กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติโชว์ผลงานเด่นปี 2564 ปลื้มผลประเมิน ITA ปี 2564 ได้อันดับ 1 ของกระทรวงฯ จากการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล และออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ทั้งด้านการเงินและสังคม

0
1561

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติในปี 2564 ว่า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ตนมีความตั้งใจจริงที่จะมาสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสให้กับองค์กรแห่งนี้ ซึ่งได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ รวมทั้งปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนให้มี 6 ช่องทาง ตลอดจนปรับปรุงเว็บไซต์องค์กรให้มีความทันสมัย พร้อมด้วยข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้การเคหะแห่งชาติมีภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะเห็นได้จากผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA ประจำปี 2564 การเคหะแห่งชาติ ได้คะแนน ITA 97.93 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เพิ่มสูงขึ้น 11.97 คะแนน จากปี 2563 ซึ่งได้ 85.96 คะแนน ถือเป็นอันดับ 1 ของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอันดับ 8 ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้าร่วมการประเมิน 51 แห่ง และยังได้ระดับผลการประเมิน AA ในระดับประเทศ

“ต้องขอขอบคุณทีมผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการเคหะแห่งชาติ หน่วยงานภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทุกฝ่ายที่ช่วยจัดทำข้อมูล (Open Data) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการของการเคหะแห่งชาติ และเพิ่มช่องทางในการร้องเรียน เพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน”

นอกจากผลคะแนน ITA ที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังได้ดำเนินการจัดประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้กับองค์กร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาตินำอาคารเช่าที่ให้หน่วยงานเอกชนเช่าเหมากลับมาบริหารเอง เพื่อดูแลประชาชนได้ทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

ซึ่งจะทำให้องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดภาระค่าเช่าให้กับประชาชน รวมทั้งการเคหะแห่งชาติจะเข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมห้องพักอาศัย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโครงการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้ผู้อยู่อาศัยมีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติกำหนดเป้าหมายรับคืนอาคารเช่าเหมาจากเอกชนไม่รวมหน่วยงานของรัฐจำนวน 60 สัญญา 32,657 หน่วย โดยมีสัญญาที่สามารถทำสัญญาได้ 51 สัญญา รวม 28,393 หน่วย เริ่มทำสัญญากับผู้เช่าโดยตรงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ปรากฏว่า มีผู้เช่าลงทะเบียน 5,751 หน่วย ทำสัญญาเช่ากับการเคหะแห่งชาติ จำนวน 3,825 หน่วย คาดว่า ณ 31 ธันวาคม 2564 มีผู้มาทำสัญญาเช่ารายย่อยกับการเคหะแห่งชาติ จำนวน 22,919 หน่วย ซึ่งประชาชนจะได้รับลดส่วนตามมาตรการช่วยเหลือผู้เช่ารายย่อย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยให้ปรับลดค่าเช่าตั้งแต่ 999 ขึ้นไป เป็นค่าเช่า 999 บาท และค่าเช่าที่ต่ำกว่า 999 บาท ลดให้จากค่าเช่าเดิม 50 % เป็นระยะเวลา 5 เดือน (เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2564) ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ จำนวน 68,757 คน และลดค่าครองชีพประชาชน จำนวน 47 ล้านบาท
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหา บริษัท จัดการทรัพย์สินและชุมชน จำกัด หรือ CEMCO เป็นบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติ

ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2537 โดยการเคหะแห่งชาติถือหุ้น 49 % เพื่อดำเนินงานบริหารจัดการชุมชน พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนดำเนินภารกิจอื่น ๆ ตามที่การเคหะแห่งชาติมอบหมาย ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของบริษัท CEMCO ใหม่ จากเดิมที่ประสบภาวะขาดทุน ปัจจุบันเริ่มมีกำไร โดยในปี 2563 มีกำไรสุทธิ 3.54 ล้านบาท

สำหรับปี 2564 (ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2564) ได้รับงานบริหาร จำนวน 67 โครงการ 57,943 หน่วย ในจำนวนนี้ ได้งานบริหารงานจากการเคหะแห่งชาติ 26 โครงการ 31,141 หน่วย นอกจากนี้ ยังมีงานบริการด้านรักษาความปลอดภัยในนามของ บริษัท รักษาความปลอดภัย และบริการ เซมโก้ จำกัด (CSS) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 อีกด้วย

