วันที่ 21 เมษายน 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน “ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย” ภายใต้โครงการสร้างพื้นที่ต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนและการรณรงค์ประกันภัยรถภาคบังคับ ปี 2568 ณ โรงแรมแคนทารี่ 304 ปราจีนบุรี พร้อมเปิดตัวคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการสร้างพื้นที่ต้นแบบ ด้านความปลอดภัยทางถนน และการรณรงค์ประกันภัยรถภาคบังคับในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี
โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเปิดเวทีเสวนา ถอดรหัสถนน 304 ระดมความคิดเห็นเพื่อนำเสนอแนวทางและมาตรการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ หวังยกระดับความปลอดภัยให้ ผู้ใช้รถใช้ถนน พร้อมตั้งเป้าต่อยอดโมเดลต้นแบบนี้สู่การประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ
สำนักงาน คปภ. เดินหน้าขับเคลื่อนระบบประกันภัย ยกระดับความปลอดภัยทางถนน – ชูบทบาท “ประกันภัย” เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ลดผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ ประกาศเดินหน้าใช้ระบบประกันภัยเป็นกลไกสำคัญ ในการบรรเทาความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน พร้อมส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. กล่าววิสัยทัศน์ในหัวข้อ “คปภ. กับบทบาทเชิงรุก : ส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนควบคู่การประกันภัย” ว่า โครงการสร้างพื้นที่ต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนและการรณรงค์ประกันภัยรถภาคบังคับ ปี 2568 เป็นมิติใหม่ในการดำเนินโครงการของสำนักงาน คปภ. เนื่องจากอัตราการเกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ที่น่ากังวล โดยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนเฉลี่ยสูงถึง 14,000 รายต่อปี
ซึ่งนอกจากจะสร้างความสูญเสียในระดับครอบครัวแล้ว ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ “กลุ่มผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บส่วนใหญ่คือวัยแรงงานอายุ 36-60 ปี ซึ่งเป็นกำลังหลักของครอบครัว และมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การสูญเสียจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่สถิติ แต่มันคือการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาในระยะยาว” พร้อมเน้นย้ำว่าการมีประกันภัยรถภาคบังคับช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อต้องเผชิญอุบัติเหตุ โดยกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ
ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดถึง 504,000 บาทต่อราย อย่างไรก็ตาม จากสถิติพบว่ามีเพียงร้อยละ 79.97 ของรถ จดทะเบียนเท่านั้นที่จัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ โดยเฉพาะในกลุ่มรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีอัตราการทำประกันภัยเพียงร้อยละ 68.51 เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ผลกระทบไม่ได้จบที่ผู้ประสบเหตุ แต่ยังลุกลามไปถึงครอบครัวที่ต้องรับภาระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การมีระบบประกันภัยที่ครอบคลุมจึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการเยียวยา ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ยืนยันที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการเชิงรุกต่อเนื่อง ทั้งด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมวินัยจราจร และเพิ่มการเข้าถึงระบบประกันภัยให้ครอบคลุม ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในสังคมไทย
ด้านนายวีระพันธ์ ดีอ่อน ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวรายงาน โดยชูศักยภาพจังหวัดสู่เมืองต้นแบบ Road Safety – ดันมาตรการลดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนหนุนประกันภัยรถภาคบังคับสร้างหลักประกันชีวิต พร้อมรับมือความ ท้าทายบนเส้นทางเสี่ยง โดยแสดงความมั่นใจในศักยภาพของจังหวัดในการขับเคลื่อนมาตรการความปลอดภัยทางถนนอย่างเป็น
ฉบับที่ สสอ. 59/2568 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2568
