ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยงานวิจัยล่าสุด 94% ของบริษัทในเอเชียกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่น้อยกว่าครึ่งที่ดำเนินการตามแผน

0
393


● แม้บริษัทส่วนใหญ่จะตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ 57% เป็นเพียงเป้าหมายระยะสั้น ครอบคลุมระยะเวลาแค่ 4 ปีหรือน้อยกว่านั้น
● เหตุผลที่มีการลงทุนด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น คือ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการบริหารจัดการพลังงาน ระบบออโตเมชั่น และความยั่งยืน เผยผลการสำรวจความยั่งยืนประจำปีของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric’s Annual Sustainability Survey) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุถึงช่องว่างระหว่างความตั้งมั่นและการดำเนินการของบริษัทต่างๆ ในเรื่องของความยั่งยืน โดยพิจารณาถึงช่องว่างระหว่างความมุ่งมั่นของเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่องค์กรได้มีการประกาศ กับการลงทุนหรือการดำเนินการที่จับต้องได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยผลสำรวจเผยว่า 94% ของบริษัทในเอเชียมีการกำหนดเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายด้านความยั่งยืน แต่มีน้อยกว่าครึ่ง (4 ใน 10) ที่ดำเนินการหรือกำลังฝึกฝนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุม
การสำรวจยังพบอีกว่าผู้นำธุรกิจเกือบ 60% มองว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญระดับสูง ทั้งสำหรับตัวองค์กรเองและสำหรับประเทศ กระนั้นยังมีบริษัทเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น (54%) ที่มีแผนกหรือทีมที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนเป้าหมายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
การสำรวจเป้าหมายด้านความยั่งยืนในปีนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีการพูดคุยกับผู้นำจำนวน 4,500 ราย ใน 9 ประเทศ เพื่อรวบรวมมุมมองของผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียเกี่ยวกับความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการดำเนินการสำรวจกลุ่มตัวอย่างร่วมกับ Milieu Insight ซึ่งเป็นพันธมิตร ด้วยการขอให้ผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงในภาคเอกชนที่เข้าร่วมการสำรวจตอบคำถาม 30 ข้อ เกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงผลกระทบต่อธุรกิจของตนในตลาดต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย
ความตั้งใจและการกระทำ: เกิดช่องว่างระหว่างความตั้งใจกับการดำเนินการ (Green Action Gap)
การสำรวจมุ่งเน้นที่การตรวจสอบ “Green Action Gap” ขององค์กรในแต่ละประเทศ โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินช่องว่างระหว่างบริษัทที่อ้างว่ามีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายด้านความยั่งยืน รวมถึงบริษัทที่มีกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมและกำลังดำเนินการ
Green Action Gap ในระดับภูมิภาค อยู่ที่ 50% แสดงให้เห็นถึงความความแตกต่างระหว่างบริษัทที่มีการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ 94% และมีเพียง 44% ที่ดำเนินการตามแผนความยั่งยืนของตนเอง
นอกจากนี้ยังพบว่าหลายบริษัทในเกาหลีใต้ สะท้อนให้เห็นช่องว่างการดำเนินการที่ใหญ่ที่สุดคือ 58% ตามด้วยเวียดนาม 52% ขณะที่ไต้หวันมีช่องว่างน้อยที่สุดในภูมิภาคที่ 37%
สำหรับประเทศไทย บริษัทที่มีการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนสูงถึง 98% และมีบริษัทที่ดำเนินการตามแผนความยั่งยืน 53% ทำให้มี Green Action Gap อยู่ที่ 45%

Regional Average

Market Specific Data
ข้อมูลเฉพาะของตลาด
แรงจูงใจและปัญหา
แรงจูงใจ เพื่อโลก หรือกำไร?
จากรายงานพบว่า เหตุผลหลักที่องค์กรทั่วภูมิภาคต่างเดินหน้าสู่การสร้างความยั่งยืน ก็คือ เพื่อเพิ่มนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขัน (39%) เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ (37%) นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างเห็นพ้องต้องกันว่าความยั่งยืนมีส่วนช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ ประเด็นเรื่องการจัดการความเสี่ยง สร้างชื่อเสียง และสร้างโอกาสในการประหยัดต้นทุน ถือเป็นปัจจัยจูงใจ 5 อันดับแรกที่บริษัทพิจารณาเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ความยั่งยืน
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ผู้นำธุรกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค (โดยเฉลี่ย 82%) เชื่อว่าการที่รัฐบาลให้สิ่งจูงใจมากขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพมากกว่าการบังคับใช้บทลงโทษ ในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนปฏิบัติตามเป้าหมายความยั่งยืนของรัฐบาล
กำหนดเส้นตายเป็นปัจจัยผลักดัน
การสำรวจยังเผยด้วยว่าแม้บริษัทส่วนใหญ่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ 57% ของเป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายระยะสั้น ครอบคลุมระยะเวลาสี่ปีหรือน้อยกว่านั้น
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ อาจมีความมั่นใจมากขึ้นในการกำหนดเป้าหมายที่มีรายละเอียดสำหรับอนาคตอันใกล้ แต่บริษัทเหล่านี้ ต่างต้องพยายามอย่างมากในการเปลี่ยนจากแผนงานด้านความยั่งยืนในภาพใหญ่ ให้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อใกล้ถึงเวลา “เส้นตาย” ที่ต้องบรรลุเป้าหมายเหล่านี้
นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา เผยว่า “เราได้รับแรงสนับสนุนจากการที่บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีการรับรู้และมีความมุ่งมั่นในการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างความตั้งใจและการดำเนินการ เผยให้เห็นว่ายังมีงานที่ต้องทำอยู่ สิ่งสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ในเอเชียก็คือ การแปลงแรงบันดาลใจด้านความยั่งยืนให้เป็นการดำเนินการที่จับต้องได้ เพื่อจัดการกับความท้าทายในการดำเนินงานและการนำกลยุทธ์ระยะยาวมาใช้ในการวางแผนเพื่อเดินหน้าจัดการกับความจำเป็นที่เร่งด่วนเพื่อสร้างความยั่งยืน ธุรกิจต่างๆ จะต้องใช้บทบาทความเป็นผู้นำเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ร่วมมือกับรัฐบาล และใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับภูมิภาคและโลกของเรา”
ประเด็นหลักที่ได้จากการสำรวจ
ระบบนิเวศในปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร?
● 94% ระบุว่าบริษัทตนได้กำหนดเป้าหมายหรือเป้าประสงค์ในการสร้างความยั่งยืนแล้ว
● น้อยกว่าครึ่ง (4 ใน 10) ได้ดำเนินการหรือกำลังปฏิบัติตามกลยุทธ์ความยั่งยืนที่ครอบคลุม
● 57% ของเป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายระยะสั้น ครอบคลุมระยะเวลาสี่ปีหรือน้อยกว่านั้น
● ผู้นำธุรกิจเกือบ 60% รู้สึกว่าบริษัทและประเทศของตนมองว่าความยั่งยืน “มีความสำคัญระดับสูง”
● 54% มีแผนกความยั่งยืนในองค์กรโดยเฉพาะ

เหตุใดบริษัทในเอเชียจึงลงทุนเรื่องความยั่งยืน
• ปัจจัยขับเคลื่อน 5 อันดับแรก ที่ทำให้บริษัทในเอเชียแปซิฟิกมุ่งหน้าสู่การสร้างความยั่งยืน คือเพื่อสร้างนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขัน (39%) เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ (37%) จัดการความเสี่ยง (32%) สร้างการรับรู้/ชื่อเสียงของแบรนด์ (31%) และผลประโยชน์ทางการเงิน (31%) เป็นตัวขับเคลื่อน

บริษัทต่างๆ จะเอาชนะอุปสรรคเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?
● อุปสรรคสำคัญอันดับต้นในการลงทุนด้านความยั่งยืนขององค์กร คือ แรงจูงใจไม่มากพอ (47%) ความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบ/นโยบาย (47%) และปัญหาของระบบราชการ (43%)
● บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นสิงคโปร์) ค่อนข้างพูดถึงปัญหาของระบบราชการกันมาก
● บริษัทในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีแนวโน้มสูงที่เชื่อว่าภาคเอกชนควรลงทุนในความยั่งยืนมากขึ้น คิดเป็น 22% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคที่ 12% นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มต่ำมากที่จะรายงานถึงอุปสรรคในการลงทุนเหล่านั้น

โซลูชั่น
• 94% ของผู้นำธุรกิจยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญของกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กร
• 92% ยอมรับว่าประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร
• 94% ยอมรับว่าการมีกลยุทธ์ความยั่งยืน ช่วยดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถเอาไว้ได้

ใครควรรับผิดชอบ?
● ผู้นำธุรกิจมากกว่าครึ่ง (56%) เชื่อว่าภาคเอกชนควรทำหน้าที่เป็นผู้นำในการสร้างความยั่งยืน ตามด้วยรัฐบาลแห่งชาติที่ 52%