นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2564 ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้แรงส่งจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขาดความต่อเนื่อง แม้จะมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้า (ไม่รวมทองคำ) ก็เริ่มได้รับอานิสงส์บางส่วนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2564 นั้น มองว่าเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความไม่แน่นอน และสถานการณ์ในแต่ละภาคส่วนยังมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2564 เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 10,627 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2,631 ล้านบาท หรือ 19.85% โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 23,496 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2563 จำนวน 4,857 ล้านบาท หรือ 26.06% หลัก ๆ จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 1,530 ล้านบาท หรือ 5.75% ส่วนใหญ่จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.16% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 414 ล้านบาท หรือ 3.36% ส่วนใหญ่เป็นผลจากความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 1,129 ล้านบาท หรือ 13.60% ส่วนใหญ่จากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน ค่าธรรมเนียมรับจากการโอนเงิน และค่าธรรมเนียมรับจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ลดลงจำนวน 3,741 ล้านบาท หรือ 18.45% เนื่องจากในไตรมาสก่อน หลัก ๆ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจซึ่งเป็นปกติตามฤดูกาล ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 41.30% นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสนี้จำนวน 8,650 ล้านบาท แม้ว่าไตรมาส 4 ปี 2563 ธนาคารตั้งสำรองฯ ลดลงหลังจากที่ตั้งในระดับที่สูงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นระดับที่เพียงพอแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ที่แพร่ระบาดในวงกว้างช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2564 รวมทั้งธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ จึงมีสำรองฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2564 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 10,627 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3,252 ล้านบาท หรือ 44.10% หลัก ๆ เกิดจากรายได้
ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 1,923 ล้านบาท หรือ 19.30% เป็นผลจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) ของสินทรัพย์ทางการเงินตามภาวะตลาด และค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ลดลงจำนวน 950 ล้านบาท หรือ 5.44% จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 41.30% รวมทั้ง ธนาคารและบริษัทย่อยมีการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 8,650 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3,222
ล้านบาท หรือ 27.14% โดยยังคงใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ของโควิด-19
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,767,115 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 จำนวน 108,317 ล้านบาท หรือ 2.96% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ซึ่งธนาคารมีการติดตามดูแลคุณภาพเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างใกล้ชิด สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 3.93% ในระดับเดียวกับสิ้นปี 2563 อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 153.98% โดยสิ้นปี 2563 อยู่ที่ระดับ 149.19% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 อยู่ที่ 18.44% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.80%
KASIKORNBANK announces the first quarter of 2021 net profit of Baht 10,627 Million
Ms. Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer of KASIKORNBANK, said the Thai economy in the first quarter of 2021 was pressured by the domestic COVID-19 situation that impacted the country’s economic momentum, although spending was boosted by the government’s stimulus measures while exports excluding gold were supported by brightening global economic prospects. However, any potential Thai economic recovery over the rest of the year remains uncertain, with an uneven recovery among sectors, and dependent upon domestic COVID-19 containment.
Operating performance for the first quarter of 2021 compared with the fourth quarter of 2020, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 10,627 Million, a decrease of Baht 2,631 Million or 19.85% over the previous quarter. KBank and its subsidiaries reported operating profit before expected credit loss and income tax expense of Baht 23,496 Million, an increase of Baht 4,857 Million or 26.06% mainly due to an increase of net interest income by Baht 1,530 Million or 5.75%, mostly from interest income from loans to customers according to loan growth, resulting in NIM that stood at 3.16%. While non – interest income decreased by Baht 414 Million or 3.36%, mainly due to the volatility of money market and capital market, whereas fee and service income – net increased by Baht 1,129 Million or 13.60%, mainly due to fees from fund management, fees from money transfer and fees from underwriting. Other operating expenses decreased by Baht 3,741 Million or 18.45%, mainly because IT related expenses in order to support customers’ needs, marketing expenses aligned with business strategies due to seasonality, resulting in the cost to income ratio that stood at 41.30% in this quarter. Moreover, KBank and its subsidiaries set aside expected credit loss amounting to Baht 8,650 Million in this quarter, although in the previous quarter the Bank has set aside lower expected credit loss that previously reserved in high level for the first three quarters of 2020 which was sufficient. However, the new spread of COVID-19 pandemic occurred in late quarter 1 of 2021 and the Bank continued to provide assistance to customers along with careful business operation amid the uncertain economy. Therefore, the Bank set aside greater reserve than previous quarter.
Operating performance for the first quarter of 2021 compared with the first quarter of 2020, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 10,627 Million, an increase of Baht 3,252 Million or 44.10%over the same period of 2020. Non – interest income increased by Baht 1,923 Million or 19.30%, as a result of mark to market of financial assets according to market condition and fees from fund management. Moreover, other operating expenses decreased by Baht 950 Million or 5.44% due to expense management during economic slowdown. The cost to income ratio stood at 41.30%. In addition, KBank and its subsidiaries has set aside expected credit loss amounting to Baht 8,650 Million, a decrease of Baht 3,222 Million or 27.14%with continuous prudent consideration on factors in line with economic that remains uncertain from COVID-19 situation.
As of 31 March 2021, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 3,767,115 Million, an increase of Baht 108,317 Million or 2.96% over the end of 2020. The majority came from investments – net and loans, which the Bank has closely monitored credit quality for customer affected by COVID-19. As of 31 March 2021, NPL gross to total loans stood at 3.93% in the same level as the end of 2020. Coverage ratio as of 31 March 2021 stood at 153.98%, while at the end of 2020 this stood at 149.19%. In addition, as of 31 March 2021, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord was 18.44%, with a Tier-1 Capital ratio of 15.80%.