดี

Kingdom Organic หรือเครือข่ายอาหารที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นอีก SME ที่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นำ 1) แนวทางการพัฒนาทั้งระบบการขาย การตลาด การบริหารจัดการด้วยระบบ ERP แม้ในพื้นที่ห่างไกลเพื่อควบคุมประสิทธิภาพและต้นทุน 2) การจัดการด้วยระบบ Smart Faming และใช้ Big Data Management, AI, Machine Learning เพื่อการตอบกลับได้ของผลผลิตผ่านระบบ  Block chain  มีการปรับตัวเข้าสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

  • ปี 2563 2564  ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โครงการจึงได้ปรับรูปแบบใหม่ให้เป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือ SMEs แบบไร้ขีดจำกัดทั่วประเทศ ให้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลได้ตามที่ตนเองต้องการ 
    • การดำเนินงาน: ด้วยผลกระทบจากโควิด-19 โครงการจึงได้มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการเรื่องการขายของออนไลน์ เนื่องจากความต้องการที่เร่งด่วนในเรื่องการนำดิจิทัลมาสนับสนุนธุรกิจให้สามารถไปต่อได้เช่นการนำecommerce มาใช้ การทำ digital marketing จนถึงมุมมองในการจัดการธุรกิจเพื่อให้สามารถธุรกิจดำเนินได้ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
      • ได้จัดสัมมนาออนไลน์ทั้งหมด 59 ครั้ง เข้าถึงผู้ประกอบการ SMEs  6,567 ราย เข้าใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ 4,033 รายและนำเทคโนโลยีไปใช้ทั้งหมด  586 ราย  
    • ผลลัพธ์:  ผู้ประกอบการสามารถปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลได้ต่อเนื่อง สามารถรับมือกับวิกฤตโควิด-19  ปรับใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่ที่สอดคล้องกับการดำเนินการ พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจออกไปในตลาดต่างประเทศ ได้อีกด้วย 
  • บริษัทดอลลี่ โซลูชัน ผู้พัฒนาระบบลานจอดรถและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์จราจร
    แบรนด์ DPARK ที่ได้ใช้โซลูชันที่หลากหลายจากการเข้าร่วมอบรมด้านดิจิทัล เช่น การทำการตลาดผ่านอีเมลซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดได้
  • ปี 2565  สถานการณ์โควิด-19 ลดลงความรุนแรงลง แต่ยังคงมีความต่อเนื่องในการแพร่ระบาด และอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไป หรือโรคประจำถิ่น โครงการในปีนี้ จึงมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ SMEs ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัล พร้อมให้ความรู้และทักษะจำเป็น ต่อการขับเคลื่อนธุรกิจที่มุ่งสู่การเติบโตในระยะยาวและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจ โดยปีนี้ โครงการจะจัดอบรมต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน 
  • โครงการ SBTP ปี 2565 เปิดรับSMEs 200 ราย เข้าร่วมโครงการเท่านั้น โดยเน้นให้ความรู้เชิงการทำธุรกิจแบบยั่งยืน (Sustainability) การบริหารจัดการองค์กร และอัปเดต Global Trend ให้สามารถนำมาปรับใช้ในธุรกิจ โดยจะมี mentoring ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
  • ให้ความสำคัญในการทำ Digital Marketing ต่อยอดให้ความรู้กว้างขวางไปถึง Future digital marketing ซี่งเหมาะกับกลุ่มธุรกิจรายย่อยและรายกลางบางราย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มที่ยังมีความต้องการรับการสนับสนุนต่อเนื่องจากปีที่แล้วเนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนพลาดโอกาสในการเข้าร่วมโครงการไป 

สำหรับ SMEs ที่มีความต้องการและความพร้อมปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมหรือสมัครเข้าร่วมโครงการ SBTP ได้ทางเว็บไซต์ www.thefinlab.com/thailand