กรมปศุสัตว์ ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์สัตว์ โดยวิธีการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งเป็นการนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ต่อจากนั้น นำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโต ในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งจนคลอด หรือที่เรียกว่าอุ้มบุญ ซึ่งปัจจุบันกรมปศุสัตว์โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ได้นำเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนนี้ มาให้บริการในฟาร์มเกษตรกรเครือข่ายของกรมปศุสัตว์โดยทำได้ทั้งในโคนม โคเนื้อ กระบือ และแพะ และยังคงมุ่งศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้การย้ายฝากตัวอ่อน จะมีข้อดี และช่วยลดระยะเวลา ในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในฟาร์มได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจะต้องมีการเตรียม ตัวแม่ตัวรับให้มีความพร้อม เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด เกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องการปรึกษาข้อมูลการย้ายฝากตัวอ่อน สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยการผสมเทียม และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งกรมปศุสัตว์มีศูนย์ดังกล่าว 10 แห่ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
- Advertisement -
MOST POPULAR
ศศินทร์-SCGC จุดประกายสตาร์ตอัป สร้างอิมแพค พลิกโลกธุรกิจ สู่ความยั่งยืน บนเวที Bangkok Business Challenge 2025...
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) ผู้จัดงาน การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ Bangkok Business Challenge 2025 powered by SCGC ซึ่งได้รับการสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการจาก บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)...