ธนาคารกสิกรไทย ยืนหยัดดูแลลูกค้า และดำเนินการเชิงรุกในการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจผันผวนมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ และช่วยเสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะการดูแลและช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจให้กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารในฐานะกลไกหลักในการเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีวิตของคนไทย ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ตลอดจนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังเผชิญผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่างๆ ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการความช่วยเหลือ และช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้า โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต เพื่อช่วยกันประคับประคองลูกค้าที่มีศักยภาพให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่มีความผันผวนโดยไม่สะดุด และสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเชิงรุกผ่านมาตรการต่างๆ ที่สำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่
- มาตรการแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์โควิดโดยธนาคารได้เสนอมาตรการต่างๆ ให้แก่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงการพักชำระหนี้ และการลดดอกเบี้ย โดยในช่วงที่ประเทศเผชิญกับวิกฤตโควิดอย่างหนักในปี 2563 ธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าไปกว่า 1.6 ล้านราย คิดเป็นยอดการช่วยเหลือภายใต้มาตรการช่วยเหลือตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย กว่า 428,000 ล้านบาท และแม้ว่าจำนวนลูกค้าที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือจะทยอยลดลงตามสถานการณ์โควิคที่ค่อยๆ ดีขึ้นในแต่ละปีตามลำดับ ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงมีความท้าทายและขยายตัวแบบไม่กระจายตัวทั่วถึง ซึ่งในปัจจุบันธนาคารยังคงช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี 2566 ธนาคารมีลูกค้าที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย คิดเป็นยอดสินเชื่อกว่า 186,000 ล้านบาท
- มาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อเพิ่มเติม ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่
2.1 สินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ธุรกิจชะลอตัว และทำให้สามารถรักษาการจ้างงานเป็นจำนวนมาก
2.2 สินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 1% ระยะเวลา 5 ปี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบหนักจากธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก
2.3 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2% ระยะเวลา 2-5 ปี สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีศักยภาพ เพื่อลดภาระภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ
2.4 วงเงินสินเชื่อต่อรายต่ำกว่า 1 ล้านบาท สำหรับลูกค้ารายย่อย เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อและบริการการเงินในระบบให้กับลูกค้ารายย่อย
ธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะดูแลและช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะพิจารณามาตรการความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถก้าวผ่านวิกฤติและเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งในการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีพ โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและต้องการความช่วยเหลือสามารถดำเนินการติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารได้
KBank aids SME and retail customers in navigating volatile economic conditions with debt relief measures and liquidity enhancement via soft loan
Committed to helping its customers, KASIKORNBANK (KBank) has launched proactive measures, including a debt relief program and liquidity enhancement via soft loan, for clients affected by economic volatility. These initiatives aim to ease debt burdens and expenses among retail customers and vulnerable groups while also boosting liquidity for SMEs.
Mr. Rungruang Sukkirdkijpiboon, KBank President, said, “As a key mechanism in providing funding to bolster business operations and the livelihoods of Thai people, KBank prioritizes care and assistance for customers affected by multiple crises. Our focus is on retail customers and vulnerable groups reeling from economic conditions and elevated living costs, as well as SMEs which are still grappling with the impacts of an uneven economic recovery. The Bank has continuously introduced assistance measures via appropriate channels for customers, with consideration of their capabilities and opportunities for future adjustment, to ensure that those with potential can overcome volatile circumstances without interruption and move forward sustainably in the long term.”
The Bank has proactively assisted customers through two measures:
- Debt relief measures for those affected by economic conditions and COVID-19: These measures include a debt moratorium and interest rate reductions. When Thailand faced the COVID-19 crisis in 2020, KBank assisted more than 1.6 million customers with these measures, which amounted to more than 428 billion Baht in financial assistance under the Bank of Thailand’s guidelines. Although the number of customers under these debt relief measures has steadily declined, thanks to gradual improvement in the COVID-19 situation, the Thai economy has inevitably experienced numerous challenges during this period and therefore has yet to fully recover. KBank continues to assist these consumer segments. At the end of 2023, our comprehensive debt restructuring for customers under the Bank of Thailand’s guidelines amounted to more than 186 billion Baht in loans.
- Liquidity enhancement measures for customers seeking additional loans which have been implemented since 2020 until now include:
2.1 Zero-percent interest rate loans for 1 year to provide liquidity for SMEs facing a business slowdown, while contributing to their employee retention.
2.2 One-percent interest rate loans for 5 years to assist tourism industry operators facing significant impacts from their business interruptions.
2.3 Low-interest loans at a rate of 2 percent for 2-5 years for small businesses with potential, aiming to reduce their cost burden.
2.4 Credit limit of less than 1 million Baht per person for retail customers to offer them greater access to loans and financial services in the system.
KBank is determined to provide continual support and assistance to customers. Our focus is to offer appropriate measures so that customers can weather times of crisis and keep moving forward, in both their lives and business operations. Affected customers needing assistance are welcome to contact KBank through various channels.