2 รูปธรรม พร้อมย้ำบทบาทสำคัญของระบบประกันภัย ในฐานะเครื่องมือเสริมสร้างหลักประกันชีวิตและบรรเทาความสูญเสียให้กับประชาชน ในการปาฐกถาในหัวข้อ “ศักยภาพจังหวัดปราจีน เมืองต้นแบบ Road Safety” โดยกล่าวว่า จังหวัดปราจีนบุรีสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ตามเป้าหมายของแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์อุบัติเหตุใหญ่บนเส้นทางเสี่ยงในช่วงที่ผ่านมา ยังคงสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการด้านความปลอดภัยต้องได้รับการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ ไม่ใช่เพียงโอกาส แต่คือความรับผิดชอบที่ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างจริงจัง โดยความปลอดภัยทางถนนนั้น ไม่ได้หยุดอยู่แค่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องครอบคลุมทั้งการ สร้างวินัยจราจร การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น การแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยง และสร้างความตระหนักรู้ในสังคม รวมถึงความเข้าใจเรื่องประกันภัย ที่จะช่วยเยียวยาความสูญเสียและสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้ประชาชน พร้อมเน้นย้ำว่า ระบบประกันภัยถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบจากอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการเยียวยาความเสียหาย และการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ผ่านความร่วมมือระหว่างภาคประกันภัย ภาครัฐ และเอกชน “เราต้องส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงประกันภัยรถภาคบังคับอย่างทั่วถึง เพราะเป็นหลักประกันความมั่นคงที่จำเป็นและช่วยแบ่งเบาภาระที่เกิดจากความสูญเสียให้กับทุกคนได้
ตั้งเป้าสร้าง “พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน” เน้นวางรากฐานแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ควบคู่การส่งเสริมประกันภัยรถภาคบังคับ ลดความสูญเสีย ประชาชนได้รับประโยชน์ตรงจุด สำนักงาน คปภ. เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ สร้างพื้นที่ต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนและการรณรงค์ประกันภัยรถภาคบังคับอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการวางรากฐานเพื่อพัฒนาแนวทางลดอุบัติเหตุที่สามารถขยายผลสู่พื้นที่อื่น ๆ ได้ในระยะยาว
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ ฯ นี้มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. ศึกษาวิจัยเชิงลึก ปัจจัยเสี่ยง ในพื้นที่จริง โดยจังหวัดปราจีนบุรีได้รับเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออก และเป็น จุดเชื่อมโยงเส้นทางสายหลักหลายสาย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแนวทางลดอุบัติเหตุที่สอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนและสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยรถภาคบังคับ เพื่อให้เข้าถึงหลักประกันความคุ้มครองได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และ 3. บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อผลักดันมาตรการป้องกันอุบัติเหตุให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมนำข้อมูลวิจัยมาพัฒนา แนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพต่อไป โดยโครงการนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างมาตรการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่เป็นระบบและยั่งยืน พร้อมเน้นว่า การพัฒนามาตรการความปลอดภัยควรเดินควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีประกันภัยรถภาคบังคับอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากอุบัติเหตุและสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนได้
เวทีเสวนาถอดรหัส 304 ปักหมุด “ปราจีน” เมืองต้นแบบถนนปลอดภัย ทีดีอาร์ไอ เปิดผลวิเคราะห์ 304 อุบัติเหตุสะสม 5 ปี พุ่งทะลุ 700 ครั้ง สี่แยกกบินทร์บุรี – วังน้ำเขียว – ศาลปู่เขาโทน ติดท็อปพื้นที่เสี่ยงสูง
ขณะที่การเสวนา Road Safety Talk “ถอดรหัส 304 ปักหมุดปราจีนต้นแบบถนนปลอดภัย” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงาน คปภ. ศาสตราจารย์ ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย นายเสรี กวินรัชตโรจน์ ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ แลกเปลี่ยนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในประเทศ และในจังหวัดปราจีนบุรี โดยเฉพาะเส้นทาง 304 ในหลายแง่มุม ทั้งมาตรการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ถนน พฤติกรรมการขับขี่ รวมทั้งความท้าทายในการสร้างระบบประกันภัย
