ดื้อโบ คืออะไร – 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง 

0
1533

    เชื่อว่า New Year’s Resolution ของสาวๆหนุ่มๆ ที่รักการดูแลตัวเอง ส่วนหนึ่งต้องมีเอี่ยวเรื่องความสวยความหล่อกันบ้างเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวพรรณ คลีนฟู้ดเพื่อความสวยที่มาจากภายใน รวมไปถึงการจิ้มนิดจิ้มหน่อย เพื่อความเป๊ะปังของเครื่องหน้า อย่าง การเติม

“โบทูไลนุ่ม ท็อกซิน (Botulinum Toxin)” หรือ “โบ” บันไดสู่การเพิ่มความมั่นใจของใครหลายคน

จริงๆ แล้วคำว่า “ดูดี” จะเรียกว่าเป็น Everyday Resolution ก็คงไม่ผิด เพราะใครๆก็อยากตื่นมาและรู้สึกดีกับ(หน้าตา)ตัวเองในทุกๆวัน
ยิ่งใครที่กำลังต่อสู้กับริ้วรอยบนใบหน้า บอกเลยว่าช่วงนี้ ความกังวลอาจเป็นสองเท่า จะล๊อกดาวน์หรือเปล่า ก็ยังไม่รู้ แต่หน้าจะล๊อกหรือหน้ายับ เราก็ไม่โอเค… แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชาตจวิทยา (ผิวหนัง) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงชวนสาวๆหนุ่มๆที่อยาก ‘เติมโบ’ มาอัพเดทข้อมูลล่าสุดของ ‘โบทูไลนุ่ม ท็อกซิน’ พร้อมแบ่งปันข้อควรรู้ 
ที่จะทำให้คุณดูดี “สวย ไม่เสี่ยง – หล่อ ไม่หลอกตา เป็นเดอะเบสต์เวอร์ชั่นของตัวคุณเอง และไม่เสี่ยงดื้อโบ โดยได้รวบตึงข้อควรรู้ มาให้ดังนี้

“0% impurities” เทรนด์ใหม่ล่าสุดในสาย Clean Beauty ที่น่าจับตาดู 

รศ.พญ.รังสิมา กล่าวว่า 0% impurities กล่าวง่ายๆ ก็คือ สารโบทูไลนุ่ม ท็อกซิน ที่มีเทคโนโลยีการสกัดที่ทำให้ปราศจากโปรตีนเชิงซ้อน​ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการช่วยลดเรือนริ้วรอยต่างๆ ได้ดี ซึ่งจากงานวิจัย พบว่า โอกาสในการดื้อโบหรือภาวะที่ทำให้การรักษาไม่เห็นผล ไม่ได้มาจาก สารโบทูไลนุ่ม ท็อกซิน แต่เกิดจากสารเจือปนต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งต้องระวัง เพราะผู้ผลิตจำนวนไม่น้อยในท้องตลาด เลือกเติมสารเจือปนต่างๆเพื่อประโยชน์ในการคงรูปของผลิตภัณฑ์ หรือมีการเจือปนของสารที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
มาจากขั้นตอนการผลิตด้วยเพราะมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี ดังนั้น จึงให้ตั้งสมการในใจไว้เลยว่า ถ้าอยากสวยหล่ออย่างปลอดภัย ให้เช็กต้นตอของผู้ผลิตและดูส่วนผสมให้แน่ใจเสียก่อน ยิ่งสารเจือปนยิ่งน้อยเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยลดโอกาสในการดื้อโบได้มากขึ้นเท่านั้น

หน้ายังเหมือนเดิม… เพิ่มเติม คือ สวยขึ้น หล่อขึ้น ดูดีขึ้น นี่แหละชั้น… เดอะเบสต์เวอร์ชั่นของจริง 

