ทีมนักประดิษฐ์ไทยผลงานเยี่ยม! คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และเหรียญรางวัลจากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน

0
857

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย ในการคว้ารางวัล WIIPA Grand Prize

ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงานจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) เมื่อวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2565 ณ International Convention Center Kaohsiung (ICCK) เมืองเกาสง ไต้หวัน

ผลงานที่ได้รับรางวัล WIIPA Grand Prize ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แหล่งวัตถุดิบหมุนเวียนสำหรับการผลิตวัสดุซิลิกอนเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่สามารถอัดและคายประจุเร็ว” จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนายยุทธนากร คณะพันธ์ และคณะ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการนำวัสดุซิลิกอนที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการและขึ้นรูปให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น โดยนำไปปรับใช้กับรถพลังงานไฟฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

พร้อมนี้ ผลงานของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยยังคว้าเหรียญรางวัลจากเวที KIDE 2022 ในประเภทต่างๆ ดังนี้

-รางวัลGold Medal 15 ผลงาน ได้แก่
1.ผลงานเรื่อง “ของเล่น Doll House เพื่อบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจสำหรับเด็กปกติกับผู้มีความต้องการพิเศษ”จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.ผลงานเรื่อง”ผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน”จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3.ผลงานเรื่อง”การทดแทนไขมันในเค้กไข่ด้วยเจลวุ้นผลสำรอง” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
4.ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์พาสตาข้าวกล้องเพื่อสุขภาพเสริมผักใบเขียวแคลเซียมสูง” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
5.ผลงานเรื่อง “กระถางต้นไม้ดักยุง” จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
6.ผลงานเรื่อง “ชุดอุปกรณ์เสริมสมรรถภาพการบริหารข้อต่อหลังผ่าตัด” จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
7.ผลงานเรื่อง “เอ็ม ซี อาร์ ยานสำรวจใต้น้ำ” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
8.ผลงานเรื่อง “ชุดเครื่องมือติดตั้ง Nut Set ของ U-Bolt Suspension Clamp” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
9.ผลงานเรื่อง “รถกระเช้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
10.ผลงานเรื่อง “รอกไฟฟ้านำสายสะพานเพื่อพาดสายกรณีสายขาด” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
11.ผลงานเรื่อง “ระบบสำรวจเส้นทางด้วยแอปพลิเคชัน” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
12.ผลงานเรื่อง “โมดูลขยายฟังก์ชันตรวจจับสายขาดสำหรับรีเลย์ในระบบ 22kV” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
13.ผลงานเรื่อง “แหล่งวัตถุดิบหมุนเวียนสำหรับการผลิตวัสดุซิลิกอนเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่สามารถอัดและคายประจุเร็ว” จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
14.ผลงานเรื่อง “แจกันหัตถศิลป์ลายทอง” จาก วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
15.ผลงานเรื่อง “การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมการผลิตและอนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเงินตะเกาว์ลายโบราณ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” จาก โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์

-รางวัลSilver Medal 9 ผลงาน ได้แก่
1.ผลงานเรื่อง “ชาหมักจากเปลือกกล้วย” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2.ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมผ้าใยกล้วยพิมพ์ลายพฤกษชาติ” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3.ผลงานเรื่อง “ผักแผ่นกรอบเสริมแคลเซียมผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
4.ผลงานเรื่อง “ถุงมือเพิ่มประสิทธิภาพการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู” จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
5.ผลงานเรื่อง “Medisync: อุปกรณ์บำบัดการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง” จาก โรงเรียนกรุงเทพ คริสเตียนวิทยาลัย
6.ผลงานเรื่อง “การขนส่งข้าวเปลือกอัจฉริยะด้วยระบบฟลูอิไดเซชัน” จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
7.ผลงานเรื่อง “Gas Heater ครอบจักรวาล” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
8.ผลงานเรื่อง “ระบบควบคุมตู้อบไล่ความชื้นผ่านสมาร์ทโฟนในงานซ่อมหม้อแปลงเครื่องมือวัด” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
9.ผลงานเรื่อง “เครื่องมือปอกสายติดตั้งมิเตอร์” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

-รางวัลBronze Medal 5 ผลงาน ได้แก่
1.ผลงานเรื่อง “บรรจุภัณฑ์อาหารกระป๋องและอาหารแช่เยือกแข็งพร้อมอุ่นรับประทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายได้เชิงชีวภาพได้”จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2.ผลงานเรื่อง “การสร้างสรรค์นวัตกรรมศิลป์: ศรัทธา” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3.ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเซ็นเซอร์แบบกระดาษเพื่อใช้ในการตรวจจับเหล็ก 2+ในน้ำ” จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
4.ผลงานเรื่อง “หุ่นยนต์ทำความสะอาดรางน้ำใส” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5.ผลงานเรื่อง “หัวเจาะพิฆาต” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ สิ่งประดิษฐ์และและนวัตกรรมจากประเทศไทยอีก 3 ผลงาน ได้รับ Special Prize on Stage จากองค์กรนานาชาติ ดังนี้

• Korea University Invention Association มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์พาสตาข้าวกล้องเพื่อสุขภาพเสริมผักใบเขียวแคลเซียมสูง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญภัสก์ ปิ่นแก้วและคณะ จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
• Eurobusiness-Haller มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ของเล่น Doll House เพื่อบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจสำหรับเด็กปกติกับผู้มีความต้องการพิเศษ” โดย ผศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ระบบสำรวจเส้นทางด้วยแอปพลิเคชัน” โดย นายภานิสินธุ์ เฟื่องฟุ้ง นายฉัตรชัย วิชาตรง และคณะ จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพร้อมด้วย Special Prize จากประเทศต่างๆ อีกหลายผลงาน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวที KIDE 2022 ที่ได้สร้างชื่อเสียงและสร้างการยอมรับในมาตรฐานของผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของประเทศไทยในเวทีนานาชาติครั้งนี้ รวมทั้ง วช.จะมีกลไกในการส่งเสริมและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล เพื่อให้เกิดมาตรฐานและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป