การ์ทเนอร์ชี้ 10 อันดับแนวโน้มเทคโนโลยีพลิกโฉมกิจการภาครัฐแห่งปี 2564

0
1498

สิบอันดับเทคโนโลยีสำหรับภาครัฐที่โดดเด่นประกอบด้วย เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย การควบคุมค่าใช้จ่าย และการจัดการความท้าทายด้านประสบการณ์ของประชาชนต่อภาครัฐ

 –การ์ทเนอร์ อิงค์ เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีในกิจการภาครัฐในปี 2564 ที่มีศักยภาพเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลและสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนโฉมการให้บริการสาธารณะ

10 อันดับแนวโน้มเทคโนโลยีนี้ เกิดมาจากความท้าทายต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ต้องเผชิญระหว่างการแพร่ระบาดและความต้องการรูปแบบการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบใหญ่หลวงต่าง ๆ

มร. ริค ฮาวเวิร์ด รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า “การระบาดของโควิด-19 กระตุ้นให้องค์กรภาครัฐทั่วโลกเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้บริหารภาครัฐมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีมาสร้างความไว้วางใจ เสริมความคล่องตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการดำเนินงานในหน่วยงาน ในขณะที่ความท้าทายจากการแพร่ระบาดจะยังมีต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ช่วยรับมือความท้าทายระดับวิกฤตเกิดขึ้น อาทิ  เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีการควบคุมต้นทุนและเทคโนโลยีเพื่อให้ประสบการณ์ที่ดีสำหรับประชาชนผู้ติดต่อหรือใช้บริการจากหน่วยงานราชการ”

เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ล้วนเชื่อมโยงโดยตรงกับการบริหารงานของภาครัฐและการกำหนดนโยบายที่ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในรัฐบาลต้องจัดการและให้ความสำคัญ ผู้บริหารด้านไอทีของภาครัฐฯ สามารถพิจารณาเพื่อกำหนดทิศทางในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อวางแผนการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรค พร้อมกำหนดเงื่อนไข ระยะเวลา และจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การเร่งปรับปรุงระบบให้ทันสมัย

หน่วยงานภาครัฐฯ ต่าง ๆ ประสบกับข้อจำกัดและความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานและระบบหลัก ๆ ที่ใช้สืบต่อกันมานับสิบปี เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือที่ดียิ่งขึ้นกับการหยุดชะงักครั้งต่อไป ซีไอโอภาครัฐฯ ควรเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่สถาปัตยกรรมโมดูลาร์ที่ทันสมัย ในขณะที่ความจำเป็นในการปรับปรุงระบบแบบเดิมให้ทันสมัยไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับซีไอโอของรัฐบาลแต่คือความท้าทายที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคที่ควรตะหนักให้มากขึ้นถึงการป้องกันยับยั้งและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในพ.ศ. 2568 หน่วยงานภาครัฐกว่า 50% จะปรับปรุงพัฒนาแอปพลิเคชันหลักที่สำคัญให้ทันสมัยเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการใช้งาน

เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ปรับตัวได้ตามสภาวะการณ์

แนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบปรับได้มองว่าความเสี่ยง ความไว้วางใจและความปลอดภัยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและปรับได้ซึ่งเป็นการเตรียมการและบรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ แนวทางนี้นำเสนอองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อการคาดการณ์ ป้องกัน ตรวจจับและตอบสนอง โดยมองข้ามขอบเขตของแนวคิดเดิม ๆ ด้วยสมมุติฐานว่าเรื่องของความปลอดภัยและไม่ปลอดภัยนั้นไม่มีขอบเขตสิ้นสุด ซึ่งนี่เป็นแนวคิดสำคัญในการโยกย้ายไปสู่การบริการคลาวด์

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในพ.ศ. 2568  75% ของซีไอโอภาครัฐฯ จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อความปลอดภัยที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการปฏิบัติการและภารกิจที่สำคัญยิ่งยวดต่อสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี

การให้บริการทุก ๆ อย่างแบบ XaaS (Anything as a Service)

การให้บริการทุก ๆ อย่าง แบบ XaaS (Anything as a Service) คือกลยุทธ์การจัดหาบริการต่าง ๆ บนคลาวด์โดยเฉพาะ ซึ่งรวบรวมบริการทางธุรกิจและไอทีแบบครบวงจรในรูปแบบของการสมัครสมาชิก (Subscription Basis) การตอบสนองต่อโรคระบาดและความจำเป็นเชิงวิกฤตต่อบริการดิจิทัลทำให้เกิดแรงกดดันมหาศาลในการปรับปรุงแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้ทันสมัย XaaS ให้ทางเลือกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม ๆ ให้ทันสมัย เพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและย่นระยะเวลาในการส่งมอบบริการดิจิทัลต่าง ๆ

ภายในพ.ศ. 2568 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 95% ของการลงทุนใหม่ ๆ ไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐจะถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของโซลูชันการบริการ

บริการสำหรับการจัดการเป็นรายกรณี (Case Management as a Service)

งานบริการสังคม (Case work) เป็นรูปแบบการทำงานหลัก ๆ ของรัฐบาลด้วย รูปแบบโซลูชั่นการจัดการรายกรณีแบบเดิม ๆ พบได้ในหลายหน่วยงาน การจัดการเป็นรายกรณี (CMaaS) เป็นรูปแบบการทำงานใหม่ที่เพิ่มความคล่องตัวของหน่วยงานโดยใช้หลักการและแนวปฏิบัติทางธุรกิจแบบผสมผสานเพื่อแทนที่ระบบการจัดการเคสแบบโบราณด้วยโซลูชั่นประกอบรวมเข้าด้วยกันหรือแยกส่วนและประกอบใหม่ได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในพ.ศ. 2567 หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่มีสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันการจัดการรายกรณีแบบผสมผสานจะนำฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาใช้ได้เร็วกว่าหน่วยงานที่ไม่มีสถาปัตยกรรมดังกล่าว อย่างน้อย 80%

ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล

ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล คือความสามารถในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลของภาครัฐที่มีให้ประชาชนซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเข้าถึงและได้รับบริการต่าง ๆ ของรัฐ ระบบนิเวศข้อมูลประจำตัวดิจิทัลกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและจะนำพาให้ภาครัฐไปสู่บทบาทและความรับผิดชอบใหม่ ๆ หัวข้อนี้เป็นวาระการเมืองขั้นสูงดังนั้น ซีไอโอภาครัฐต้องเชื่อมโยงข้อมูลประจำตัวดิจิทัลกับกรณีที่สำคัญ

ภายในพ.ศ. 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์มาตรฐานการระบุอัตลักษณ์อย่างแท้จริงจะเป็นแบบกระจายศูนย์ การเก็บข้อมูลมีความสะดวก เรียกใช้ได้จากทุกที่และเคลื่อนย้ายได้ ทั้งนี้เพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานในระดับธุรกิจ บุคคล สังคม และการระบุแบบไร้ตัวตน

การผสานรวมองค์กรภาครัฐ

การผสานรวมขององค์กรภาครัฐคือหน่วยงานภาครัฐใด ๆ ที่ใช้หลักการออกแบบผสมผสาน ซึ่งช่วยให้เพิ่มความสามารถด้านการทำงานซ้ำและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ กฎหมายและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ซีไอโอกำลังนำการผสานรวมภาครัฐมาใช้เพื่อเอาชนะวิธีการจัดการบริการ  ระบบและข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งจำกัดความสามารถของรัฐบาลในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้น

ภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ของบริษัทเทคโนโลยีที่จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับภาครัฐจะเสนอความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็กเกจเพื่อรองรับแอปพลิเคชันการผสานรวม

สร้างโปรแกรมการแบ่งปันข้อมูล

ภาครัฐมักแบ่งปันข้อมูลแบบเฉพาะกิจ โดยเน้นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจสูง เช่น เหตุการณ์การคุ้มครองเยาวชนหรือเหตุความรุนแรงทางเพศที่มีความละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อน ซึ่งการสร้างโปรแกรมแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing as a Program) ทำให้การบริการสามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งสนับสนุนการให้บริการภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนไปสู่แนวทางที่ทำงานแบบผสมผสานกันได้มากขึ้น

ภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ขององค์กรภาครัฐจะสร้างโครงสร้างการแบ่งปันข้อมูลที่มีความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการรวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล คุณภาพและความตรงต่อเวลา

การบริการสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนค (Hyperconnected)

การเชื่อมต่อสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนคคือการใช้เทคโนโลยีหลากหลายที่ภาครัฐใช้ทั้งหมดรวมถึงเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ทำให้กระบวนการทางธุรกิจและไอทีเป็นอัตโนมัติมากที่สุด ซีอีโอของภาครัฐสามารถใช้หลักการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) และแนวปฏิบัติแบบไฮเปอร์คอนเนคเพื่อพัฒนากระบวนการทางธุรกิจและบริการสาธารณะแบบต้นน้ำถึงปลายน้ำในรูปแบบอัตโนมัติมากที่สุดโดยลดการใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 75% ของภาครัฐจะเปิดตัวหรือดำเนินการโครงการริเริ่มหลักการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) ทั่วทั้งองค์กรอย่างน้อย 3 โครงการ

การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทาง

ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจการภาครัฐมากขึ้น และแตะจุดสูงสุดในปี 2563 จากการร่วมกันรับมือภัยการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เหตุการณ์ไฟป่า พายุเฮอริเคนและเหตุการณ์อื่น ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทางเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งมีส่วนร่วมแบบสองทิศทางตามขอบเขตขององค์กร ในขณะเดียวกันก็ส่งมอบประสบการณ์ส่วนบุคคลโดยใช้ช่องทางที่ต้องการและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเข้าถึงประชาชน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่ารัฐบาลกว่า 30% จะใช้มาตรการชี้วัดการมีส่วนร่วมเพื่อติดตามปริมาณและคุณภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจวางแผนด้านนโยบายและงบประมาณภายในปี 2567

การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการ

การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการคือการนำเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้อย่างมีกลยุทธ์และเป็นระบบเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) โดยในแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมภาครัฐเป็นไปเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและช่วยการตัดสินใจให้ดีขึ้น ซึ่งผู้มีอำนาจสามารถตัดสินใจดำเนินงานตามบริบทได้ดีขึ้นแบบเรียลไทม์เพื่อพัฒนาคุณภาพของประสบการณ์ประชาชนให้ดีขึ้น

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ 60% ของการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI ของภาครัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมโดยตรงต่อผลลัพท์และการตัดสินใจแบบเรียลไทม์

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถคลิกอ่านรายงานเพิ่มเติมได้ที่ “Top Technology Trends in Government for 2021” และในรายงานควบคู่กัน “Top Business Trends in Government for 2021.”

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่ ความท้าทายที่คาดหวัง และก้าวต่อไปของซีไอโอและผู้นำด้านไอทีในการ์ทเนอร์อีบุ๊ค “Top Priorities for IT: Leadership Vision for 2021.”

เกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของการ์ทเนอร์

แนวทางการปฏิบัติด้านไอทีของการ์ทเนอร์ช่วยให้ซีไอโอและผู้นำด้านไอทีมีข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gartner.com/en/information-technology ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจากแนวปฏิบัติด้านไอทีของ Gartner บน Twitter และ LinkedIn ได้ที่ #GartnerIT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต 

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด  การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com