“โบทูไลนุ่ม ท็อกซิน” ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มากว่า 2 ศตวรรษ เริ่มแรกด้วยการนำมารักษาโรคทางกล้ามเนื้อ และพัฒนาต่อมาจนเป็นนวัตกรรมความงามยอดฮิตเพื่อการลบริ้วรอย ด้วยกลไกของโบทูไลนุ่ม ท็อกซิน ที่ช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ทำให้เทคนิคการเติมสวยเติมหล่อแบบ ‘นิดๆ หน่อยๆ’ นี้ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าที่เกิดจากคิ้วผูกโบว์ รอยยิ้ม ร่องแก้มหรือการเลิกหน้าผากได้ โดย รศ.พญ.รังสิมา ได้เน้นย้ำว่า ‘กล้ามเนื้อทำงานน้อยลง’ กับ ‘กล้ามเนื้อยึดจนไม่สามารถขยับได้’ มีความแตกต่างกัน คนที่เติมโบทูไลนุ่ม ท็อกซิน
ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลให้กรอบใบหน้าดูเป็นทรวดทรง กระชับ แต่ยังเป็นคุณคนเดิมที่ดูดีขึ้น ไม่ใช่ ‘นักแสดงหน้าใหม่’ ในบทบาทหน้าตึง เพราะกล้ามเนื้อยึดเกร็งจนฝืนธรรมชาติ ยิ้มไม่ออก หรือฉีกจากลุคเดิมจนคนรอบข้างจำ(หน้าเดิม)ไม่ได้ รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ที่สนใจจึงควรรับบริการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อให้การพิจารณาสัดส่วนของการฉีดโบทูลุ่ม ท็อกซินในแต่ละครั้ง และความถี่ในการรับบริการเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อความสวยหล่อแบบธรรมชาติ เป็น Confidence to be… ในเดอะเบสต์เวอร์ชั่นของตัวคุณเอง

“ป้องกันสำคัญกว่ารักษา” ถ้าไม่อยากเจออาการดื้อโบ…อย่าเชื่อหมอกระเป๋า 

“มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเริ่มมีอาการดื้อโบ หลายคนจึงมีพฤติกรรมปลี่ยนหมอหรือเพิ่มขนาดยา ทำให้เพิ่มโอกาสการดื้อโบแบบไม่รู้ตัว หากรู้สึกว่าการเติมโบเริ่มไม่เห็นผลลัพธ์หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลงเหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา คนไข้ต้องหยุดทันทีและตรวจร่างกายให้แน่ใจว่าเกิดอาการต่อต้านจากสารเคมีส่วนใด โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น” รศ.พญ.รังสิมา ให้คำตอบถึงคำถามยอดฮิตที่มักจะเจอว่า ควรทำอย่างไรดีถ้าเริ่มเกิดอาการดื้อโบ

ความสวยความหล่อ ไม่สนใจราคาไม่ได้นะจ๊ะ

คำว่า ถูกและดี ใช้ไม่ได้กับวงการแพทย์และความงาม ผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่มีคุณภาพสูง นั่นแปลว่าต้นทุนย่อมต้องสูงตาม ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสารอะไรก็ตามที่คุณจะนำเข้าสู่ร่างกาย การหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หมอกระเป๋าหรือคลินิกเถื่อนที่ออกอาละวาดหนักในช่วงหลายปีมานี้ ไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่คุณควรเชื่อ ส่วนโปรโมชั่นไหนถูกเกิน ก็ขอให้เอ๊ะใจไว้ก่อน

ทิ้งท้ายสำหรับใครที่อยากสวยหล่อแบบปลอดภัย มี 3 เช็คลิสต์ง่ายๆ ให้ได้ลองตรวจสอบ
1) ‘ใครเป็นคนทำ’ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการเป็นหมอจริงหรือไม่ โดยเช็กได้จากเว็บไซต์ของแพทยสภาหรือสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย 2) ‘ตรวจสอบคลินิก’ ว่าได้รับอนุญาตจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือไม่ และ 3) หาข้อมูลของสารที่จะใช้ให้แน่นอนเสียก่อน … เติมความรู้เรื่อง โบทูไลนุ่ม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) และตามไปอัพเดทเทรนด์ 0% impurities ฉบับเต็มของรศ.พญ.รังสิมา ในรายการ Woody FM ได้ที่ https://youtu.be/sQRhDBjBD8c แล้วเตรียมตัวสวยหล่อเป๊ะให้เพื่อนทักได้เลย