3 ดร.สุเมธ องกิตติกุล กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพยายามลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้เหลือ 12 คนต่อแสนประชากรภายในปี 2570 แต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาไทยยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย โดยในปี 2567 ที่ผ่านมาจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าเป้าที่วางไว้ถึง ร้อยละ 125 ขณะเดียวกันยังมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์
ดังนั้น การกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่มผู้ขี่รถจักรยานยนต์จึงเป็นจุดเน้นสำคัญของประเทศ รวมถึงจังหวัดปราจีนบุรีด้วยเช่นกัน โดยจังหวัดปราจีนบุรี มีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 78.16 จากอุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 1 ใน 3 เป็นเยาวชน และผู้สูงอายุ โดยได้เปิดเผยผลการวิเคราะห์ จุดเสี่ยงในจังหวัดปราจีนบุรี โดยพบว่ามี 3 อำเภอที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นสูง คือ อำเภอเมือง อำเภอศรีมโหสถ และอำเภอศรีมหาโพธิ โดยเฉพาะบริเวณสวนอุตสาหกรรม 304 และทางหลวงหมายเลข 304 โดยระหว่างปี 2562 – 2567 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนถนน 304 ถึง 711 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณตอนที่ 0403 สี่แยกกบินทร์บุรี – วังน้ำเขียวมากที่สุดถึง 550 ครั้ง หรือคิดเป็น ร้อยละ 77.4 ของอุบัติเหตุบนถนน 304 ทั้งหมด โดยมีผู้เสียชีวิตสะสมถึง 70 ราย บาดเจ็บกว่า 400 คน เนื่องจากสภาพพื้นที่มีลักษณะผ่านชุมชน และนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งภูมิประเทศเป็นทางชัน นอกจากนี้ ยังมีช่วงกิโลเมตรที่ 209 – 211 หรือบริเวณศาลเจ้าพ่อปู่โทน ซึ่งเป็นระยะที่มีความชันมากที่สุดในพื้นที่จ.ปราจีนบุรี และที่ผ่านมามักเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ในบริเวณนี้ โดยสถิติพบว่ามีอุบัติเหตุคิดเป็นร้อยละ 32.5 ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนถนนสาย 304
เสนอบังคับใช้กฎหมาย ออกมาตรการลดเสี่ยง พร้อมหนุนทำประกันภัยภาคบังคับ เผยมีจักรยานยนต์มากกว่า 7.3 ล้านคัน ไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ยังระบุถึงมาตรการในการแก้ปัญหาว่า ควรเน้นการบังคับใช้กฎหมาย และส่งเสริมมาตรการลดความเสี่ยง เช่น การจับความเร็ว การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์นิรภัย รวมทั้งการปรับปรุงกายภาพ รวมทั้งจะต้องหามาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งจะต้องหารือร่วมกับนักวิชาการ และคณะทำงานในจังหวัดเพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่ต่อไป ขณะเดียวกันจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งในปี 2567 พบว่า มีรถจักรยานยนต์ อย่างน้อย 7.3 ล้านคัน หรือร้อยละ 32 ไม่ทำประกันภัยภาคบังคับที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ขณะที่สัดส่วนการไม่ทำประกันภัยภาคบังคับในจังหวัดปราจีนบุรีมากกว่าสัดส่วนของประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 43 หรือ 70,000 คัน ขณะที่มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นที่ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายเยียวยาของรถที่ไม่ทำประกันภันภัยภาคบังคับสะสมตั้งแต่ปี 2559 – 2567 มากถึง 1,522 ล้านบาท ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการทำประกันภัยภาคบังคับในกลุ่มเป้าหมาย อย่างผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดปราจีนบุรี เช่น นิคม 304 จะเป็นสิ่งที่โครงการนี้จะทดลองศึกษา และสังเคราะห์แนวทางที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ต่อไป
ด้านนางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงาน คปภ. ได้กล่าวทิ้งท้ายในเวทีเสวนาว่า โครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งที่จบลงหลังวันจัดงาน แต่เราหวังให้ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ถนนสาย 304 ของ จังหวัดปราจีนบุรี จะต้องกลายเป็นเส้นทางแห่งความปลอดภัยที่สะท้อนความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ไปจนถึงประชาชนทุกคน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สำนักงาน คปภ.