ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ 3,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสก่อน และ 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ด้านคุณภาพสินทรัพย์บริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย สัดส่วนหนี้เสียลดลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 2.73% 

0
1262

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/65 โดยธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ หรือ PPOP 8,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการบริหารจัดการด้านต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพสินทรัพย์เป็นไปตามเป้าหมาย สัดส่วนหนี้เสียเมื่อเทียบกับสินเชื่อรวมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.73% จาก 2.81% ในไตรมาสก่อน จึงทำให้การตั้งสำรองฯ ในไตรมาส 1/65 อยู่ที่ 4,808 ล้านบาท ลดลง 4% จากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งหลังหักสำรองฯ และภาษี มีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ 3,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาส 4 ปี 2564 และ 15% จากไตรมาส 1 ปี 2564

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า การดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี ในภาพรวมถือว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยในปี 2565 ธนาคารตั้งเป้าที่จะเติบโตสินเชื่อในอัตราที่มากกว่าปี 2564 ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การเติบโตก็จะยังคงเป็นไปอย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะสินเชื่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อบ้าน ซึ่งธนาคารมีความชำนาญและเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำตลาด 

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้เปิดตัวบริษัทลูก ทีทีบี คอนซูมเมอร์ ตามแผนการปรับโครงสร้างหลังการรวมกิจการ โดย ทีทีบี คอนซูมเมอร์ จะเข้ามาช่วยผลักดันการเติบโตสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 5% ของสินเชื่อรวม ธนาคารจึงมองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกจากฐานลูกค้ารายย่อยที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าหลังการรวมกิจการ 

ทั้งนี้ การกลับมาเติบโตสินเชื่อทั้งในส่วนของธนาคาร และจากทีทีบี คอนซูมเมอร์ ก็จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของรายได้ดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อในช่วงถัดไป รวมถึงเป็นปัจจัยหนุนการรับรู้ Revenue Synergy หรือประโยชน์จากการรวมกิจการด้านรายได้จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ให้กับลูกค้าในอนาคตด้วยเช่นกัน

ด้านคุณภาพสินทรัพย์นั้น จากการที่ธนาคารดำเนินการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อมาโดยตลอด ส่งผลให้คุณภาพพอร์ตเป็นไปตามเป้าหมายและมีสัดส่วนหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ขณะที่สินเชื่อภายใต้โปรแกรมให้ความช่วยเหลือก็ทยอยลดลงเป็นลำดับ โดยลูกค้าที่ออกจากโปรแกรมไปส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติ ทั้งยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมา อย่างไรก็ดี ธนาคารจะยังคงดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างเข้มงวดและตั้งสำรองฯ ในระดับสูงต่อไป เพื่อความรอบคอบและคงฐานะการเงินให้มีความแข็งแกร่ง

สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2565 มีดังนี้ 

ณ สิ้นไตรมาส 1/65 เงินฝาก อยู่ที่ 1,360 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากไตรมาสก่อนหน้า จากการขยายตัวของเงินฝากลูกค้ารายย่อย นำโดยบัญชี ทีทีบี อัพแอนด์อัพ ขณะที่บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี และทีทีบี โนฟิกซ์ ก็ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน 

ด้านสินเชื่อ สามารถเติบโตสินเชื่อกลุ่มเป้าหมายได้ตามแผน โดยในไตรมาส 1/65 สินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเติบโตได้ที่ 1.2% และ 0.8% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี สินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ลดลง สาเหตุหลักจากการชำระคืนจากสินเชื่อหมุนเวียน จึงส่งผลให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ 1,366 พันล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยที่ 0.4% จากไตรมาสที่แล้ว

ในด้านรายได้ ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ หรือ Pre-Provision Operating Profit (PPOP) จำนวน 8,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จาก 8,461 ล้านบาท ในไตรมาส 4/64 และใกล้เคียงกับ 8,898 ล้านบาท ในไตรมาส 1/64 ปัจจัยหนุนหลักมาจากการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในไตรมาส 1/65 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 6,987 ล้านบาท ลดลง 12.7% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 14.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วยลดแรงกดดันจากด้านรายได้ ซึ่งยังคงเห็นการชะลอตัวอยู่ โดยรายได้จากการดำเนินงานรวมในไตรมาส 1/65 อยู่ที่ 15,774 ล้านบาท ชะลอลง 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/64 และ 7.9% จากไตรมาส 1/64 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ยังคงชะลอตัว ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้าธุรกิจปรับตัวดีขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว 

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ณ สิ้นไตรมาส 1/65  สินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 42,144 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับ 42,120 ล้านบาท ในไตรมาสก่อน ขณะเดียวกันสัดส่วนหนี้เสียลดลงมาอยู่ที่ 2.73% จาก 2.81% ในไตรมาสที่แล้ว จึงทำให้ในไตรมาส 1/65 ค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ จึงอยู่ที่ 4,808 ล้านบาท ลดลง 4.2% จากไตรมาสก่อน และ 12.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังถือเป็นการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ และเพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยง สะท้อนได้จากอัตราส่วนสำรองฯ ต่อหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 132% จากระดับ 129% ในไตรมาสก่อน 

ด้านความเพียงพอของเงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงและเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/65 อัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.4% และ 15.4% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ

นายปิติ ตัณฑเกษม กล่าวในตอนท้ายว่า “นอกเหนือจากการกลับมาเติบโตเงินฝากและสินเชื่อแล้ว ในปีนี้ธนาคารก็ยังมีแผนลงทุนและพัฒนาด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ ๆ เสริมความสามารถในการแข่งขันให้กับธนาคาร และยกระดับการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าของเรา เพื่อสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งวันนี้ และอนาคต”

#ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี

#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น

#TMBThanachart #ttb #MakeREALChange

TMBThanachart reported 1Q22 net profit of THB 3,195 million, an increase 14% from previous quarter and 15% from the same period last year. Asset quality was under control. NPL ratio declined from previous quarter to 2.73%. 

Bangkok, 20 April 2022 TMBThanachart Bank Public Company Limited or TMBThanachart announced its financial performance for 1Q22. The Bank reported Pre-Provision Operating Profit or PPOP of THB 8,818 million which rose 4% from previous quarter, supported by efficiently-managed operating expenses. Asset quality was in line with plan and NPL ratio declined to 2.73% from 2.81% in previous quarter. As a result, provision expense was at THB 4,808 million, lower by 4% from last quarter. After provision and taxes, the Bank recorded 1Q22 net profit at THB 3,195 million which increased 14% from 4Q21 and 15% from 1Q21. 

Mr.Piti Tantakasem, CEO of TMBThanachart, mentioned “For the first quarter of the year, the overall performance was in line with plan. For 2022, the Bank aims to resume loan growth as economy started to recover. However, the growth will still be selective and focus mainly on target segments such as hire purchase and mortgage which are our area of expertise and we are also one of key players in these markets. 

In addition, the Bank has recently set up a subsidiary “ttb consumer” which as part of post-merger restructuring plan. ttb consumer will help drive growth of credit card and personal loan portfolio which currently accounts for approximately 5% of total loans. Therefore, we see there is still room to grow and a potential growth from our customer base which doubled in size after the merger. 

The resumption of loan growth at the Bank’s level and from ttb consumers would support the recovery of interest income and yield on loan going forward. It could also be a catalyst for revenue synergy realization from cross-selling opportunity in the future. 

In terms of asset quality, the Bank has maintained prudent risk management and has continued to improve loan portfolio quality. As a result, portfolio quality is under control and NPL ratio is lower than industry average. For loan under debt relief program, the outstanding has continued to decline and most customers who exited the program are able to resume their normal debt service. And the trend is improving as economic activities have recovered. Nonetheless, the Bank will continue to be stringent and keep high provision level in order to be prudent and to maintain strong financial position. 

The details of 1Q22 financial performance are as follows.  

As of 1Q22, deposit was THB 1,360 billion which expanded 1.6% from previous quarter (QoQ). Key driver was retail deposit, led by ttb Up and Up. Key flagship products, ttb all free and ttb no-fixed continued to grow as well. 

In terms of loans, the Bank could grow loans in target segments as planned. In 1Q22, hire purchase loan and mortgage rose by 1.2% QoQ and 0.8% QoQ, respectively. However, the Bank saw a decline from large corporate loans due mainly to repayment from working capital loans. As a result, total loan was reported at THB 1,366 billion, relative flat or decreased slightly by 0.4% from previous quarter. 

On the revenue side, the Bank generated Pre-Provision Operating Profit or PPOP of THB 8,818 million, up 4.2% from THB 8,461 million in 4Q21 (QoQ) and close to THB 8,898 million in 1Q21 (YoY). Key driver was efficiently-managed operating expenses. In 1Q22, operating expense totaled THB 6,987 million which reduced by 12.7% QoQ and 14.9% YoY. This helped reduce pressure from revenue side which was still slow down. Total operating income in 1Q22 was THB 15,774 million, down 4.4% from 4Q21 and 7.9% from 1Q21 due mainly to a slowdown from retail fee income. Fee income from commercial customers, on the other hand, showed sign of improvement following economic recovery. 

For asset quality, non-performing loans or NPLs as of 1Q22 stood at THB 42,144 million, relatively flat when compared to THB 42,120 million as of 4Q21. Meanwhile, NPL ratio declined to 2.73% from 2.81% in previous quarter. As a result, the Bank set aside provision of THB 4,808 million which dropped by 4.2% QoQ and 12.3% YoY. Such a provision level is still higher than normal business level and sufficient. This can be reflected by NPL coverage ratio which rose to 132% from 129% in previous quarter. 

Lastly, capital adequacy was among the top tiers in banking industry. As of 1Q22, the preliminary CAR and Tier 1 was reported at 19.4% and 15.4%, respectively. The figures were well-above D-SIB’s minimum ratios of 12.0% and 9.5% required by the Bank of Thailand.”

Mr.Piti Tantakasem concluded “Apart from the resumption of deposit and loan growth, we also have plan for digital investment in this year. Our aim is to develop and differentiate our services and products to enhance our competitiveness as well as to deliver better customers’ experience to improve their Financial Well-being.”