นายทวีพงษ์ กล่าวต่อว่า การเคหะแห่งชาติยังได้จัดโปรโมชั่น “เช่าทั่วไทย” เริ่มต้นเพียง 999 บาท/เดือน บ้านเช่าราคาพิเศษ จำนวน 10,000 หน่วย โดยเปิดให้จองสิทธิผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ได้มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผู้แสดงความสนใจประมาณ 28,000 ราย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการส่งมอบห้องเช่า และคาดว่าจะส่งมอบให้กับผู้เช่าได้ภายในปี 2564 ขณะเดียวกันยังได้นำทรัพย์สินคงเหลือ (Sunk Cost) มาเพิ่มมูลค่า ทำให้องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจัดทำ “โครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย” ภายใต้ชื่อ “โครงการบ้านเคหะสุขประชา” ซึ่งได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีเป้าหมายจัดสร้าง 100,000 หน่วย ภายในระยะเวลา 5 ปี(พ.ศ. 2564 – 2568) กำหนดส่งมอบปีละประมาณ 20,000 หน่วย และยังได้สร้างเศรษฐกิจชุมชนคู่ขนานกันไปในมิติ
มีบ้าน – มีอาชีพ – มีรายได้ – มีสุข ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันได้จัดทำโครงการนำร่อง 2 พื้นที่ ได้แก่ โครงการบ้านเคหะสุขประชาร่มเกล้า 270 หน่วย และโครงการบ้านเคหะสุขประชาฉลองกรุง 302 หน่วย

นอกจากนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการ 13 พื้นที่ โดยการเคหะแห่งชาติดำเนินการเอง 3,948 หน่วย รวมทั้งกำหนดแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการ 8 พื้นที่ โดยวิธีร่วมลงทุนกับภาคเอกชน (JO) 1,926 หน่วย และยังเตรียมจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบูรณาการความร่วมมือในการใช้ที่ดินหน่วยงานรัฐอื่นระหว่าง 6 กระทรวง 1 สำนักงาน ตลอดจนเตรียมจัดตั้งบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการจัดประโยชน์ในรูปแบบเศรษฐกิจสุขประชา พร้อมบริหารชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)นอกเหนือจากโครงการบ้านเคหะสุขประชา

ซึ่งเป็น “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ” เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ยังได้ดำเนิน “โครงการบ้านเคหะสุขเกษม” เป็นโครงการจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้เกษียณอายุราชการ สามารถอยู่อาศัยในรูปแบบเช่าระยะยาว ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการต้นแบบ “บ้านเคหะสุขเกษม” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564ที่ผ่านมา โดยจะจัดสร้างบริเวณซอยที่ดินไทย จ.สมุทรปราการ เนื้อที่รวมทั้งโครงการประมาณ 126.5 ไร่ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ รวม 4,089 หน่วย อัตราค่าเช่าตั้งแต่ 2,500 – 3,000 บาทต่อเดือนผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ยังกล่าวอีกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีความห่วงใยต่อประชาชนในสถานการณ์ดังกล่าว จึงมอบหมายให้การเคหะแห่งชาติช่วยเหลือประชาชนที่อยู่อาศัยในโครงการของการเคหะแห่งชาติ โดยมีทั้งมาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID – 19 ด้านการเงิน มี 3 ประเภท ได้แก่ ลูกค้าใหม่ ในอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ 0 % และลดราคาขายพิเศษ (Shock Price) โครงการบ้านเอื้ออาทร 56 โครงการ หน่วยละ 250,000 – 520,000 บาท และยังมีบ้านเช่าราคาพิเศษ 999 – 1,200 บาท/เดือน จำนวน 84 โครงการ ขณะที่ลูกค้าเช่าซื้อปัจจุบัน ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 6.50 % ทุกประเภทสัญญา พร้อมปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าเช่าซื้อ โดยลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวมีทั้งสิ้น จำนวน 15,865 ราย ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ จำนวน 8,224 ราย และทำสัญญาแล้ว จำนวน 6,574 ราย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้ลูกค้าได้ 92.39 ล้านบาท นอกจากนั้นยังให้ส่วนลดค่างวดเช่าซื้อ จำนวน 1,000 บาทเพียงครั้งเดียวแก่ลูกค้าเช่าซื้อที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 6.50 % และทำสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ส่วนลูกค้าที่ถูกซื้อคืนจากสถาบันการเงิน จะได้รับส่วนลดค่าเสียหายตามสัญญา 50% และเข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เช่าซื้อกับ กคช. โดยปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการและทำสัญญาแล้ว จำนวน 334 รายสำหรับลูกค้าเช่าและจัดประโยชน์ จัดโปรโมชันระยะเวลา 5 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2564 สำหรับกลุ่มลูกค้าเช่ารายย่อยโครงการอาคารเช่าของการเคหะแห่งชาติ ปรับลดค่าเช่าให้กับผู้เช่ารายย่อยที่ทำสัญญาเช่าอาคาร/อาคารพร้อมที่ดินที่มีราคาค่าเช่าตั้งแต่ 999 บาท/เดือนขึ้นไป ปรับลดเหลือ 999 บาท/เดือน หากค่าเช่าเดิมต่ำกว่า 999 บาท/เดือน ให้ปรับลดราคา 50% กลุ่มเช่าจัดประโยชน์ในโครงการของการเคหะแห่งชาติ ปรับลดค่าเช่าเป็นเวลา 2 เดือน ตามสัดส่วนของผลกระทบที่ได้รับในอัตรา 30 % และ 50% ทั้ง กลุ่มสัญญาแผงร้านค้าและลานตลาด กลุ่มสัญญาผู้ประกอบการรายใหญ่ (พลาซ่า) และกลุ่มสัญญาเช่าที่ดินเพื่อสาธารณูปการ ปรับลดค่าเช่า 30% และ 50%
นอกจากนั้นแล้ว การเคหะแห่งชาติยังดำเนินมาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID – 19 ด้านสังคม ด้วยการเปิดให้บริการ ศูนย์พักพิง – พักคอย โดยใช้พื้นที่ศูนย์ชุมชนในโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ที่ต้องการแยกตนเองจากครอบครัว ปัจจุบันจัดตั้งแล้ว 15 แห่ง สามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ จำนวน 483 เตียง การมอบถุงกำลังใจ สู้โควิด – 19 โดยใช้เงินบริจาคจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และประชาชน นำมาจัดทำถุงยังชีพ จำนวน 6,796 ชุด โดยการเคหะแห่งชาติได้รับมอบหมายจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้นำถุงดังกล่าวไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนในพื้นที่ 4 เขตของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 833 ถุง ได้แก่ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบังกิจกรรม Mobile พาณิชย์ จำหน่ายสินค้าราคาย่อมเยาช่วยเหลือประชาชนในช่วง COVID – 19 จำนวน 29 โครงการ การตรวจเชิงรุกโควิด – 19 คัดแยกผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชน 6 พื้นที่ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยติดเชื้อโควิด – 19 เพื่อประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษาต่อไป การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 6 จังหวัด จำนวน 857 อาคาร พื้นที่ส่วนกลางของโครงการอาคารเช่า จำนวน 99 อาคาร และโครงการอื่น ๆ จำนวน 1,153 อาคาร รวมถึงยังได้มอบถุงยังชีพและแจกอาหารปรุงสุกให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19 จำนวน 20,000 ชุด ในพื้นที่18 แห่ง พร้อมร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิโครงการ “ครัวปันอิ่ม” มอบข้าวกล่องจำนวน 50,000 กล่อง และโครงการ“เรื่องเล่าแบ่งปัน” ได้มอบข้าวกล่องปรุงสุก จำนวน 36,383 กล่อง และยังได้มอบชุดเวชภัณฑ์ให้กับผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม จำนวน 4,000 ชุด ในโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ เพื่อส่งต่อให้กับกลุ่มเปราะบาง (เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และคนพิการ) รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19

“การเคหะแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้ขาดแคลนที่อยู่อาศัยทุกระดับรายได้ โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ระดับรายได้น้อย และรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พร้อมแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิต ตามยุทธศาสตร์​